บทที่ 3 วิเคราะห์ภาระงาน (Task Analysis)
บทที่ 3
วิเคราะห์ภาระงาน (Task Analysis)
T : วิเคราะห์ภาระงาน (Task
Analysis) ศึกษาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้ได้ความรู้ (knowledge) ทักษะ (SHI) และเจตคติ(Attitude) ที่เกี่ยวข้อง
เพื่อการอธิบายภาระงานหรือกิจกรรมที่ช่วยนําทางผู้เรียนไปสู่ จุดหมายการเรียนรู้
การวิเคราะห์งานจะเขียนแสดงความสัมพันธ์ด้วย KSA diagram คือ Knowledge-SkillAltitudes การวิเคราะห์ภาระงานเป็นส่วนหนึ่งของการวิเคราะห์การเรียนการสอน
ซึ่งประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ
1.ตัดสินใจให้ได้ว่าเป็นความต้องการในการเรียนการสอน
มีภาระงานที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน
2. ต้องความชัดเจนว่าต้องเรียนรู้เรื่องใดมาก่อน
จึงจะนําไปสู่ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
3. การประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียน
จากขั้นที่ 2 บอกให้รู้ว่าผู้เรียนจะต้องเรียนรู้และวัดผลใน
เรื่องใด
Donald Clark, (2004 : 13) เสนอแนวทางการวิเคราะห์ตามกระบวนการออกแบบการเรียนการสอน
นี้ว่า
เป็นการปฏิบัติเพื่อลงสรุปให้ได้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเรียนการสอนให้ชัดเจน
ดังนี้
ทบทวนระบบหรือกระบวนการเพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความเข้าใจเพิ่มมากขึ้น
เรียบเรียงภาระงาน (ถ้าจําเป็น)
* ระบุงาน * บรรยายลักษณะงาน
* รายการ ภาระงานของแต่ละงาน
วิเคราะห์ภาระงานนําไปสู่การปฏิบัติเพื่อสนองตอบความต้องการการเรียนรู้
เลือกภาระงานสําหรับการเรียนการสอน
(ภาระงานที่ไม่เกี่ยวข้องก็ควรจะเลือกใช้วิธีอื่น(ที่ไม่ใช่
การสอน)
สร้างเครื่องมือวัดผลการปฏิบัติ
เลือกวิธีการเรียนการสอน
ประมาณค่าใช้จ่ายในการสอน (ถ้าจําเป็น)
หมายเหตุ คําว่า (ถ้าจําเป็น) อาจไม่ต้องทําก็ได้
เมื่อผู้เรียนกลุ่มเป้าหมายรับทราบกิจกรรมนั้น ๆ
ทราบแล้ว
การวิเคราะห์งาน
การวิเคราะห์งานเป็นการตรวจสอบว่าในการศึกษานั้น ๆ
มีงานใดที่เป็นชีวิตจริง
และมีความรู้ทักษะและเจตคติใดบ้างที่นําไปสู่ความสําเร็จในการทํางานนั้น ๆ
การวิเคราะห์งานช่วยให้แน่ใจว่าจะได้สาระและคุณค่าที่เกี่ยวข้องในการเรียนรู้
คําถามหลักที่ใช้ในการวิเคราะห์งาน ในการวิเคราะห์งาน มีคําถามหลัก 3 ข้อ คือ
ภาระใดงานใดเป็นข้อกําหนดของงาน
การจัดเรียงลําดับของแต่ละภาระงานคืออะไร
เวลาที่ใช้ในการทําแต่ละภาระงาน
สุดท้ายหาคําตอบให้ได้ว่าภาระงานใดมีความสําคัญเนื่องจากงาน
ประกอบด้วยภาระงานหลายภาระงาน
การวิเคราะห์งานทําได้อย่างไร
วิธีการวิเคราะห์งานที่ใช้บ่อย คือ
การสอบถาม (questionnaires) การสํารวจโดยส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์
หรือไปรษณีย์ อิเล็กทรอนิกส์สอบถามผู้เชี่ยวชาญ
เป็นวิธีที่มีค่าใช้จ่ายน้อยและได้ข้อมูลจํานวนมาก
การสัมภาษณ์ (interviews) การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์
หรือการพบปะสนทนาเป็นรายบุคคลกับ ผู้เชี่ยวชาญ เป็นวิธีที่มีค่าใช้จ่ายสูงและใช้เวลามาก
แต่มีข้อดีสําหรับคําถามปลายเปิดหรือสามารถถามเพิ่ม ในประเด็นที่ต้องการได้ทันที
การสนทนากลุ่ม (focus groups) การสัมภาษณ์กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ
ซึ่งจะให้ผลดีกว่าในประเด็นที่จะ ช่วยให้ตรงประเด็นมากกว่า
มิฉะนั้นอาจจะเข้าใจผิดหรือมโนทัศน์ที่ผิดพลาดได้
การวิเคราะห์ภาระงาน
การวิเคราะห์ภาระงานคล้ายคลึงกันกับการวิเคราะห์งานแต่มีระ
รายละเอียด-หน่วยย่อย การวิเคราะห์งานทําได้โดยการจําแนกงานออกเป็น
การวิเคราะห์ภาระงานก็จะวิเคราะห์ย่อยลงถึงส่วนประกอบ โดยใช้คําถาม วิเคราะห์งาน
ดังนี้
ส่วนประกอบของแต่ละภาระงานคืออะไร
ส่วนประกอบแต่ละส่วนสามารถนํามาเรียงลําดับด้วยอะไรได้บ้าง
ส่วนประกอบแต่ละส่วนต้องใช้เวลาเท่าไร
ขั้นตอนที่จําเป็น (critical steps) คืออะไร และเส้นทางวิกฤติ (critical
paths) คืออะไร
ขั้นตอนที่จําเป็นหมายถึงภาระงานที่ไม่สามารถข้าม
ละเว้นไม่ต้องปฏิบัติภาระงานนั้น มิฉะนั้นจะ
มีผลเสียต่อผลลัพธ์ที่ต้องการให้เกิดขึ้น
สืบเนื่องมาจากผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นปัจจัยป้อนให้กับขั้นตอนต่อไป
ส่วนเส้นทางวิกฤติเป็นผลต่อเนื่องจากขั้นตอนที่จําเป็น
เส้นทางวิกฤติมีผลต่อโอกาสที่จะประสบผลสําเร็จ
ของงานได้และในทํานองเดียวกันก็อาจเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งก็ได้
การตัดสินใจเลือกภาระงานต้องคํานึงถึงประสิทธิผลและประสิทธิภาพ
ซึ่งโปรแกรมที่ดีต้อง แสวงหาวิธีการที่ดีที่สุดภายใต้กรอบค่าใช้จ่ายที่ได้รับ
และต้องสนองจุดหมายของการเรียนรู้ไปพร้อมกัน การเลือกภาระงานอาจแบ่งภาระงานได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มภาระงานที่จัดไว้สําหรับการเรียนแบบปกติ
(formal)
2. กลุ่มภาระงานที่จัดไว้สําหรับการฝึกอบรมขณะปฏิบัติงาน
( on the job training : OIT)
3. กลุ่มภาระงานที่ไม่จัดไว้ทั้งการเรียนแบบปกติหรือ
การฝึกอบรมขณะปฏิบัติงาน เช่น ชุด การศึกษาด้วยตนเอง ฯลฯ
คําถามที่ใช้ในการวิเคราะห์ภาระงาน
donal Clark, (2004 : 10) ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับคําถามในการวิเคราะห์ภาระงานไว้ดังนี้
ภาระงานนี้มีความยุ่งยาก หรือซับซ้อนเพียงใด
ในการปฏิบัติงานต้องใช้พฤติกรรมใดบ้าง
ภาระงานนี้จะต้องกระทําบ่อยเพียงใด
ภาระงานนี้มีความสําคัญต่อการปฏิบัติงานมากน้อยเพียงใด
แต่ละคนทําภาระงานนี้ถึงระดับใด หรือเป็นเพียงส่วนหนึ่งของชิ้นงาน
ถ้าเป็นส่วนหนึ่งของชิ้นงาน อะไรเป็นความสัมพันธ์ระหว่างภาระงานต่าง ๆ
หากปฏิบัติภาระงานผิดพลาดหรือไม่ปฏิบัติเลย ผลจะเป็นอย่างไร
อะไรเป็นขอบเขตของภาระงานในการปฏิบัติงานนั้น ๆ
ระดับความชํานาญที่คาดหวังในการปฏิบัติภาระงาน ควรจะอยู่ระดับใด
ภาระงานมีความสําคัญอย่างไร
สารสนเทศใดที่มีความจําเป็นต่อการปฏิบัติภาระงาน
และจะได้มาจากแหล่งใด
อะไรคือเงื่อนไขในผลการปฏิบัติงาน
ในการดําเนินงานตามระบบ จําเป็นต้องมีการประสานงานกับบุคคลฝ่ายอื่น
หรือภาระงานอื่น หรือไม่
ภาระงานนั้นๆ มากเกินกว่าความต้องการในด้านต่างๆหรือไม่ เช่น
ด้านการรับรู้ (perceptual) ด้าน ความรู้ (cognitive) และด้านทักษะ (psychomotor
) และด้านกายภาพ (Physical)
ภาระงานนี้จะต้องกระทําบ่อยเพียงใด ภายใต้กรอบเวลา เช่น รายวัน
รายสัปดาห์ รายเดือน หรือรายปี)
การปฏิบัติภาระงานนี้ต้องใช้เวลามากน้อยเพียงใด
ในการปฏิบัติภาระงานนี้ บุคคลต้องมีทักษะ ความรู้
และความสามารถต่างๆ อะไรเป็นพื้นฐาน
เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินการปฏิบัติที่ยอมรับได้ในปัจจุบันคืออะไร
และเกณฑ์ที่พึงประสงค์คืออะไร
พฤติกรรมใดที่สามารถจําแนกได้ว่า ใครเป็นผู้ปฏิบัติงานที่ดี
พฤติกรรมใดที่มีความสําคัญ ต่อผลการปฏิบัติงานตามภาระงาน
การวิเคราะห์สาระการเรียนรู้
การวิเคราะห์สาระการเรียนรู้จะเป็นการจํากัดขอบเขตของเรื่องที่จะนํามาสอนกับเรื่องที่ไม่ต้องนํามาสอน
ซึ่งมีความสําคัญยิ่งในปัจจุบันเนื่องจากหนังสือเรียนบรรจุสาระสนเทศไว้มากเกินกว่าที่จะนํามาสอนอย่างมีประสิทธิผลในระยะเวลาหนึ่งภาคเรียน
ควรยึดหลักว่า เพื่อเป็นผลดีต่อ การเรียนรู้จริง ๆ ของผู้เรียน
สื่อการเรียนรู้ที่จําเป็นถึงแม้ว่าจะน้อยแต่ก็ดีกว่าสื่อการเรียนรู้ขนาดใหญ่
แต่ไม่ได้ช่วยให้ประสบความสําเร็จในการเรียน
วิเคราะห์สาระการเรียนรู้ เนื้อหาสาระที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์
อาจจะแบ่งได้ หลายลักษณะ เช่น การเย่ และบริกส์ (Gagne and Briggs 1974 : 53 - 70) กําหนดสาระการเรียนรู้
ดังนี้ 1) ข้อมูลที่เป็นความรู้ 2) เจตคติ และ 3) ทักษะ ส่วนเดคโค (De
Cecco 1968 : 214 - 447) แบ่งสาระการ
เรียนรู้ตามจุดประสงค์เป็น 1) ทักษะ 2) ความรู้ที่เป็นข้อมูลธรรมดา 3) ความคิดรวบยอดและหลักการ
และ 4) การแก้ปัญหา การคิดสร้างสรรค์และการค้นพบ
การวิเคราะห์เนื้อหาสาระ ควรดําเนินการดังนี้
ตัดสินใจให้ได้ว่าสารสนเทศใดมีความจําเป็นสูงสุด
แบ่งออกเป็นมโนทัศน์ย่อย ๆ
ขอเสนอแนะให้นําโครงสร้างการจําแนกจุดประสงค์การเรียนรู้มาใช้ในการตัดสินใจในการสอน
อาทิ การจําแนกจุดมุ่งหมายการศึกษาของ บลูม (Bloom's Taxonomy)
การออกแบบและพัฒนาภาระงาน
Herman, J.L., Aschbacher, P. R., and Winters, L.(1992 อ้างถึงใน ชอบ ลีซอ ตามสภาพจริง สํานักทดสอบทางการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ)
การออกแบบและ อาศัยหลักวิชา การวิเคราะห์
ความคิดสร้างสรรค์และความเชี่ยวชาญในเนื้อหาสาระในระดับมืออาชีพขั้นตอนการสร้างภาระงานมีดังต่อไปนี้
1. การระบุความรู้และทักษะที่ผู้เรียนจะเรียนรู้จากการปฏิบัติงาน โดยเริ่มจากพิจารณาและ
คราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ในหลักสูตร ผลการเรียนที่คาดหวัง
หรือวัตถุประสงค์การเรียนรู้ เพื่อที่จะ มารถระบุขอบเขตและประเภทของความรู้ ทักษะ
และคุณลักษณะที่พึงประสงค์
ผู้สอนควรตั้งปัญหาถามตนเอง 5
ข้อเพื่อที่จะระบุหรือกําหนดความรู้และความสามารถที่ผู้เรียน
จะได้รับจากการปฏิบัติภาระงาน คือ
1)
ทักษะทางปัญญาและคุณลักษณะที่สําคัญที่ต้องการให้ผู้เรียนได้ฝึกและพัฒนาคืออะไร
ภารสื่อสารด้วยการเขียนอย่างชัดเจนและมีประสิทธิภาพ
การวิเคราะห์ประเด็นปัญหาโดยใช้ข้อมูลขัน เกมิและจากเอกสารอ้างอิง
การใช้หลักพืชคณิตเพื่อแก้ปัญหาในชีวิตประจําวัน เป็นต้น
2) ทักษะและคุณลักษณะทางสังคม
และจิตพิสัยที่ต้องการพัฒนาให้ผู้เรียน คืออะไร เช่น งางานโดยอิสระ
การปฏิบัติโดยร่วมมือกับผู้อื่น ความมั่นใจในความสามารถของตน
และการรู้จักรับผิดชอบ เป็นต้น
3) ทักษะความคิดระดับสูงและอภิปัญญา (Meta-cognition) ที่ต้องการพัฒนาให้ผู้เรียนคือ
ไร เช่น การใคร่ครวญ ตรึกตรอง ทบทวนกระบวนการทํางานของตน ผู้เรียน)
การประเมินประสิทธิภาพ ของกลวิธีที่ตน(ผู้เรียน)
ใช้การพิจารณาและประเมินความก้าวหน้าของตนเอง(ผู้เรียนเป็นระยะ ๆ เป็นต้น
4) ความสามารถที่ต้องการให้ผู้เรียนมีความสามารถอะไร เช่นความสามารถในการวางแผน
ศึกษาค้นเพื่อหาคําตอบให้กับประเด็นปัญหาที่กําหนดให้
ความสามารถจําแนกประเภทปัญหาที่สามารถใช้ หลักการทางเรขาคณิตแก้ได้
การแก้ปัญหาที่ไม่มีคําตอบที่ถูกต้องแน่ชัด เป็นต้น
5)
หลักการทางวิชาการและความคิดรวบยอดที่ต้องการให้ผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้คือ อะไร
เช่น การใช้หลักการทางนิเวศวิทยากําหนดแนวปฏิบัติในการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
การใช้หลัก คณิตศาสตร์ไตรยางค์ในการแก้ปัญหาเรื่องการซื้อขาย เป็นต้น
2. ออกแบบภาระงานที่ผู้เรียนต้องใช้ความรู้และทักษะ(จากข้อ 1)
ลักษณะสําคัญของงานคือ ต้องกระตุ้นหรือสร้างแรงจูงใจให้กับผู้เรียน มีความท้าทาย
แต่ไม่ยากเกินไปจนผู้เรียนทําไม่ได้ และใน
ขณะเดียวกันต้องครอบคลุมสาระสําคัญทางวิชาและทักษะที่ลึกซึ้ง
เพื่อให้สามารถนําผลการประเมินไปใช้ได้ อย่างสมเหตุสมผลและน่าเชื่อถือ
Herman et al. (1992) ได้เสนอประเด็นคําถามสําคัญเพื่อให้ผู้สอนพิจารณาในขั้นตอนนี้
คือ
1) เวลา จะต้องใช้เวลาเท่าไร
ผู้เรียนจะพัฒนาความรู้และทักษะที่เป็นเป้าหมายของการ
มติงานในระยะเวลาเท่าไรจึงจะเหมาะสม
เนื่องจากการพัฒนาความคิดรวบยอดที่สําคัญและทักษะ ระบวนการคิดระดับสูง
ความรู้ทักษะมักจะใช้ระยะเวลาในการเรียนรู้ยาวนานพอสมควร
ผู้สอนผู้ออกแบบกำหนดเวลาที่เหมาะสมตามประเภทของสาระสําคัญและความลึกซึ้งของทักษะ
และวัยระดับชั้นเรียน หรือพัฒนาการด้านสติปัญญาของผู้เรียน
2) จะมีหลักการอย่างไร ในการเลือก ความรู้ ทักษะ
และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่มึจำนวนมากและหลากหลาย เพื่อให้เหมาะสมกับระยะเวลาที่กําหนด
หลักการสําคัญคือพิจารณาจากมาตรฐานการเรียนรู้ ให้ความสําคัญกับความรู้ ทักษะ
และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรูเตามหลักสูตรสถานศึกษาและความรู้
ทักษะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่มีขอบเขตการใช้ประโยชน์ที่กว้างขวาง และใช้ได้ในสถานการณ์ที่หลากหลาย
3) พิจารณาโลกแห่งความเป็นจริง ผู้สอน
ผู้ออกแบบควรให้ความสําคัญต่อความรู้ ทักษะและคุณลักษณะที่สอดคล้องกับความเป็นจริง
ไม่ควรให้ความสนใจกับสิ่งที่เป็นเพียงอุดมคติแต่ไม่สามารถบรรลุได้ในความเป็นจริง
3. การกําหนดเกณฑ์การให้คะแนน (Rubrics) หรือเกณฑ์การประเมินที่ชัดเจน เป็นปรนัย
เป็นที่ยอมรับ และสามารถสะท้อนให้เห็นถึงระดับของผลสัมฤทธิ์ทางด้านความรู้ ทักษะ
และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ เกณฑ์การให้คะแนนส่วนมากมักจะอยู่ในรูปตาราง 2 มิติ
ประกอบด้วย
ส่วนหัวของ Rows จะแสดงระดับคุณภาพของความรู้ ทักษะหรือความสามารถของแต่ละ Column จํานวน Rows จะขึ้นอยู่กับจํานวนของระดับคุณภาพที่ต้องการใช้และส่วนมากจะอยู่ระหว่าง
2-3 ระดับ
ช่องแต่ละช่องในตารางจะมีคําบรรยายถึงระดับคุณภาพแต่ละระดับของความรู้
ทักษะ หรือ ความสามารถที่ประเมินภาระงานแต่ละชิ้นควรจะมีเกณฑ์การประเมินเฉพาะตัว
เกณฑ์การประเมินที่
ออกแบบมาอย่างดีจะให้ข้อมูลแก่ผู้เรียนว่าจะต้องแสดงความสามารถด้านใดออกมาในระดับใดจึงจะได้
คะแนนเท่าไร
เกณฑ์การประเมินยังเป็นเครื่องมือให้ผู้สอนสามารถประเมินผู้เรียนอย่างเป็นปรนัยและได้ผล
การประเมินที่น่าเชื่อถือ นอกจากนี้
ควรจะมีตัวอย่างผลงานพร้อมทั้งระดับคะแนนแต่ละด้านให้นักเรียนได้ ศึกษาประกอบด้วย
หมายเหตุ ผู้สอน ผู้ออกแบบควรจะภาระงานไปทําการตรวจสอบทบทวน
แล้วนําไปทดลองใช้ ในภาคสนาม นําผลกลับมาศึกษาวิเคราะห์ และปรับปรุงแก้ไข
ก่อนจะนําไปใช้ในสถานการณ์จริงต่อไป
การสอนเพื่อความเข้าใจ: การออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับ
การกําหนดจุดหมายที่พึงประสงค์ในการสอนเพื่อความเข้าใจครูจะพิจารณาว่านักเรียน
พื้นฐานที่เป็นสิ่งที่มีคุณค่าและน่าจะรู้อะไรบ้างแล้ว
จากนั้นกําหนดขอบข่ายให้แคบลงว่านักเรียนการ จําเป็นต้องรู้และจําเป็นต้องทํา
นักเรียนควรทําความเข้าใจในเรื่องใด และควรทําอะไรได้บ้าง คา
เข้าใจที่ยั่งยืนอะไรบ้าง ครูจะต้องพิจารณาวิธีการประเมิน
ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นว่ากิจกรรมการเรียน จะต้องลุ่มลึกกว่าที่ผ่านมาเป็นอย่างมาก
(ระบุหลักฐานและเกณฑ์ในการประเมินผลชัดเจน) จึงจะ
พัฒนาให้เกิดความเข้าใจในระดับที่ลึกซึ้ง
การออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับ (Backward Design)
Wiggin ได้เสนอเสนอกระบวนการออกแบบ
การเรียนรู้ที่ย้อนกลับ จากจุดหมายการเรียนรู้และ เที่กําหนดไว้
โดยเริ่มจากจุดหมายการเรียนรู้ที่พึงประสงค์ จากนั้นจึงออกแบบหลักสูตรออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้
และออกแบบการประเมินผลการเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กัน
เริ่มจากจะวิเคราะห์ตั้งแต่ช่วงแรกของการออกแบบหลักสูตรว่า
หากนักเรียนบรรลุจุดหมายที่กําหนดไว้ จะต้องพิจารณาจากสิ่งใด ลักฐานอะไร
จึงจะถือว่านักเรียนได้เกิดความเข้าใจในระดับที่พึงประสงค์
วิธีการนี้จะช่วยให้ครูมีความชัดเจนในเรื่องจุดหมาย
และออกแบบให้มีความสอดคล้องกันระหว่างกิจกรรมการเรียนการสอนและ หมายที่พึงประสงค์
การออกแบบแบบย้อนกลับ(backward design)จะมี 3 ขั้นตอนดังนี้
1 การกําหนดจุดหมายในการจัดการเรียนรู้
2 การกําหนดหลักฐานที่แสดงว่านักเรียนได้บรรลุจุดหมายการเรียนรู้ที่กําหนดไว้
3 การวางแผนจัดประสบการณ์การเรียนรู้
การกําหนดจุดหมายในการจัดการเรียนรู้
ผู้สอนจะพิจารณาว่าผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานที่เป็นสาระสําคัญและรู้อะไรแล้ว
กําหนดขอบข่ายว่า นักเรียนจําเป็นต้องรู้สาระอะไร และจะต้องทําอะไรได้
ผู้เรียนควรทําความเข้าใจในเรื่องใด ควรทําอะไรได้ | บ้าง
และควรมีความเข้าใจที่ลุ่มลึกและยั่งยืนในเรื่องใด Wiggin ได้เสนอเกณฑ์พิจารณากําหนดจุดหมาย 4 ประการ
ได้แก่
1. จุดหมายในการจัดการเรียนรู้นั้น
เป็นประเด็นหลักที่จะมีคุณค่านอกบริบทการเรียนการสอน | ในห้องเรียนหรือไม่ ความเข้าใจที่ยั่งยืนต้องไม่เป็นเพียงข้อมูลหรือทักษะ
เฉพาะเรื่องเท่านั้น แต่จะต้องเป็น เรื่องหลัก ประเด็นหลัก
ที่สามารถนําไปปรับประยุกต์ในสถานการณ์อื่นๆ นอกห้องเรียน
2. จุดหมายในการจัดการเรียนรู้นั้น
เป็นหัวใจของศาสตร์ ที่เรียนหรือไม่ นักเรียนควรมีโอกาส
ผ่านกระบวนการของศาสตร์นั้น ๆ เพื่อจะได้เรียนรู้ว่าองค์ความรู้ในศาสตร์นั้นๆ
เกิดขึ้นได้อย่างไร
3. จุดหมายในการจัดการเรียนรู้นั้น
ต้องมีการดูแลเป็นพิเศษ เพื่อให้นักเรียนมีความเข้าใจ เพียงใด
มีเนื้อหาสาระเป็นจํานวนมากที่ซับซ้อน ยาก และเป็นนามธรรมเกินที่นักเรียนจะเข้าใจได้ด้วย
ตนเอง หัวข้อเหล่านี้ ควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษ
และควรบรรจุในการเรียนการสอนมากกว่าเนื้อหาที่เข้าใจ ง่าย
ที่นักเรียนอาจเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
4. จุดหมายในการจัดการเรียนรู้นั้น
เอื้อต่อการมีส่วนร่วมของนักเรียน มีหลายหัวข้อ หลาย มทนักเรียนสนใจตามวัยอยู่แล้ว
สามารถเลือกมาใช้เพื่อเป็น “ประต” ไปสู่เรื่องอื่นที่ใหญ่กว่า
หากมเองเรื่องที่เรียนไปสู่เรื่องที่นักเรียนสนใจ
จะช่วยทําให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าต่อเนื่องด้วยตนเอง ต่อไป
การวางแผนการจัดการเรียนรู้
เมื่อมีความชัดเจนเกี่ยวกับจุดหมายเรียนรู้และหลักฐานที่เป็นรูปธรรมแล้วผู้สอนสามารเริ่มวางแผนการจัดการเรียนรู้ได้
โดยอาจตั้งคําถามดังต่อไปนี้
ความรู้และทักษะอะไรจะช่วยให้นักเรียนมีความสามารถตามจุดหมายที่กําหนดไว้
กิจกรรมอะไรจะช่วยพัฒนานักเรียนไปสู่จุดหมายดังกล่าว
สื่อการสอนจึงจะเหมาะสมสําหรับกิจกรรมการเรียนรู้ข้างต้น
การออกแบบโดยรวมสอดคล้องและลงตัวหรือไม่
การปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนภายใต้ข้อจํากัดของทรัพยากร
ชั้นเรียนโดยทั่วไปกําหนดให้มีจํานวนผู้เรียนประมาณห้องหรือกลุ่มละ
30 คน เพื่อที่ผู้สอนและผู้เรียนจะได้มีปฏิสัมพันธ์อย่างทั่วถึง
และกระบวนการจัดการเรียนการสอนเป็นทางการ
เมื่อสังคมเปลี่ยนแปลงจํานวนผู้เรียนเพิ่มขึ้น
เป็นผลให้ชั้นเรียนขนาดเล็กกลายเป็นชั้นเรียนขนาดใหญ่
ผู้สอนในสถาบันอุดมศึกษาที่รับผิดชอบสอนชั้นเรียนขนาดใหญ่ได้แบ่งเป็นกลุ่มหรือชั้นเรียนขนาดเล็กโดยมีผู้ช่วยสอนหรือไม่ผู้สอนก็ใช้เทคโนโลยีมาใช้ในการสอน
มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบและเทคนิคการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับผู้สอน
ผู้ช่วยสอน(ประจําห้องปฏิบัติการ ห้องเทคโนโลยีที่ทันสมัย )
ซึ่งส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ในการจัดการเรียนการสอนควรมีการปรับเปลี่ยนเนื่องจากมีข้อจํากัดของทรัพยากรอันเป็นผลจาก
พัฒนาการทางสังคม โดยปรับวิธีการเรียนการสอน เครื่องมือและสภาพกายภาพ
ผู้สอนจะต้องมีความรู้ เกี่ยวกับจิตใจของคน การจัดการเรียนรู้เชิงสังคม
และการเรียนรู้แบบร่วมมือ เป็นต้น
อัธยาตมวิทยา : ความรู้ที่เกี่ยวกับจิตใจของคน
นิรมล ตีรณสาร สวัสดิบุตร (2548 : 7 - 8) ได้กล่าวไว้ว่า หนังสือ
ยาต-ตะ-มะ-วิด-ทะ-ยา) หมายถึง ความรู้ที่เกี่ยวกับจิตใจของคน ซึ่งเป็นความรัws ทํางานกับคน
เป็นตําราวิชาครูของกรมศึกษาธิการ ที่เขียนโดย ขนจรัส เผยแพร่ในปี ร.ศ. 125
(พ.ศ.2449) อาจารย์ผู้สอนวิชาจิตวิทยาการศึกษาใน ชวนให้นิสิต นักศึกษาอ่านด้วย
และเสนอแนวคิดเพิ่มเติมว่า ในการเขียน ทันสมัยเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสม
พยายามให้ได้ใจความและเลือกสรร
ตลอดจนการใช้วิธีเขียนและภาษาที่เข้าใจง่ายเช่นเดียวกับที่ตําราอัธยาตรวิทยานี้ได้แสดงตัวอย่างไว้
หนังสืออัธยาตรวิทยา แบ่งเป็นตอนใหญ่ๆ 10 ตอน คือ
1. วิทยาศาสตร์แห่งร่างกายและวิทยาศาสตร์แห่งจิตใจ ซึ่งเน้นว่า
ครูที่ดีจะต้องรู้อาการของจิตใจ สอนให้ละเอียด
เหมือนแพทย์ที่ดีต้องรู้อาการของร่างกายคนไข้
2. ลักษณะทั้งสามของจิตใจ
(ความกระเทือนใจ ความรู้ ความตั้งใจ) มีการแบ่งชั้นของความเจริญ เจิตใจไว้ 3 ชั้น
คือ อายุ 17 ปี 7-14 ปี และ 14-21 ปี
ซึ่งเป็นช่วงอายุของคนที่ที่เป็นลูกศิษย์ของครูอาจารย์
3. ความสนใจ มีสองชนิด คือ ที่เกิดขึ้นเอง
และที่ต้องทําให้เกิดขึ้น
4. ความพิจารณา มีการเปรียบเทียบให้เห็นชัดเจนว่าเด็กในกรุงเทพฯ
กับเด็กบ้านนอกมีความ ..ณาต่างกันอย่างไร
และครูของเด็กทั้งสองพวกนี้ควรส่งเสริมเด็กต่างกันอย่างไร นอกจากนี้ยังมี
"นะนําที่น่าสนใจสําหรับครูในการสอนวิชาต่าง ๆ เช่น ภูมิศาสตร์ ไวยากรณ์
พงศาวดาร การเขียนลายมือ และวาดรูป
5. ความเจริญของอาการทั้งห้า (รู้สึก เห็น ฟัง ชิม คม)
มีการกล่าวถึงหน้าที่ของครูในการหัด ทั้ง 5 และบอกวิธีหัดอาการบางชนิดไว้ด้วย เช่น
หัดให้รู้จัก หัดให้รู้จักรูป หัดให้รู้จักหนทางไกล การคาดคะเน)
หัดให้รู้จักรูปด้วยอาการสัมผัส หัดอาการฟังด้วยการอ่าน-ด้วยเพลง
หัดอาการดมและอาการชิม
6. ความจํา มีเรื่องลืมสนิท และลืมไม่สนิท จําได้และนึกออก
ชนิดของความจําและเรื่องที่ครูควร ท่านเป็นอย่างยิ่ง คือ
สิ่งที่ครูควรถือเป็นหลักในเวลาที่จะให้นักเรียนจํา
สิ่งที่ควรให้นักเรียนท่องขึ้นใจ และสิ่ง ที่ไม่ควรให้นักเรียนท่อง
7. ความคิดคํานึง วิธีฝึกหัดความคิดคํานึงให้ดีขึ้น มีการเสนอว่าบทเรียนที่ช่วยฝึกหัดความคิด
คํานึงของเด็กได้ดีที่สุดคือ พงศาวดาร และภูมิศาสตร์ และแม้แต่หนังสือเรื่อง
ยักษ์หรือผีสางเทวดาที่ผู้ใหญ่ เห็นว่าไร้สาระ ก็ช่วยหัดให้เด็กมีความคิดคํานึงได้
8. ความตกลงใจ เกิดจากอาการ 2 อย่าง คือ
การเปรียบเทียบและการลงความเห็น มีตัวอย่าง บทเรียนที่ช่วยฝึกหัดความตกลงใจ เช่น
การเขียนหนังสือ และวาดรูป บทเรียนสําหรับหัดมือ (พับ ตัด ปั้น)
การกระจายประโยคตามตําราไวยากรณ์ เลข การเล่นออกแรง
9. ความวิเคราะห์ มีการแสดงตัวอย่างวิธีสอน 2 แบบ คือ แบบ “คิดค้น”
(induction) และแบบ คลือบ” (deduction) มีการเปรียบเทียบให้ดูว่าคิดค้นกับคิดสอบต่างกันอย่างไรและมีประโยชน์แก่การศึกษา
คางกันอย่างไร ครูจะได้เลือกว่าเมื่อใดควรให้นักเรียนคิดค้น เมื่อใดให้คิดสอบ
และมีตัวอย่างวิธีสอนเรื่อง อยาวิเศษณ์ที่แสดงขั้นตอนการสอนให้ด 11 ขั้นตอน
ซึ่งเป็นการคิดค้น แล้วต่อด้วยอีก 2 ขั้นตอน
ซึ่งเป็นการใช้วิธีสอนรวมกันทั้งคิดค้นและคิดสอบเช่นนี้ ท่านเรียกว่า วิธีสําเร็จ
และบอกว่าเป็นวิธีที่ดีกว่าวิธี อื่น ๆ
10. ความเข้าใจ มีการให้ตัวอย่าง คําจํากัดความ
ลักษณะแห่งความเข้าใจ และบอกวิธีสอนที่จะทำให้เด็กเข้าใจได้ดี ซึ่งเป็นสิ่งที่ครูทุกคนปรารถนา
วิชาอัธยาตมวิทยาต่อมาเป็นวิชาจิตวิทยาในหลักสูตรผลิตครูในหลายๆ
จิตวิทยาที่จะเป็นประโยชน์ในการเรียนการสอน (จรัส ชวนะพันธ์ (สารท สุทธเสก
สํานักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช)ในหลักสูตรผลิตครูในหลายสถาบัน คือ
เรียนรู้หลักวิชา 4 (จรัส ชวนะพันธ์ (สารท สุทธเสถียร), ขุน (2548) นนทบุรี :
การสานสร้างความรู้จากสังคม
Toffler (1980)
กล่าวถึงพัฒนาการทางสังคมมนุษย์จากสังคมเกษตรกรรม มาสู่สังคมอุตสาหกรรม
และสังคมสารสนเทศ พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ เรียกกันในช่วงแรกว่า
สังคมสารสนเทศ (information society) ต่อมาผู้คนในสังคมที่มีปัญญาสามารถจัดการความรู้ได้
สังคมสารสนเทศก็กลายเป็น สังคมฐานความรู้ (knowledge based society) การพัฒนาเทคโนโลยีไร้สาย เป็นผลให้แนวทางในการจัด
การศึกษาจําเป็นต้องให้สมาชิกในสังคมให้พร้อมรับสังคมฐานความรู้
การศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางที่ กล่าวกันในการจัดการศึกษานั้น
ต้องเกิดจากความเข้าใจผู้เรียนและสภาพแวดล้อมของผู้เรียน เพื่อสร้าง
กิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับศักยภาพของผู้เรียนและองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง
เช่น การจัดกระบวนการ เรียนรู้ สื่อในการเรียนรู้ การศึกษาตามทฤษฎี social
constructivism มีความเหมาะสมมากสําหรับสังคมสารสนเทศ
โดยเฉพาะสังคมฐานความรู้ เนื่องจากผู้เรียนสามารถเรียนรู้เรื่องต่าง ๆ
จากแหล่งความรู้ที่หลากหลาย หาก
สถานศึกษาจัดสภาวะแวดล้อมให้สามารถเข้าถึงแหล่งความรู้จากเครือข่ายสารสนเทศ สุดาพร
ลักษณียนาวิน (2550) ได้เสนอกระบวนการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีการสานสร้างความรู้จากสังคม constructivism) ดังนี้
ตารางที่ 10
กระบวนการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีการสานสร้างความรู้จากสังคม
ทฤษฎี
|
วิธีการเรียนการสอน
|
เครื่องมือและสภาพกายภาพ
|
สานสร้างความรู้จากสังคม
(social
constructivism)
|
การเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน
(Problem Based
Learning)
การเรียนรู้แบบภาระงานเป็นฐาน
(Task Based Learning)
การเรียนรู้แบบเชิงรุก
(Active Learning)
การเรียนรู้วิจัยเป็นฐาน
(Research Based
Learning) การเรียนรู้แบบทีมเป็นฐาน (Team Based Learning)
การเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน
(Peer Learning)
|
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted)
เครือข่ายออนไลน์
(Network
Environment)
วิกิเทคโนโลยี
(Wiki Technology)
ห้องเรียนไร้โต๊ะ
(Classrooms without Desk)
การออกแบบห้องเรียนแนวใหม่
(New Classroom Design)
|
การศึกษาตามแนวทฤษฎีการสานสร้างความรู้จากสังคม
หลักสูตรจะเป็นตัวกําหนดสิ่งที่จะเรียนรู้ | โรงเรียนและผู้สอนจะกํากับการเรียนรู้
ผู้เรียนและผู้สอนจะช่วยกันคิดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับ สภาพสังคม
วิธีการเรียนการสอนแบบนี้ต้องรวมพลังในการเรียนการสอน ทั้งการเตรียมการ
เวลาในการค้นคว้าหาข้อมูล เวลาในการทํากิจกรรมและเวลาที่ต้องมีให้แก่กันระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน
และผู้เรียนกับผู้สอน เป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต
กิจกรรมการเรียนเป็นเรื่องที่ผู้เรียนเป็นผู้กํากับดูแลเอง (autonomous
learner) ผู้เรียนเป็นผู้สานสร้างความรู้
ในบริบทของคําถามและโจทย์ที่มีให้ตอบไม่รู้จบ เครื่องมือและสภาพทาง
กายภาพของห้องเรียน มีการออกแบบห้องเรียนที่ช่วยให้ผู้เรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสื่อ
กับเพื่อน และกับ ผู้สอน
การเรียนรู้แบบร่วมมือ
กระทธิผลของการเรียนรู้แบบร่วมมือได้รับการยืนยันจากการวิจัยทั้งการศึกษาวิจัยในห้องทดลอง
อาคสนาม การศึกษาสหสัมพันธ์ที่แสดงว่าการเรียนรู้แบบร่วมมือได้ผลในห้องเรียนจริงๆ Johnson n (1994) สรุปว่าการวิจัยเชิงสาธิตแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ 1) การประเมินผลรวม ได้ผลว่าการเรียนรู้แบบร่วมมือก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ 2) การประเมินผลรวมเชิงเปรียบเทียบ
ได้ข้อสรุปว่ากระบวนร่วมมือดีกว่ากระบวนการเรียนรู้แบบอื่น ๆ 3)
การประเมินผลระหว่างเรียนให้ผลที่จุดมุ่งหมายที่การพัฒนาการการใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ
และ 4) การศึกษาผลกระทบของการเรียนรู้แมน ทมต่อผู้เรียน
การเรียนรู้แบบร่วมมืออาจใช้ได้ดีกับทุกระดับชั้น ทุกเนื้อหาวิชา
และทุกงาน(ภาระงาน)ด้วยความมั่นใจ ความร่วมมือเป็นความพยายามของมนุษย์โดยทั่วไป
ซึ่งส่งผลกระทบต่อผลลัพธ์ต่าง ๆ ทาง 2 ผลลัพธ์นี้ Johnson and Johnson
(1989a) สรุปได้เป็น 3 ประเภท คือ
ความพยายามที่จะบรรลุผลสัมฤทธิ์ สัมพันธภาพทางบวกกระหร่างบุคคล และสุขภาพจิต
ภาพประกอบที่ 4
ภาพประกอบที่ 4 ผลลัพธ์ของการร่วมมือ
ที่มา Johnson and
Johnson (1994 the new circles of learning cooperation
in the classroom andschool มานพ ธรรมสาร ผู้แปล กรมวิชาการ
2546 : 32)
ทักษะแห่งความร่วมมือ
Johnson and Johnson (1991, 1994)
กล่าวว่า ทักษะระหว่างบุคคลหา ในความพยายามร่วมมือกัน ทักษะแห่งความร่วมมือมี 4
ระดับ คือ
1. ระดับสร้างนิสัย (forming) ทักษะขั้นพื้นฐานที่จําเป็นต่อการสร้างกลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือให้ทําหน้าที่ได้
เป็นทักษะเริ่มแรกของทักษะที่มุ่งการจัดการเรียนรู้และกําหนดาตรฐานขั้นต่ำพฤติกรรมที่สําคัญบางประการเกี่ยวกับทักษะระดับสร้างนิสัย
ดังตัวอย่างต่อไปนี้
เคลื่อนไหวในกลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยไม่ก่อให้เกิดเสียงรบกวน
เวลาการทํางานกลุ่มเป็น
คนจึงควรใช้เวลาในการจัดโต๊ะเก้าอี้และจัดกลุ่มการเรียนให้น้อยที่สุดตามความจําเป็น
นักเรียนอาจ ส่ในต้องฝึกการจัดกลุ่มหลาย ๆ
ครั้งก่อนที่จะปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิผล
อยู่ประจํากลุ่ม
นักเรียนที่เดินไปเดินมาในช่วงที่กลุ่มทํางานไม่ก่อให้เกิดผลดี
และยังรบกวนสมาธิของสมาชิกกลุ่มอื่นด้วย
พูดเบา ๆ แม้ว่ากลุ่มการเรียนรู้ต้องอาศัยปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม
แต่ไม่จําเป็นต้องใช้เสียงดัง ไป
ครูอาจมอบหมายให้นักเรียนคนหนึ่งในกลุ่มเป็นผู้คอยกํากับคนอื่นให้พูดเบา ๆ
กระตุ้นให้ทุกคนมีส่วนร่วม
สมาชิกกลุ่มทุกคนต้องร่วมกันคิดร่วมกันใช้สื่อการเรียน และมีส่วน
.ความพยายามให้กลุ่มบรรลุผล การให้นักเรียนผลัดเปลี่ยนกันทําหน้าที่เป็นวิธีหนึ่งที่จะทําให้นักเรียนทุกคนในกลุ่มมีส่วนร่วม
2. ระดับสร้างบทบาท (function) ทักษะที่จําเป็นต่อการจัดกิจกรรมกลุ่ม
เพื่อทํางานให้สําเร็จ
และรักษาสัมพันธภาพในการทํางานที่มีประสิทธิผลในหมู่สมาชิกกลุ่ม
ทักษะระดับที่สองนี้เน้นที่การจัดการ
ความพยายามของกลุ่มเพื่อทํางานให้สําเร็จและรักษาความสัมพันธ์ในการทํางานที่มีประสิทธิผล
การทําให้ สมาชิกกลุ่มจดจ่ออยู่กับการทํางาน
การหาวิธีดําเนินการที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และการสร้าง
บรรยากาศการทํางานที่น่าพึงพอใจและเป็นมิตรนั้น ถือว่าเป็นการผสมผสานอันสําคัญที่จะนําไปสู่กลุ่มการ
เรียนรู้แบบร่วมมือที่มีประสิทธิผล ตัวอย่างทักษะระดับสร้างบทบาท
แนะแนวทางการทํางานของกลุ่ม โดย (1)
แจ้งและย้ําความมุ่งหมายของงานที่ได้รับมอบหมาย (2)
เตือนให้ใช้เวลาตามที่กําหนดไว้ และ(3) เสนอขั้นตอนว่าจะทํางานอย่างไรให้สําเร็จอย่างมีประสิทธิผลที่สุด
แสดงออกถึงการสนับสนุนและการยอมรับ
ทั้งการใช้คําพูดและการแสดงท่าทาง โดยใช้การ มองสบตา แสดงความสนใจ
ชมเชยแสวงหาความคิด และข้อสรุปของผู้อื่น
ขอความช่วยเหลือหรือความชัดเจนในสิ่งที่พูดหรือทําในกลุ่ม
เสนอให้คําอธิบายหรือชี้แจง แปลความหมายข้อเสนอของสมาชิกอื่น
เสริมพลังให้กลุ่มเมื่อเห็นว่าแรงจูงใจลดลง โดยเสนอแนะความคิดใหม่
ใช้อารมณ์ขัน หรือ แสดงความกระตือรือร้น
บรรยายความรู้สึกของตนเมื่อมีโอกาสเหมาะ
3. ระดับสร้างระบบ (formulating) เป็นทักษะที่จําเป็นต่อการสร้างความเข้าใจระดับลึกใน
ทาวชาที่เรียน เพื่อส่งเสริมให้ใช้กลยุทธ์การใช้เหตุผลที่มีคุณภาพสูง
และเพิ่มความเชี่ยวชาญและความ ทนของความรู้ที่ได้จากงานที่ปฏิบัติ
ทักษะระดับที่สามนี้ทําให้เกิดกระบวนการทางสมองที่จําเป็นในการสร้างความเข้าใจที่ลึกลงไปในเนื้อหาความรู้ที่เรียน
กระตุ้นการใช้กลยุทธ์การให้เหตุผลที่มีคุณภาพสูงและเพิ่มความเชี่ยวชาญและความคงทนของเนื้อหาความรู้ที่เรียน
เนื่องจากความมุ่งหมายกลุ่มการเรียนรู้คือต้องการเพิ่มความเชี่ยวชาญและความคงทนของเนื้อหาความรู้ที่เรียน
เนื่อง ต้องการเพิ่มการเรียนรู้ของสมาชิก ทักษะเหล่านี้มุ่งเป้าหมายเฉพาะไปที่การให้รูปแบบวิธีการในการเป็นไปได้ในขณะที่สมาชิกกลุ่มรับบทบาทต่าง
ๆ ระเบียบความรู้ที่เรียน ทักษะระดับสร้างระบบสามารถดําเนินไปได้ในขณะทะ กัน
บทบาทที่สัมพันธ์กับทักษะเหล่านี้คือ
ผู้สรุปย่อ เป็นผู้กล่าวสรุปสิ่งที่อ่าน
หรือภิปรายให้สมบูรณ์เท่าที่จะทําได้โดยไม่อาศัยร่างบันทึกหรือสื่อการเรียนต้นฉบับ
ควรสรุป ข้อเท็จจริงและความคิดสําคัญทั้งหมดไว้ในการสรุปย่อด้วย สมาชิกทุกคน
ในกลุ่มต้องสรุปย่อจากความจําบ่อย ๆ เพื่อเพิ่มการเรียนรู้
ผู้แก้ไข เป็นผู้ระวังเรื่องความถูกต้อง
โดยคอยแก้ไขข้อสรุปของสมาชิก แล้วเพิ่มเติมข้อสนเทศที่ 1
สําคัญซึ่งไม่ปรากฏในข้อสรุป
ผู้ประสานความร่วมมือ เป็นผู้ประสานความร่วมมือโดยขอให้สมาชิกอื่น
ๆ เชื่อมโยงความรู้ที่ กําลังเรียนอยู่กับความรู้ที่เรียนไปแล้ว และกับสิ่งอื่น ๆ
ที่สมาชิกเหล่านั้นรู้
ผู้ช่วยจํา
เป็นผู้หาวิธีการที่ดีในการจดจําข้อเท็จจริงและความคิดสําคัญ โดยการใช้ภาพวาด
สร้าง มโนภาพ หรือวิธีจําอื่น ๆ แล้วนํามาร่วมหารือในกลุ่ม
ผู้ตรวจสอบความเข้าใจ
เป็นผู้ขอให้สมาชิกกลุ่มอธิบายเป็นขั้นเป็นตอนถึงเหตุผลที่ใช้ในการทํางานให้สําเร็จ
ซึ่งจะทําให้การให้เหตุผลของนักเรียนชัดแจ้ง และเปิดกว้างต่อการปรับแก้และอภิปราย
ผู้ขอความช่วยเหลือ เป็น
ผู้เลือกคนที่จะคอยให้ความช่วยเหลือเพื่อนในกลุ่ม รวมทั้งเป็นผู้ตั้ง
คําถามที่ชัดเจนและตรงประเด็น และทําอยู่อย่างนั้นจนกว่าจะช่วยเหลือสําเร็จ
ผู้อธิบาย เป็นผู้บรรยายวิธีการทํางานให้สําเร็จ (โดยไม่ให้คําตอบ) ให้ข้อมูลย้อนกลับที่เจาะจงเกี่ยวกับงานนักเรียนอื่น
และลงท้ายด้วยการขอให้นักเรียนอื่นบรรยายหรือสาร์
ผู้ให้ความสะดวกในการอธิบาย
เป็นผู้ขอให้สมาชิกกลุ่มวางแผนที่จะสอนเนื้อหาความรู้ให้นักเรียนคนอื่นโดยละเอียด
การวางแผนวิธีการถ่ายทอดความรู้ที่ดีที่สุดมีผลต่อคุณภาพของกลยุทธ์การให้เหตุผลและความคงทนของความรู้
4. ระดับสร้างเสริม (fermenting) ทักษะที่จําเป็นต่อการส่งเสริมการรับรู้เหตุผลในสิ่งที่เรียนความขัดแย้งด้านการรู้คิด(อภิปัญญา)
การค้นหาความรู้เพิ่มเติม และการสื่อสารกันด้วยกลักเหตุผลเมื่อมีการ สรุปผล
ทักษะแห่งความร่วมมือระดับที่สี่ ที่ทําให้นักเรียนสามารถเข้าร่วมในการโต้แย่งทางวิชาการได้
ประเด็นสําคัญที่สุดบางประการของการเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อ
สมาชิกกลุ่มท้าทายการสรุปผล และการให้เหตุผลของกันและกันอย่างคล่องแคล่ว
การโต้แยงทางวิชาการทำให้สมาชิกกลุ่ม “เจาะลึก”ในเนื้อหาความรู้ที่เรียนระดมหลักเหตุผลในข้อสรุป
คิดแปลกแยกเกี่ยวกับปัญหา หาข้อสนเทศเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนจุดยืนของตน
และการอภิปรายโต้แย้งอย่างสร้างสรรค์เกี่ยวกับทางเลือกของการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ
ทักษะที่เกี่ยวข้องกับการโต้แย้งทางวิชาการ ได้แก่
วิจารณ์ความคิด โดยไม่วิจารณ์คน
แบ่งแยกความแตกต่าง
เมื่อมีความเห็นขัดแย้งขึ้นในกลุ่มการเรียนรู้
บูรณาการความคิดหลายความคิดให้เป็นจุดยืนเดียว
ขอคําชี้แจงในเรื่องการสรุปผลผลหรือคําตอบของสมาชิก
ขยายความข้อสรุปหรือคําตอบของสมาชิกอื่น
โดยเพิ่มเติมข้อมูลหรือแสดงนัยที่นอกเหนือ
ออกไป
ตรวจสอบโดยการตั้งคําถามซึ่งนําไปสู่ความเข้าใจที่ลึกลงไป
หรือการวิเคราะห์ (“มันจะได้ผล
. ฯม่ในสถานการณ์นี้” “มีอย่างอื่นอีกหรือไม่ที่ทําให้คุณเชื่อ)
ให้คําตอบลึกลงไปอีกโดยเจาะลึกลงไปนอกเหนือคําตอบหรือข้อสรุปแรก
ให้คําตอบที่มีความ เป็นไปได้หลาย ๆ คําตอบให้เลือก
ทดสอบความจริงโดยการตรวจสอบงานของกลุ่มในเรื่องวิธีการทํางาน
เวลาที่มี และปัญหาที่ กลุ่มเผชิญ
ทักษะความร่วมมือช่วยให้สมาชิกกลุ่มมีแรงจูงใจในการให้คําตอบที่ลึกมีคุณภาพสูง
นอกเหนือจากคําตอบที่ตอบออกมาอย่างฉับพลัน โดยการกระตุ้นการคิดและความอยากรู้อยากเห็นทางพุทธิ
ปัญญาของสมาชิกกลุ่ม
สรุป
ในการจัดการเรียนการสอนจะตัดสินใจว่าปัญหาในการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนนั้น
เป็นปัญหาที่สามารถแก้ไขด้วยการศึกษา
การวางแผนจัดการเรียนการสอนจะต้องมีการวิเคราะห์เนื้อหาสาระ
วิเคราะห์งานและภาระงาน การวิเคราะห์ภาระงานนําไปสู่การปฏิบัติเพื่อสนองตอบความต้องการการเรียนรู้
กล่าวคือ การทบทวนระบบหรือกระบวนการเพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความเข้าใจเพิ่มมากขึ้น
และผู้เรียนจะได้รับงานสําหรับการเรียนการสอน
ส่วนภาระงานที่ไม่เกี่ยวข้องก็ควรจะถูกตัดออกหรือใช้วิธีอื่นที่ไม่ใช่การกระงานที่เลือกมาต้องคํานึงถึงประสิทธิผลและประสิทธิภาพ
ซึ่งการจัดการเรียนรู้ที่ดีต้องแสวงหาวิธีที่ดีที่สุดภายใต้กรอบค่าใช้จ่ายที่ได้รับ(มีประสิทธิภาพ)
และต้องสนองตอบจุดหมายของการเรียนรู้ (มีการประสิทธิผล)ไปพร้อมกัน
ตรวจสอบและทบทวน
ในการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ขั้น วิเคราะห์ภาระงาน
ปฏิบัติการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ด้วยการระบุงาน และภาระงาน
โดยใช้แนวทางการวิเคราะห์ภาระงานของหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐานแล้วระบุเป็นชิ้นงานหรือภาระงานที่ผู้เรียนปฏิบัติ
การออกแบบภาระงานที่ผู้เรียนต้องใช้ความรู้และทักษะ (จากขั้น การกําหนดจุดหมายการเรียนรู้
(setting learning
goals) ลักษณะสําคัญของงานคือ ต้องกระตุ้นหรือสร้างแรงจูงใจ
ให้กับผู้เรียน มีความท้าทาย แต่ไม่ยากเกินไปจนผู้เรียนทําไม่ได้
และในขณะเดียวกันต้องครอบคลุม สาระสําคัญทางวิชาและทักษะที่ลึกซึ้ง
เพื่อให้สามารถนําผลการประเมินไปใช้ได้อย่างสมเหตุสมผลและน่าเชื่อถือ
Web link
http://www.nwlink.com/~donclark/hrd/isd/tasks.html
https://files.eric.ed.gov/fulltext/ED399433.pdf
https://www.usabilitybok.org/task-analysis
https://www.brighthubeducation.com/special-ed-inclusion-strategies/104379-an-example-of-how-to-use-task-analysis/
https://files.eric.ed.gov/fulltext/ED195229.pdf
(AUTHOR Sherman,
Thomas M.: Wildman, Terry M. TITLE Linking Task Analysis with Student
Learning. PUB DATE Apr BO NOTE 13p.: Paper presented at the Annual Convention of the ASSfor
Educational Communications and Technology, (Denver, CO, April 21-24, 1980). https://files.eric.ed.gov/fulltext/ED195229.pdf)
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น