การเรียนรู้แบบทีมเป็นฐาน


การเรียนรู้แบบทีมเป็นฐาน (Team Based Learning)
Team-based Learning (TBL) หรือ การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ทีมเป็นฐาน 
เป็นแนวคิดที่ริเริ่มโดย Professor Larry K. Michaelsen ในระหว่างสอนที่มหาวิทยาลัย
 Oklahoma มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาการสอนในรายวิชาที่มีนักศึกษาลงทะเบียนเป็น
จำนวนมาก โดยเน้นการเรียนรู้ร่วมกันในรูปแบบทีมในชั้นเรียน โ
ดยการจัดการเรียนการสอนโดยวิธี TBL มีขั้นตอนสำคัญ 
1. การเตรียมความพร้อมก่อนการเข้าชั้นเรียน (pre-class preparation) 
โดยผู้สอนมอบหมายให้ผู้เรียนต้องทำศึกษาเนื้อหารายวิชามาล่วงหน้านอกชั้นเรียน 
 โดยอาจใช้สื่อประเภทตำรา บทความ วิดีโอ อื่นๆ
2. การรับประกันความพร้อม (readiness assurance) ของผู้เรียน ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ
ขั้นตอนที่ 1 การทดสอบผู้เรียนรายบุคคล (Individual Readiness Assurance Test: I-RAT)
ขั้นตอนที่ 2 การทดสอบเป็นทีม (Team Readiness Assurance Test: T-RAT) 
โดยกำหนดให้เป็นทีมแบบถาวร (permanent team) ที่ประกอบด้วยผู้เรียน 5-7 คน 
 และควรเป็นทีมที่ผู้สอนจัดให้อย่างเหมาะสม
ขั้นตอนที่ 3 การอุทธรณ์จากทีม (Appeals) ในกรณีที่ผู้เรียนมีข้อสงสัยในคำตอบในแบบทดสอบ
ขั้นตอนที่ 4 ผู้สอนให้ข้อมูลย้อนกลับ (Instructor feedback) 
เพื่อแก้ไขความเข้าใจที่ผิดพลาดของผู้เรียน โดยอาจทำในลักษณะที่เป็นทางการหรือ
ไม่เป็นทางการก็ได้
การประเมินผู้เรียนโดยวิธีการสอนแบบ TBL
การประเมินผู้เรียนโดยวิธีการสอนแบบ TBL สามารถทำได้ 3 ส่วน คือ 
ผลคะแนนการทดสอบรายบุคคล (I-RAT)
         ผลการประเมินการทำงานของทีม โดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ เช่น แบบประเมินผลงาน 
 โดยผู้สอนต้องให้ทีมสร้างผลงานที่สามารถเปรียบเทียบกันโดยอาศัยความเห็นของผู้เชี่ยวชาญรวมทั้งผู้สอน
        ผลงานของกลุ่มนี้ต้องได้รับการประเมิน และเปรียบเทียบกันบ่อยๆ โดยใช้วิธีการที่เหมาะสม
ผลการประเมินโดยเพื่อน (Peer assessment) เพื่อประเมินการมีส่วนร่วมในกิจกรรมกลุ่มของสมาชิก
แต่ละคนในทีม โดยที่สมาชิกทุกคนมีโอกาสที่จะประเมินการทํากิจกรรมของสมาชิกแต่ละคน 
 การสนับสนุนที่ให้แก่ทีม เช่น  การเตรียมตัวเองเพื่อการทํางานกลุ่ม การมีส่วนร่วมในการอภิปราย
 การให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อทีม การรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ความเสียสละ เป็นต้น  
การประเมินเพื่อนเป็นสิ่งสําคัญเนื่องจากสมาชิกที่จะเป็นบุคคลที่มีข้อมูลถูกต้องเพียงพอที่
จะใช้ในการประเมินเพื่อนคนอื่น โดยกำหนดการให้คะแนนแบบรูบริค (Rubric Assessment)
      จากผลการวิจัยต่าง ๆ สามารถสรุปข้อดีของการจัดการเรียนการสอนแบบ TBL มีดังนี้
·เกิดความรับผิดชอบของผู้เรียนเป็นรายบุคคล และความรับผิดชอบของผู้เรียนต่อทีม
·เกิดการพัฒนาทักษะการทํางานเป็นทีมแก่ผู้เรียน
·ช่วยยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนให้สูงขึ้น
·ผู้เรียนมีทัศนคติที่ดีต่อรายวิชา
          โดยสรุปจะเห็นได้ว่าการจัดการเรียนการสอบแบบการใช้ทีมเป็นฐาน (TBL) 
เป็นการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสำหรับชั้นเรียนขนาดใหญ่ที่มีนักศึกษาลงทะเบียนจำนวนมาก
 โดยอาศัยกระบวนการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนที่ทำให้ผู้เรียนได้มีการเตรียมความพร้อมมาล่วงหน้า และเรียนรู้ร่วมกันผู้เรียนอื่น ๆ ในรูปแบบทีม นำไปสู่ความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้ได้


ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม