สัปดาห์ที่2

บทที่ 1
The STUDIES Model : การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน
        การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียนตามรูปแบบ  The STUDIES Model มีจุดหทายสำคัญเพื่อตอบสนองหลักการและเหตุผลสำคัญในการกำหนดแนวทางพัฒนา วิชาชีพครู ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 9 (4) ที่ได้กำหนดบทบัญญัติให้มีหลักการส่งเสริมมาตราฐาน วิชาชีพครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา และการพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษามาอย่างต่อเนื่อง
        รูปแบบ The STUDIES Model มุ่งพัฒนานักศึกษาวิชาชีพครูให้มีความรู้ ความสามารถ คุณลักษณะความเป็นครูตามมาตราฐานวิชาชีพ ตามที่คุรุสภาได้ประกาศเกณฑ์มาตราฐานวิชาชีพไว้และสอดคล้องกับแนวคิดอาจารย์ มืออาชีพ แนวคิด เครื่องมือ และการพัฒนา(ไพฑูรย์  สินลารัตนื 2550 บรรราธิการ เครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย) ในการปรับปรุงคุณภาพด้านการเรียนการสอนของสถาบันอุดมศึกษาในประเด็นการ พัฒนาการเรียนการสอนที่เน้นสัมฤทธิ์ผลในการปรับปรุงศักยภาพการเรียนของนัก ศึกษาผ่านกระบวณการเรียนการสอนเป็นหลัก

กรอบแนวคิดที่มา The STUDIES Model
        รูปแบบ The STUDIES Model เป็น ผลสืบเนื่องจากการศึกษาวิจัยเพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้และ การจัดการชั้นเรียน สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู ศึกษาวิเคราะห์หลักการ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยนโยบายแห่งรัฐในการจัดการศึกษายุค Thailand 4.0 หรือยุคการศึกษา 4.0 มาตราฐานวิชาชีพครู พ.ศ. 2556 แนวคิดการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivist Learning Method : CLM) การออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล (Universal Design of Instruction ; UDI) การวัดผลการเรียนรู้ การกำหนดระดับความเข้าใจ ในการกำหนดค่าระดับคุณภาพการเรียนรู้ตามแนวคิด SOLO Taxonomy ผลการศึกษาวิจัยได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ที่เรียกว่า The STUDIES Model  มีรายละเอียดกรอบแนวคิด (The STUDIES Model  framework) ดังแผนภาพประกอบที่ 1
ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง

รูปแบบ The STUDIES Model
ทฤษฎี / แนวคิด
ขั้นตอน / กิจกรรมการเรียนรู้
Constructivis
Clarifying exist
knowledge
Identifying receiving and
understanding new information
Confirming and using new knowledge
DRU Model
D: การวินิจฉัยและออกแบบการเรียนรู้
R: การใช้วิจัยเพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้
U: การประเมินตรวจสอบทบทวนตนเอง
SU Learning
Model
การวางแผน
การเรียนรู้
การออกแบบการเรียนรู้
ปฏิบัติการการเรียนรู้
(การเรียนรู้+การจัดการชั้นเรียน)
การประเมินการเรียนรู้
Research Learning
วิเคราะห์จุดหมายในการเรียนรู้
วางแผน
การเรียนรู้
การพัฒนาทักษะการเรียนรู้
การสรุป
ความรู้
การวิพากษ์
ความรู้
ประเมินการเรียนรู้
The STUDIES Model
S setting Learning goals
T-Task Analysis
U-Universa Design for Instruction
D-Digital
Learning
I-Integrate  
knowledge
E- Evaluation
S/ Standard
ภาพประกอบที่ 1 กรอบแนวคิดในการพัฒนารูปแบบ The STUDIES Model
รูปแบบ The STUDIES Model
รูปแบบ The STUDIES Model มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้นักศึกษาวิชาชีพครู มีความรู้ความเข้าใจ บาทที่สําคัญในฐานะผู้เรียนที่จะต้องศึกษาศาสตร์การสอน และมีบทบาทในฐานะผู้สอนที่จะนําความรู้ไป การเรียนรู้ และจัดการชั้นเรียน รายละเอียดดังภาพประกอบที่ 2
ภาพประกอบที่ 2 รูปแบบ The STUDIES model
ที่มา พิจิตรา ธงพานิช การพัฒนารูปแบบ The STUDIES Model เพื่อส่งเสริมความสามารถ
ในการจัดการเรียนรู้ และ การจัดการชั้นเรียน สําหรับนักศึกษาวิชาชีพครู 2561 : 7

รูปแบบ The STUDIES Model มี 7 ขั้นตอน ดังรายละเอียดต่อไปนี้
S : กําหนดจุดหมายการเรียนรู้ (Setting learning goals) การกําหนดจุดหมายการเรียนรู้ ผู้เรียนต้อง ระบุจุดหมายการเรียนรู้ goals) ด้วยการระบุความรู้และการปฏิบัติ โดยการระบุความรู้ในรูปของสารสนเทศ (declarative knowledge) และระบุทักษะ การปฏิบัติ หรือกระบวนการ (procedural knowledge) จุดหมาย การเรียนรู้ไม่ได้ถูกจํากัดด้วยจํานวนของบทเรียน ปริมาณเนื้อหาสาระหรือความรู้สูงสุด แต่หมายถึงความ คาดหวังที่จะเรียนรู้ต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งและเจตนาที่จะให้ผู้เรียนแสดงถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้
T : วิเคราะห์ภาระงาน (Task Analysis) ศึกษาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้ได้ ความรู้ (knowledge) ทักษะ (Skill) และเจตคติ (Attitude) ที่เกี่ยวข้อง เพื่อการอธิบายภาระงานหรือกิจกรรมที่ช่วยนําทางผู้เรียนไปสู่ จุดหมายการเรียนรู้ การวิเคราะห์งานจะเขียนแสดงความสัมพันธ์ด้วย KSA diagram คือ Knowledge-SkilAttitudes
U : การออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล (Universal Design for Instruction UDI) เง
ความต้องกา ออกแบบการสอนที่ครูมีบทบาทเป็นผู้ดําเนินการเชิงรุก (proactive) เกี่ยวกับการผลิตและหรือจัดหาจัด ชี้แนะผลิตภัณฑ์การศึกษา(educational products (computers, websites, software, textbooks, and lab equin และสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้(dormitories, classrooms, student union buildings, libraries, and distance learn
สรุป courses) ที่จะระบุถึงในทุกขั้นตอนของการเรียนการสอน
D : การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัล (Digital Learning) การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัลเป็นการเรียนรู้ผ่านเครือข่าย เช่น เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social networking) การแชร์ภาพ และการใช้อินเทอร์เน็ตแบบเคลื่อนที่ เป็นต้น การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัลมีนัยมากกว่าการรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ แต่ยังครอบคลุมถึงประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับเนื้อหา(content) จริยธรรม สังคม และการสะท้อน (Reflection) ซึ่งตั้งอยู่ในการเรียนรู้ การทํางานและชีวิตประจําวัน
I : การบูรณาการความรู้ (Integrated Knowledge) การเชื่อมโยงความรู้ที่เกี่ยวข้องภายในศาสตร์ การจัดการ ต่าง ๆ ของรายวิชาเดียวกันหรือหลากหลายวิชาเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนําความรู้ไปใช้ในชีวิตจริง ในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integrated learning Management) เป็นกระบวนการจัดประสบการณ์โดยเชื่อมโยงสาระความรู้ของศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้ผู้เรียนได้รับความรู้ ทักษะ และเจตคติ
E : การประเมินเพื่อปรับปรุงการสอน (Evaluation to Improve Teaching) การประเมินการเรียนรู้ ของตนเอง โดยกําหนดค่าคะแนนจากการวิเคราะห์การประเมินการเรียนรู้ด้านความรู้ (Cognitive Domain) และประ ของบลูม (Bloom's Taxonomy) การประเมินตามสภาพจริงและการประเมินจากแฟ้มสะสมงาน เป็นการ (Goals) ตรวจสอบการบรรลุจุดหมายการเรียนรู้
S : การประเมินอิงมาตรฐาน (Standard Based Assessment ) การประเมินคุณภาพการเรียนรู้ Webl อิงมาตรฐาน โดยใช้แนวคิดพื้นฐาน โครงสร้างการสังเกตผลการเรียนรู้ (Structure of Observed Learning Outcomes : SOLO Taxonomy) มากําหนดระดับคุณภาพผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นการตรวจสอบคุณภาพ การเรียนรู้ รวมถึงมาตรฐานการประเมินคุณภาพภายในและการประเมินคุณภาพภายนอก
การปรับปรุงรายวิชา
สาขาวิชาหลักสูตรและนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม ได้ ปรับปรุงหลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต พ.ศ.2556 เป็นหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ปรับปรุง พ.ศ. 2561 และ ปรับเปลี่ยนรายวิชา การออกแบบและการจัดการเรียนรู้ (Instructional Design and Management) เป็นรายวิชา การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน (Instructional and Classroom Management) ปรับปรุง คือ ชื่อรายวิชา รหัสวิชา จํานวนชั่วโมงในการจัดการเรียนการสอน และคําอธิบายรายวิชา ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพื่อให้สาระและสมรรถนะในการเรียนรู้สอดคล้องกับมาตรฐานการจัดการเรียนรู้ที่คุรุสภากําหนด หนังสือ The STUDIES Model : การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน เพื่อตอบสนอง ตามต้องการในการเรียนรู้ดังกล่าว
สรุป
การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน เป็นวิชาที่นักศึกษาวิชาชีพครูจะต้องศึกษาไว้ให้แตกฉาน รูปแบบ The STUDIES Model เป็นการนําเสนอให้รู้จักหลักเกณฑ์หรือแนวทางในการจัดการเรียนรู้ กล่าวได้ ว่า การรู้รูปแบบ The STUDIES Model อย่างเดียว แต่ถ้าไม่ได้ลงมือปฏิบัติจริง ๆ ก็คงสอนไม่ได้ดี รูปแบบ The STUDIES Model พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยให้ผู้สอนได้ใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้ ช่วยให้ตัดสินใจได้ ว่าในการจัดการเรียนรู้ควรจะปรับปรุงแก้ไขประเด็นใด เมื่อผู้สอนได้แบบแผนการจัดการเรียนรู้ที่ชัดเจนแล้ว การจัดการเรียนรู้ต่อไปก็จะง่ายขึ้น ถ้าเป็นไปได้ก็คิดขั้นตอนกระบวนการของตนเองขึ้นมาบ้าง ไม่ต้องเดิน ตามวิธีการที่คนอื่นกําหนดไว้เสมอไป
ตรวจสอบและทบทวน
สืบค้นมาตรฐานวิชาชีพครูตามข้อบังคับคุรุสภา มาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2556 มาตรฐานด้านความรู้ และประสบการณ์วิชาชีพมาตรฐานที่ 6 การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน นํามากําหนดจุดหมาย (Goals) ในการศึกษารายวิชาเพื่อการบรรลุมาตรฐานดังกล่าวนี้
Weblink
รูปภาพสําหรับ the studies model พิจิตรา ธงพานิช

Model




ตัวอย่างการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน

ป.2 สารที่1 มาตรฐาน ว.1.2 เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต

จุดประสงค์       1. สามารถเข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
2. อธิบายความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่างๆ
3. เกิดกระบวนการสืบเสาะหาความรู้สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการดำรง
ชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต


การจัดประสบการณ์
1. สอนและอธิบายในชั้นเรียน เรื่อง การเจริญเติบโตของพืช
2. ทำการทดลอง โดยให้นักเรียนนำเมล็ดถั่วเขียว มาทดลองปลูกเพื่อดูและสังเกตการเจริญเติบโตของ
ถั่วเขียว
3. ให้นักเรียนบันทึกผลการทดลองและสรุปผลการทดลองแล้วนำมานำเสนอคุณครู


เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์อย่างไร
ทำให้นักเรียนเกิดกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ดังนี้
1. ตั้งปัญหา
2. เก็บรวบรวมข้อมูลหรือข้อเท็จจริง
3. สร้างสมมติฐาน
4. ทดลองพิสูจน์
5. สรุปผล









ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม