อภิปัญญา (Meta-cognitive)


Metacognition หมายถึง ความสามารถของบุคคลที่มีต่อกระบวนการคิดของตนเอง รู้ว่าอะไรที่ เหมาะสมกับตนเองในการเรียนรู้ ตลอดจนสามารถเลือกกลวิธี ในการวางแผน ก ากับควบคุม และ ประเมินการเรียนรู้ของตนเองได้ เพื่อให้การเรียนรู้หรือการปฏิบัติงานต่างๆ บรรลุตามวัตถุประสงค์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ องค์ประกอบของ Metacognition มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) ความรู้ (2) การควบคุม ตนเอง และ (3) ความตระหนักต่อกระบวนการคิด ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
(1) ความรู้ เป็นความสามารถของผู้เรียนเกี่ยวกับการรู้กระบวนการคิดของตนเอง ในการเรียนรู้หรือการปฏิบัติงาน ซึ่งเกี่ยวข้องกับความรู้ใน 3 ด้าน ดังนี้
1) ความรู้ด้านเนื้อหาสาระ เป็นความรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบพื้นฐาน ที่ผู้เรียนจ าเป็นต้องรู้ในการเรียนรู้หรือการปฏิบัติงาน ทั้งในเรื่องความรู้เกี่ยวกับลักษณะของงาน ที่ทำ และความรู้เกี่ยวกับความสามารถของตนเอง ดังนี้
1.1) ความรู้เกี่ยวกับลักษณะของงานที่ทำ เป็นการรู้ว่างานนี้ เกี่ยวข้องกับเรื่องใดในด้านข้อเท็จจริง ค าศัพท์และนิยาม เช่น ถ้าผู้เรียนต้องการแก้โจทย์ปัญหา คณิตศาสตร์จะต้องรู้ว่าโจทย์ปัญหานี้เกี่ยวข้องกับเนื้อหาคณิตศาสตร์เรื่องใด
1.2) ความรู้เกี่ยวกับความสามารถของตนเอง เป็นความสามารถ ในการวิเคราะห์ตนเองว่ามีความรู้ความสามารถในการเรียนรู้หรือการปฏิบัติงานมากน้อยเพียงใด เช่น ผู้เรียนรู้จุดอ่อนและจุดแข็งของตนเอง รู้ว่าตนเองรู้อะไร และมีความรู้ในระดับใด เพื่อที่จะได้ หาวิธีการที่เหมาะสมในการเรียนรู้ของตนเอง
2) ความรู้ในวิธีการ เป็นความรู้เกี่ยวกับวิธีการหรือกระบวนการต่างๆ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนรู้หรือการปฏิบัติงาน เช่น ในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ผู้เรียนต้องรู้ว่ามีวิธีการหรือกระบวนการแก้ปัญหาแบบใดบ้าง เพื่อให้สามารถหาคำตอบของโจทย์ ปัญหานี้ได้
3) ความรู้ที่ใช้เพื่อตัดสินใจเลือกวิธีการ เป็นความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ ลักษณะของวิธีการที่ใช้ในการเรียนรู้หรือการปฏิบัติงาน เพื่อตัดสินใจเลือกใช้วิธีการที่เหมาะสมและ มีประสิทธิภาพสูงสุด เช่น ผู้เรียนต้องวิเคราะห์ว่าวิธีการหรือกระบวนการแก้ปัญหาที่มีอยู่ วิธีการใด เป็นวิธีที่ใช้แก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว ง่ายต่อการอธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจ และเหมาะสมที่สุดกับ โจทย์ปัญหา
(2) การควบคุมตนเอง เป็นความสามารถของผู้เรียนในการควบคุมตนเอง ให้เรียนรู้หรือปฏิบัติงานได้สำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งประกอบด้วยการควบคุมตนเองใน 3 ด้าน ดังนี้
1)การวางแผน เป็นการกำหนดวัตถุประสงค์และขั้นตอนของการเรียนรู้ หรือการปฏิบัติงาน เพื่อเป็นแนวทางในการเรียนรู้หรือการปฏิบัติงานให้สำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ผู้เรียนต้องวิเคราะห์ในการหาคำตอบของโจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ จะต้องมีขั้นตอนใดบ้าง เพื่อให้ได้คำตอบที่ถูกต้องและสอดคล้องกับเงื่อนไขที่โจทย์กำหนด
2) การกำกับควบคุม เป็นการตรวจสอบและคิดทบทวนเกี่ยวกับ ความเหมาะสมและความถูกต้องของวิธีการและขั้นตอนที่เลือกใช้ในการเรียนรู้หรือการปฏิบัติงาน เช่น ผู้เรียนต้องวิเคราะห์ว่าวิธีการที่เลือกใช้เหมาะสมและสอดคล้องกับการแก้ปัญหาในเรื่องนั้น หรือไม่
3) การประเมิน เป็นการตรวจสอบผลที่ได้จากการเรียนรู้หรือการ ปฏิบัติงาน ซึ่งจะทำให้ผลที่ได้มีความถูกต้องและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายที่วางไว้ เช่น ผู้เรียนต้องตรวจสอบว่าคำตอบที่ได้สมเหตุสมผลกับโจทย์ปัญหาหรือไม่
(3) ความตระหนักต่อกระบวนการคิด เป็นความสามารถของผู้เรียนเกี่ยวกับการรู้ ปัจจัยที่จำเป็นที่ทำให้การเรียนรู้หรือการปฏิบัติงานสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถอธิบาย สิ่งที่ตนเองรู้ให้ผู้อื่นฟังได้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการอธิบายเหตุผลใน 3 ด้าน ดังนี้
1) การสนับสนุนความคิดหรือวิธีการที่ถูกต้องของตนเอง ผู้เรียนสามารถ อธิบายเหตุผล เพื่อสนับสนุนความคิดหรือวิธีการที่ถูกต้องของตนเองได้อย่างชัดเจน ซึ่งแสดงถึง ความมั่นใจว่าสิ่งที่ตนเองคิดนั้นถูกต้อง หลังจากมีการประเมินแล้วว่ากระบวนการคิดที่ใช้ใน การเรียนรู้หรือการปฏิบัติงานท าให้งานสำเร็จ
2) การยอมรับความคิดหรือวิธีการอื่นที่ถูกต้อง ผู้เรียนสามารถอธิบาย เหตุผลในการยอมรับความคิดหรือวิธีการอื่นที่ถูกต้อง ซึ่งแตกต่างจากแนวคิดของตนเอง
3) การยอมรับว่าความคิดหรือวิธีการของตนเองผิดพลาด ผู้เรียนสามารถ อธิบายเหตุผลในการยอมรับว่าความคิดหรือวิธีการของตนเองผิดพลาด และพร้อมที่จะแก้ไข ความผิดพลาดที่เกิดขึ้น หลังจากมีการประเมินแล้วว่ากระบวนการคิดที่ใช้ในการเรียนรู้หรือ การปฏิบัติงานทำให้งานผิดพลาด
การประเมิน Metacognition
Metacognition เป็นวิธีการคิดที่มีระบบอยู่ในสมองของมนุษย์ การประเมิน Metacognition จึงต้องใช้การกระตุ้นจากภายนอก เพื่อให้ผู้เรียนแสดงวิธีการคิดและพฤติกรรม โดยใช้วิธีการอย่างหลากหลาย เช่น การสัมภาษณ์ วิธีการคิดออกเสียง การให้รายงานตนเอง และ การใช้แบบทดสอบ ซึ่งแต่ละวิธีมีข้อดีหรือข้อจำกัดที่แตกต่างกัน จึงควรพิจารณาองค์ประกอบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น วัตถุประสงค์ของการประเมิน ระดับชั้นของผู้เรียน จำนวนผู้เรียน เพื่อให้สามารถ เลือกใช้วิธีในการประเมินได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายที่ต้องการ
การประเมิน Metacognition โดยใช้แบบทดสอบ (test) แบบทดสอบที่ใช้วัดอภิปัญญานี้มีลักษณะเช่นเดียวกับแบบทดสอบแบบเขียนตอบ ทั่วๆ ไป ในการสร้างแบบทดสอบที่ใช้ในการวัดอภิปัญญา ผู้สอนอาจใช้ข้อสอบแบบเขียนตอบที่ใช้ วัดผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนในห้องเรียนได้ โดยควรเลือกข้อสอบที่ไม่ยากเกินไป แล้วเพิ่มคำถามที่ใช้ วัดอภิปัญญาเข้าไปในข้อสอบนั้น เพราะถ้าข้อสอบยากเกินไป ผู้เรียนจะทำข้อสอบไม่ได้   จึงทำให้ไม่สามารถวัดอภิปัญญาของผู้เรียนได้ หรือผู้สอนอาจสร้างข้อสอบขึ้นมาใหม่ได้ โดยการสร้างข้อสอบ    แบบเขียนตอบที่ใช้วัดอภิปัญญามี 2 องค์ประกอบสำคัญคือ 1) สถานการณ์และคำถาม และ 2) แนวคำตอบ


ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม