ตรวจสอบและทบทวน


ตรวจสอบและทบทวน
ในการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ขั้น วิเคราะห์ภาระงาน ปฏิบัติการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ด้วยการระบุงาน และภาระงาน โดยใช้แนวทางการวิเคราะห์ภาระงานของหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐานแล้วระบุเป็นชิ้นงานหรือภาระงานที่ผู้เรียนปฏิบัติ การออกแบบภาระงานที่ผู้เรียนต้องใช้ความรู้และทักษะ (จากขั้น การกําหนดจุดหมายการเรียนรู้ (setting learning goals) ลักษณะสําคัญของงานคือ ต้องกระตุ้นหรือสร้างแรงจูงใจ ให้กับผู้เรียน มีความท้าทาย แต่ไม่ยากเกินไปจนผู้เรียนทําไม่ได้ และในขณะเดียวกันต้องครอบคลุม สาระสําคัญทางวิชาและทักษะที่ลึกซึ้ง เพื่อให้สามารถนําผลการประเมินไปใช้ได้อย่างสมเหตุสมผลและน่าเชื่อถือ


กำหนดเป้าหมายและหลักการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้ ประจำหน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง ของเล่นของใช้
กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์   ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ด้านความรู้ (K)
1. ประเภทและความแตก
ต่างระหว่างของเล่นและของใช้
2. ของเล่นของใช้ในท้องถิ่น
3. วัสดุที่นำมาทำของเล่นของใช้
4. เกณฑ์ในการจัดกลุ่มของเล่นของใช้
ด้านทักษะกระบวนการ(P)
1. การสำรวจ
2. การสังเกต
3. การเปรียบเทียบ
4. การจำแนก
5. กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
6. การใช้แท็บเล็ตและ Apps
ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์(A)
1. มีความกระตือรือร้น
2. มีความรับผิดชอบ
3. มุ่งมั่นในการทำงาน
4. ร่วมแสดงความคิดเห็น
5. ทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข
หลักฐานการเรียนรู้
ภาระงานระหว่างเรียน
- ฝึกกระบวนการเรียนรู้ แบบสำรวจ สังเกต จากกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้จากแผนจัดการเรียนรู้ใบงาน 6 ชิ้น และสื่อในแท็บเล็ต หน่วยการเรียนรู้เรื่องของเล่นของใช้(3 ชิ้น) 

ผลการประเมินตนเอง
1. สมุดเล่มเล็ก,โปสการ์ด
2. ภาพถ่ายของเล่นและของใช้
3. ใบงาน

ผลงานการเรียนรู้รวบยอด
- ใบงานจากแผนจัดการเรียนรู้
- ชิ้นงานจาก โปรแกรมวาดภาพจากApps : How to draw
อัลบั้มรูปจาก Tablet
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์                                                  ชั้นประถมศึกษาปีที่ ภาคเรียนที่  2
หน่วยการเรียนรู้ที่  1  เรื่อง ของเล่นของใช้                                                            เวลาเรียน  3  ชั่วโมง
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง รู้จักของเล่นของใช้                                               เวลาเรียน  1  ชั่วโมง
มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน
             ว 3.1 เข้าใจสมบัติของสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค  มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

ตัวชี้วัด
      ป.1/1 สังเกตและระบุลักษณะที่ปรากฏหรือสมบัติของวัสดุที่ใช้ทำของเล่นของใช้ในชีวิตประจำวัน                
   
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
1. ความสามารถในการสื่อสาร
2. ความสามารถในการคิด
3. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
4. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

คุณลักษณะที่พึงประสงค์

          1. มีความกระตือรือร้น
2. มีความรับผิดชอบ
3. มุ่งมั่นในการทำงาน
4. ร่วมแสดงความคิดเห็น
5. ทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข

สาระสำคัญ

          ของเล่นและของใช้มีความแตกต่างกันที่ประโยชน์ใช้สอย ซึ่งของเล่นจะมีไว้สำหรับเล่น ส่วนของใช้จะมีไว้สำหรับทำกิจกรรมต่างๆ
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. บอกความหมายของของเล่นและของใช้ได้(k)
2. จำแนกประเภทของเล่นและของใช้ได้(k)
3. ยกตัวอย่างสิ่งที่เป็นของเล่นและของใช้ได้(p)
4. เห็นคุณค่าของเล่นและของใช้ในท้องถิ่น (A)
สาระการเรียนรู้
1.       ของเล่น
2.       ของใช้

กิจกรรม/กระบวนการจัดการเรียนรู้

ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
          1.นักเรียนและครูร่วมกันเล่นเกมต่อจิกซอร์รูปภาพของเล่น ของใช้  จากสื่อแท็บเล๊ตที่ชื่อว่า Kids Education Puggle  แล้วสนทนาร่วมกันเกี่ยวกับภาพจิกซอร์ที่นักเรียนต่อได้

ขั้นกิจกรรมการเรียนการสอน
1.นักเรียนและครูร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับความหมายและความสำคัญของของเล่นและของใช้ แล้วให้นักเรียน
ช่วยกันยกตัวอย่างของเล่นและของใช้ที่มีอยู่ในบ้าน โรงเรียน และห้องเรียน
          2. นักเรียนแบ่งกลุ่ม 4-5 คน ทำใบงานที่1.1 เรื่อง ของเล่นและของใช้รอบๆตัว หลังจากนั้นครูและนักเรียนช่วยกันสรุป ครูให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับของเล่นของใช้
          3. นักเรียนทำใบงานที่1.2 เรื่อง ของเล่นและของใช้ที่ฉันชอบเป็นรายบุคคล หลังจากนั้นให้นักเรียนออกมานำเสนอผลงานของตนเองหน้าชั้นเรียน  โดยคุณครูและเพื่อนๆร่วมกันประเมินชิ้นงานของนักเรียน

       ขั้นสรุปบทเรียน
          1. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปบทเรียนเรื่องของเล่นและของใช้จากเกมและใบงานที่นักเรียนได้ทำอีกครั้งหนึ่ง
          2. นักเรียนศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมได้จากแหล่งการเรียนรู้ เช่น มุมหนังสือชุมชน ห้องสมุดประชาชน อินเตอร์เน็ต

สื่อการเรียนรู้

1.ตัวอย่างของเล่นของใช้
2.ใบงาน
3.แท็บเล็ต
4.ห้องสมุดโรงเรียน
5.ของเล่น ของใช้ ในบริเวณโรงเรียน

แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม
          1.อินเตอร์เน็ต
          2.ห้องสมุดประชาชน

การวัดผลและประเมินผล

1.วิธีการวัดและประเมินผล
1. โดยการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้
2. โดยการตรวจผลงานจากใบงาน
3. โดยการประเมินการเห็นคุณค่า
2. เครื่องมือ
                    1. แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้
                   2. แบบตรวจผลงาน
                   3. แบบประเมินการเห็นคุณค่า


ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม