การจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ


การจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ
การจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพตามที่มาร์ซาโน (Marzano: 2012) ได้นําเสนอกลวิธีการ จัดการเรียนการสอนสรุปได้ 3 ส่วน คือ 1) การสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ (Creating the Environment for Learning) ซึ่งกลวิธีในส่วนที่ 1 นี้จะเป็นพื้นฐานสําคัญให้กับการเรียนในทุกบทเรียน เมื่อครูสร้าง สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ ย่อมจูงใจและทําให้ผู้เรียนเกิดความคาดหวังและเรียนรู้อย่างมีความหมาย โดยการ ดูแลให้ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) เพื่อการพัฒนาเปิดโอกาสให้ผู้เรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ พัฒนาทักษะการ เรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น ตลอดจนเรียนรู้การติดตามและพัฒนาความรู้ของตนเอง 2) การช่วยพัฒนาความรู้ความ เข้าใจให้กับผู้เรียน (Helping students Develop Understanding) กลวิธีในส่วนที่ 2 นี้เป็นการช่วยผู้เรียนใน การพัฒนาความรู้ความเข้าใจ จัดลําดับองค์ความรู้และเชื่อมโยงความรู้เก่ากับองค์ความรู้ใหม่ จัดการกับ ความรู้ ตรวจสอบความรู้ สร้างมโนทัศน์ (Concept) ที่ถูกต้อง ซึ่งกระบวนการบูรณาการและเรียนรู้ กระบวนการในแต่ละประเภทของความรู้จะเกี่ยวข้องกับ (1) การสร้างขั้นตอนที่จําเป็นในแต่ละกระบวนการ หรือทักษะ (2) พัฒนามโนทัศน์และความเข้าใจในกระบวนการและการปฏิบัติอย่างหลากหลาย (3)ปฏิบัติ ตามทักษะที่พัฒนาขึ้นอย่างเป็นประจํา และ 3) ช่วยผู้เรียนในการขยายและประยุกต์ใช้ความรู้ (Helping students Extend and Apply Knowledge) กลวิธีในส่วนที่ 3 คือ ช่วยขยายและประยุกต์ใช้ความรู้ คือ เป็นการ ช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้มากกว่าคําตอบที่ถูกต้อง (right answer) โดยให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ ขยายองค์ ความรู้ โดยนําความรู้กับไปใช้ในโลกแห่งความเป็นจริง (Real-world Contexts) โดยใช้กระบวนการของเหตุ และผล และถึงเป็นการเรียนรู้อย่างมีความหมาย
จากกลวิธีการสอนดังกล่าวเมื่อพิจารณาตามหลักการ Universal Design (UD) จะเกี่ยวข้องกับการออกแบบผลิตภัณฑ์และสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ที่คนในทุกช่วงอายุและความสามารถที่แตกต่างกันสามารถ ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด (Story, Mueller, & Mace, 1998) เมื่อนํา Universal Design (UD) มาใช้ ทางการศึกษาจึงเป็นการออกแบบเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียนทุกคน ได้แก่ การสอนที่ใช้สื่อ และ วิธีการแบบต่างๆ เช่น การบรรยาย การร่วมกันอภิปราย การทํางานกลุ่ม การสอนโดยใช้อินเตอร์เน็ตใช้ห้องปฏิบัติการ การออกฝึกภาคสนาม เป็นต้น รวมทั้งการออกแบบหลักสูตรที่สนองต่อผู้เรียนหลายระดับ ความสามารถในห้องเรียน (สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, 2555: 4-6) Universal Design (UD) ถูกนํามาใช้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทางการศึกษา อาทิ คอมพิวเตอร์ เว็ปไซต์ ซอร์ฟแวร์ หนังสือคู่มือ และเครื่องมือที่ใช้ในห้องทดลอง ฯลฯ และนํามาปรับใช้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม อาทิ หอพัก ห้องเรียน อาคารศูนย์ประชุม ห้องสมุด และคอร์สรายวิชาเรียนทางไกล เป็นต้น

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม