หลักสูตรการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
แต่เดิมแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนเป็นการยึดผู้สอนเป็นศูนย์กลาง (Techer-centered) โดยผู้สอนเป็นผู้กำหนดเนื้อหาและวิธีการเรียนการสอนเอง ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นเพียงการบรรยายหน้าชั้นเรียนเท่านั้น ต่อมานักการศึกษาเชื่อว่าแนวคิดดังกล่าวไม่ได้เอื้อต่อเกิดการพัฒนาผู้เรียน อย่างแท้จริง เพราะไม่ใช่วิธีการที่ตอบสนองต่อความต้องการหรือลักษณะของผู้เรียน การศึกษาควรให้ความสำคัญกับ “การเรียน” มากกว่า “การสอน”
แนว คิดของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Learner-centered, Student-centred หรือ Child-centered) จึงเป็นการปฏิรูปการศึกษาที่เปลี่ยนมายึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยมีหลักการว่า กระบวน การจัดการเรียนการสอนต้องเน้นให้ผู้เรียนสามารถแสวงหาความรู้ และพัฒนาความรู้ได้ตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพของตนเอง รวมทั้งสนับสนุนให้มีการฝึกและปฏิบัติในสภาพจริงของการทำงาน มีการเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนกับสังคมและการประยุกต์ใช้ มีการจัดกิจกรรมและกระบวนการให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์
สังเคราะห์ ประเมินและสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ
โดยไม่เน้นไปที่การท่องจำเพียงเนื้อหา
สรุปลักษณะของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
Active
Learning เป็น กิจกรรมที่ผู้เรียนเป็นผู้กระทำหรือปฏิบัติด้วยตนเองด้วยความกระตือรือร้น เช่น ได้คิด ค้นคว้า ทดลองรายงาน ทำโครงการ สัมภาษณ์
แก้ปัญหา ฯลฯ ได้ใช้ประสาทสัมผัสต่างๆ
ทำให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างแท้จริง ผู้สอนทำหน้าที่เตรียมการจัดบรรยากาศการเรียนรู้ จัดสื่อสิ่งเร้าเสริมแรงให้คำปรึกษาและสรุปสาระการเรียนรู้ร่วมกัน
Construct เป็น กิจกรรมที่ผู้เรียนได้ค้นพบสาระสำคัญหรือองค์การความรู้ใหม่ด้วยตนเอง อันเกิดจากการได้ศึกษาค้นคว้าทดลอง
แลกเปลี่ยนเรียนรู้และลงมือปฏิบัติจริง ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนสามารถนำสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน รวมทั้งทำให้ผู้เรียนรักการอ่าน รักการศึกษาค้นคว้าเกิดทักษะในการแสวงหาความรู้ เห็นความสำคัญของการเรียนรู้
ซึ่งนำไปสู่การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
(Learning Man) ที่พึงประสงค์
Resource เป็น กิจกรรมที่ผู้เรียนได้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ที่หลากหลายทั้งบุคคลและเครื่องมือทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ผู้เรียนได้สัมผัสและสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทั้งที่เป็นมนุษย์
(เช่น ชุมชน ครอบครัว องค์กรต่างๆ)
ธรรมชาติและเทคโนโลยี ตามหลักการที่ว่า “การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลาและทุกสถานการณ์)”
Thinking เป็น กิจกรรมที่ส่งเสริมกระบวนการคิด
ผู้เรียนได้ฝึกวิธีคิดในหลายลักษณะ เช่น คิดคล่อง คิดหลากหลาย คิดละเอียด คิดชัดเจน คิดถูก ทางคิดกว้าง คิดลึกซึ้ง คิดไกล คิดอย่างมีเหตุผล เป็นต้น การฝึกให้ผู้เรียนได้คิดอยู่เสมอในลักษณะต่างๆ จะทำให้ผู้เรียนเป็นคนคิดเป็น แก้ปัญหาเป็น
คิดอย่างรอบคอบมีเหตุผล มีวิจารณญาณ ในการคิด
มีความคิดสร้างสรรค์ มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ที่จะเลือกรับและปฏิเสธข้อมูล
ข่าวสารต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
ตลอดจนสามารถแสดงความคิดเห็นออกได้อย่างชัดเจนและมี เหตุผลอันเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตประจำวัน
Happiness เป็น กิจกรรมที่ผู้เรียนเรียนอย่างมีความสุข
ซึ่งเป็นความสุขที่เกิดจาก 1) ผู้เรียนได้เรียนในสิ่งที่ตนชอบหรือสนใจ
ทำให้เกิดแรงจูงใจในการใฝ่รู้ ท้าทาย อยากค้นคว้า
อยากแสดงความสามารถและให้ใช้ศักยภาพของตนอย่างเต็มที่ 2) การมีปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนและระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน มีลักษณะเป็นกัลยาณมิตร
มีการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
มีกิจกรรมร่วมด้วยช่วยกัน ทำให้ผู้เรียนรู้สึกมีความสุขและสนุกกับการเรียน
Participation เป็น กิจกรรมที่เน้นการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม
ตั้งแต่การวางแผนกำหนดงาน วางเป้าหมายร่วมกัน และมีโอกาสเลือกทำงานหรือศึกษาค้นคว้าในเรื่องที่ตรงกับความถนัดความสามารถ ความสนใจ ของตนเอง
ทำให้ผู้เรียนเรียนด้วยความกระตือรือร้น มองเห็นคุณค่าของสิ่งที่เรียนและสามารถ ประยุกต์ความรู้นำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตจริง
Individualization เป็น กิจกรรมที่ผู้สอนให้ความสำคัญแก่ผู้เรียนในความเป็นเอกัตบุคคล ผู้สอนต้องยอมรับในความสามารถ ความคิดเห็น ความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน มุ่งให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองให้เต็มศักยภาพมากกว่าเปรียบเทียบแข่งขัน ระหว่างกันโดยมีความเชื่อมั่นผู้เรียนทุกคนมีความสามารถในการเรียนรู้ได้ และมีวิธีการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน
Good
Habit เป็น กิจกรรมที่ผู้เรียนได้พัฒนาคุณลักษณะนิสัยที่ดีงาม
เช่น ความรับผิดชอบ ความเมตตา กรุณา ความมีน้ำใจ
ความขยัน ความมีระเบียบวินัย ความเสียสละ ฯลฯ และ
ลักษณะนิสัยในการทำงานอย่างเป็นกระบวนการการทำงานร่วมกับผู้อื่น การยอมรับผู้อื่น และ การเห็นคุณค่าของงาน เป็นต้น
Self Evaluation เป็น กิจกรรมที่เน้นการประเมินตนเอง
เดิมผู้สอนเป็นผู้ประเมินฝ่ายเดียว
แต่การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนประเมินตนเองอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจตนเองได้ชัดเจนขึ้น รุ้จุดเด่นจุดด้อยและพร้อมที่จะปรับปรุงหรือพัฒนาตนเองให้เหมาะสมยิ่งขึ้น การประเมินในส่วนนี้เป็นการประเมินตามสภาพจริงและอาจใช้แฟ้มสะสมผลงานช่วย
บทบาทของครูผู้สอน
บทบาท ของครูผู้สอนในการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญจะไม่เป็นผู้ชี้นำ หรือผู้ออกคำสั่งแต่จะเปลี่ยนเป็นผู้กระตุ้น ผู้อำนวยความสะดวกและให้คำแนะนำช่วยเหลือเมื่อจำเป็น
ติดตามตรวจสอบ รวมทั้งให้การสนับสนุนด้านอุปกรณ์การเรียนรู้
เช่น แหล่งข้อมูล เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์
อุปกรณ์ที่เป็นสื่อการเรียนรู้รูปแบบต่างๆ เว็บไซด์ อีเมล์ ฯลฯ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบลักษณะการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูสมัยใหม่กับ ครูสมัยเก่าก็จะเห็นความแตกต่าง ดังนี้
ครูสมัยใหม่
|
ครูสมัยเก่า
|
1. สอนนักเรียนโดยวิธีบูรณาการเนื้อหาวิชา
|
1. สอนแยกเนื้อหาวิชา
|
2. แสดงบทบาทในฐานะผู้แนะนำ (Guide) ประสบการณ์ทางการศึกษา
|
2. มีบทบาทในฐานะตัวแทนของเนื้อหาวิชา(Knowledge)
|
3. กระตือรือร้นในบทบาท
ความรู้สึกของนักเรียน
|
3. ละเลยเฉยเมยต่อบทบาทนักเรียน
|
4. ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการวางแผนของหลักสูตร
|
4. นักเรียนไม่มีส่วนร่วมแม้แต่จะพูดเกี่ยวกับหลักสูตร
|
5. ใช้เทคนิคการค้นพบด้วยตนเองของนักเรียนเป็นกิจกรรมหลัก
|
5. ใช้เทคนิคการเรียนโดยใช้การจำเป็นหลัก
|
6. เสริมแรงหรือให้รางวัลมากกว่าการลงโทษ
โดยใช้แรงจูงใจภายใน
|
6. มุ่งเน้นการให้รางวัลภายนอก
เช่น เกรด แรงจูงใจภายนอก
|
7. ไม่เคร่งครัดกับมาตราฐานทางวิชาการจนเกินไป
|
7. เคร่งครัดกับมาตราฐานทางวิชาการมาก
|
8. มีการทดสอบเล็กน้อย
|
8. มีการทดสอบสม่ำเสมอเป็นระยะๆ
|
9. มุ่งเน้นการทำงานแบบร่วมใจ
|
9. มุ่งเน้นการแข่งขัน
|
10. สอนโดยไม่ยึดติดกับห้องเรียน
|
10. สอนในขอบเขตของห้องเรียน
|
11. มุ่งสร้างสรรค์
ประสบการณ์ใหม่ให้นักเรียน
|
11. เน้นย้ำประสบการณ์ใหม่เพียงเล็กน้อย
|
12. มุ่งเน้นความรู้ทางวิชาการและทักษะด้านจิตพิสัย
เท่าเทียมกัน
|
12. มุ่งเน้นความรู้ทางวิชาการเป็นสำคัญ
ละเลยความรู้สึกหรือทักษะทางด้านจิตพิสัย
|
13. มุ่งเน้นการประเมินกระบวนการเป็นสำคัญ
|
13. ประเมินกระบวนการเล็กน้อย
|
ตัวอย่างของรูปแบบหรือเทคนิคการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
การเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning)
การเรียนที่ใช้การวิจัยเป็นฐาน (Research–based Learning)
การเรียนแบบโครงงาน (Project-based
Learning)
การจัดการเรียนการสอนแบบสืบค้น (Inquiry Instruction)
การเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative/Collaborative
Learning)
การใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) หรือสื่อเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง
การใช้เครื่องมือทางปัญญา (Cognitive Tools)
เทคนิคการใช้ Concept
Mapping
เทคนิคการใช้ Learning
Contracts
เทคนิคบทบาทสมมติ (Role
Playing Model)
เทคนิคหมวก 6 ใบ
เทคนิคการเรียนการสอนแบบจิ๊กซอร์(Jigsaw) ฯลฯ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น