กรอบแนวคิดที่มา The STUDIES Model

การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียนตามรูปแบบ  The STUDIES Model มีจุดหทายสำคัญเพื่อตอบสนองหลักการและเหตุผลสำคัญในการกำหนดแนวทางพัฒนา วิชาชีพครู ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 9 (4) ที่ได้กำหนดบทบัญญัติให้มีหลักการส่งเสริมมาตราฐาน วิชาชีพครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา และการพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษามาอย่างต่อเนื่อง
        รูปแบบ The STUDIES Model มุ่งพัฒนานักศึกษาวิชาชีพครูให้มีความรู้ ความสามารถ คุณลักษณะความเป็นครูตามมาตราฐานวิชาชีพ ตามที่คุรุสภาได้ประกาศเกณฑ์มาตราฐานวิชาชีพไว้และสอดคล้องกับแนวคิดอาจารย์ มืออาชีพ แนวคิด เครื่องมือ และการพัฒนา(ไพฑูรย์  สินลารัตนื 2550 บรรราธิการ เครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย) ในการปรับปรุงคุณภาพด้านการเรียนการสอนของสถาบันอุดมศึกษาในประเด็นการ พัฒนาการเรียนการสอนที่เน้นสัมฤทธิ์ผลในการปรับปรุงศักยภาพการเรียนของนัก ศึกษาผ่านกระบวณการเรียนการสอนเป็นหลัก

กรอบแนวคิดที่มา The STUDIES Model
        รูปแบบ The STUDIES Model เป็น ผลสืบเนื่องจากการศึกษาวิจัยเพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้และ การจัดการชั้นเรียน สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู ศึกษาวิเคราะห์หลักการ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยนโยบายแห่งรัฐในการจัดการศึกษายุค Thailand 4.0 หรือยุคการศึกษา 4.0 มาตราฐานวิชาชีพครู พ.ศ. 2556 แนวคิดการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivist Learning Method : CLM) การออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล (Universal Design of Instruction ; UDI) การวัดผลการเรียนรู้ การกำหนดระดับความเข้าใจ ในการกำหนดค่าระดับคุณภาพการเรียนรู้ตามแนวคิด SOLO Taxonomy ผลการศึกษาวิจัยได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ที่เรียกว่า The STUDIES Model  มีรายละเอียดกรอบแนวคิด (The STUDIES Model  framework) ดังแผนภาพประกอบที่ 1
ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง
1.พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 และปรับปรุง2553
2.มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาสาขาครุศาสตร์และหรือสาขาศึกษาศาสตร์ (หลักสูตรห้าปี)
3. มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา
4.หลักสูตรการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญปรับปรุง 2553
5. การศึกษา 4.0
6. การกำหนดระดับความเข้าใจในการกำหนดค่าระดับSOLO Taxonomy

รูปแบบ The STUDIES Model
ทฤษฎี / แนวคิด
ขั้นตอน / กิจกรรมการเรียนรู้
Constructivis
Clarifying exist
knowledge
Identifying receiving and
understanding new information
Confirming and using new knowledge
DRU Model
D: การวินิจฉัยและออกแบบการเรียนรู้
R: การใช้วิจัยเพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้
U: การประเมินตรวจสอบทบทวนตนเอง
SU Learning
Model
การวางแผน
การเรียนรู้
การออกแบบการเรียนรู้
ปฏิบัติการการเรียนรู้
(การเรียนรู้+การจัดการชั้นเรียน)
การประเมินการเรียนรู้
Research Learning
วิเคราะห์จุดหมายในการเรียนรู้
วางแผน
การเรียนรู้
การพัฒนาทักษะการเรียนรู้
การสรุป
ความรู้
การวิพากษ์
ความรู้
ประเมินการเรียนรู้
The STUDIES Model
S setting Learning goals
T-Task Analysis
U-Universa Design for Instruction
D-Digital
Learning
I-Integrate  
knowledge
E- Evaluation
S/ Standard
ภาพประกอบที่ 1 กรอบแนวคิดในการพัฒนารูปแบบ The STUDIES Model

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม