แบบจำลองการเลือกสื่อ
แบบจําลองการเลือกสื่อ
แบบจําลองการเลือกสื่อการเรียนการสอนมีหลายแบบ
สําหรับการพิจารณาแต่ละแบบจะมีวิธีการ เลือกสื่อที่ต่างกัน สิ่งที่น่าสังเกตคือ
แต่ละแบบมีความต่างกันอย่างไร และพิจารณาว่ามีอะไรเป็นนัยของความ ต่าง
แต่ละแบบจําลองพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยในการเลือกและการใช้ประโยชน์จากวัสดุ
ให้สังเกตภาพที่ 7 ซึ่ง
ไม่ได้นํามาเสนอวิธีการเลือกสื่อที่ตายตัว และภาพที่ 8 ซึ่งใช้สําหรับโครงการการพัฒนาการเรียนสอนของ กองทัพอากาศ
แบบจําลองของวิลเลี่ยม ออลเลน
ในแบบจําลองของวิลเลี่ยม ออลเลน (William allen) ผู้ออกแบบการเรียนการสอนต้องตัดสินใจ
เกี่ยวกับการจําแนกจุดประสงค์และการจําแนกความสามารถสูงสุดของสื่อการเรียนสอนที่จะพลิกแพลงให้เข้า
กับจุดประสงค์ ออลเลน ได้ตรวจสอบประสิทธิผล สื่อสําหรับวัดชนิดของการเรียนรู้
ด้วยเหตุผลนี้ ออลเลน ได้สร้างตารางแจกแจงสองทาง ซึ่งจําแนกสื่อที่ให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง
ปานกลาง และต่ํา ตามชนิดของ การเรียนรู้ เมื่อใช้แบบจําลองนี้
ผู้ออกแบบควรพยายามหลีกเลี่ยงสื่อที่ให้ผลสัมฤทธิ์ต่ํากับชนิดของการเรียนรู้ (aien,
1967 : 27-31) อย่างไรก็ตาม
ถ้าผู้ออกแบบเลือกสื่อที่ให้ผลสัมฤทธิ์ต่ําหรือปานกลางผู้ใช้ควรรับรู้ ข้อจํากัด
แบบจําลองของเยอร์ลาชและอีลี
แบบจําลองเยอร์ลาชและอีลี (Gerlach and Ely) ได้เป็นที่รู้จักกันในปี
ค.ศ. 1971 ในตําราที่ชื่อว่า การสอนและสื่อ
เยอร์ลาชและอีลีได้นําเสนอเกณฑ์
ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ในการเลือกสื่อการเรียนการสอน หลังจากที่ระบุจุดประสงค์และระบุพฤติกรรมความพร้อมที่จะรับการสอน
(entering behaviors) แล้วเกณฑ์
ดังกล่าวประกอบด้วยประการที่ 1 ความเหมาะสมทางปัญญา
(สื่อสามารถส่งผ่านตัวกระตุ้นตามเจตนารมณ์ ของจุดประสงค์หรือไม่) ประการที่ 2 ระดับของความเข้าใจ (สื่อทําให้ผู้เรียนเข้าใจหรือไม่) ประการที่ 3 ราคา ประการที่ 4 ประโยชน์
(เครื่องมืออุปกรณ์และวัสดุมีประโยชน์หรือไม่) และประการที่ 5 คุณภาพทางเทคนิค
(คุณลักษณะทางการฟังและการคูของการผลิตมีคุณภาพเพียงพอหรือไม่) (Gerlach
and Ely. 1980) ภาพที่ 5 จะ
แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของจุดประสงค์กับทางเลือกในการเลือกสื่อตําราของเยอร์ลาชและอีลีได้มีการ
พิมพ์ครั้งที่สองในปี ค.ศ. 1980โดยที่ผู้เขียนตั้งใจเขียนขึ้นสําหรับครูทุกระดับ
ดังภาพประกอบที่ 5
ภาพประกอบที่ 5 แบบจําลองการเรียนการสอน
: การเลือกสื่อ
ที่มา : Frederick G. Knirk,
and Kent L, Gustatson, Instructional Technology A Systematic Approach to
Education (New York: Holt, Rinehart and Winston, 1986), p.170.
การขยายขอบเขตการเรียนรู้ด้วยการวิจัยการเรียนรู้
ผู้สอนสามารถปรับปรุงความสามารถในด้านวิชาการของผู้เรียนด้วยการวิจัย
การวิจัยการเรียนรู้จะ
ช่วยให้ได้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจว่าเงื่อนไขอะไรที่ทําให้มีการเรียนรู้เพิ่มขึ้นในสถานการณ์ที่คล้ายคลึง
กับที่ตนเผชิญอยู่ นักวิทยาศาสตร์พฤติกรรมใช้วิธีการในการศึกษาพฤติกรรมด้วยการสังเกตบุคคลในสถานที่
กรณีที่หลากหลาย ด้วยการตั้งคําถามลึกๆ
เกี่ยวกับประสบการณ์มีการสํารวจประชากรกลุ่มใหญ่เพื่อที่จะ ตัดสินใจว่า
ประชาชนเหล่านั้นชอบหรือไม่ชอบ นักออกแบบสร้างและใช้แบบทดสอบสําหรับความสามารถ
และคุณลักษณะของคนจํานวนมาก แต่สิ่งที่สําคัญที่สุดและเป็นการให้ผลต่อการศึกษาการเรียนรู้
คือ การ ทดลอง ซึ่งนักวิจัยระมัดระวังและควบคุมการศึกษาสาเหตุและผลที่ได้รับ
แบบมโนทัศน์ของการวิจัยเกี่ยวกับการออกแบบการเรียนการสอน
เนื้อหาส่วนใหญ่ของงานวิจัยที่ เกี่ยวกับตัวแปรการออกแบบการเรียนการสอนต้องไม่กว้างเกินไปโดยปราศจากของการจัดการ
ริชชี ได้จัด กลุ่มงานวิจัยเกี่ยวกับตัวแปรการเรียนการสอนเป็นสี่กลุ่มใหญ่ คือ
ผู้เรียน เนื้อหาวิชา สิ่งแวดล้อม และระบบ การสอน
การออกแบบการเรียนการสอนขึ้นอยู่กับธรรมชาติของความชี้เฉพาะในแต่ละกลุ่มอย่างหลากหลาย
ตารางที่ 21 ตัวอย่างของการปฏิบัติเชิงการเปลี่ยนแปลง
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
การปฏิบัติเชิงความจํา (recognition
practice)
คาร์บูเรเตอร์ตัวไหนทํางานถูกต้อง
เมฆที่เห็นเป็นชนิดที่เรียกว่า นิมบัส (nimbus) หรือคูมูลัส (cumulus)
การแก้ไขการปฏิบัติ (editing
practice)
คาร์บูเรเตอร์นี้ทํางานไม่ถูกต้อง
ทําให้ถูกต้อง
เมฆที่เห็นไม่ใช่นิมบัส เป็นเมฆชนิดใด
การปฏิบัติที่ให้ผล (production
practice)
ในการติดตั้งคาร์บูเรเตอร์
อย่าลืมต้องติดตั้งโช้ค (choke) ก่อน
จงดูรูปร่างและสีของเมม แล้วบอกว่าเป็นเมฆชนิดใด
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) อีกวิธีการหนึ่งที่จะทําให้การผิดพลาดลดลงคือ
การให้ผู้เรียนได้รับรู้ที่ การตอบสนองนั้นไม่ถูกต้อง
การรู้ว่าถูกหรือผิดจะช่วยให้ผู้เรียนแก้ไขการกระทําให้ถูกต้องระหว่างทดลอง
และเน้นไปที่ส่วนของภาระงานที่ต้องการกลั่นกรอง
การเรียนรู้จากสื่อเคลื่อนที่
เทคโนโลยีแบบเคลื่อนที่ (Mobile technology) จะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้แบบพลวัตรที่สร้างสรรค์
การเรียนรู้แบบมีปฏิสัมพันธ์กันภายใต้สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน
ในยุคที่ความ เจริญก้าวหน้าของสื่อสารไร้สายนี้
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทโน็ตบุ๊คคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ (รวมถึง TABLETS) กล้องถ่ายภาพดิจิทัล เครื่องเล่น MP3หรือ MP4 และอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์อื่น ๆ อีก มากมาย ในที่นี้ขอเรียกว่า
สื่อเคลื่อนที่ (Mobile devices) สามารถนํามาใช้เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้การตอบสนอง
ได้รวดเร็ว มีปฏิสัมพันธ์แบบโต้ตอบให้ประสบการณ์ที่ดี เช่น
ในการสอนวิชาภาษาต่างประเทศ สามารถ
แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ผ่านสื่อเคลื่อนที่ดังกล่าวนี้ ทั้งนี้ผู้เรียนยังใช้ประโยชน์ในการส่งอีเมลล์
หรือใช้ประโยชน์เพื่อการนันทนาการได้อีกด้วย
ในบางกรณีผู้เรียนยังมีความคาดหวังที่จะได้เรียนรู้แม้ว่าจะ ไม่ได้เข้าชั้นเรียน
โดยที่ผู้เรียนสามารถติดตามบทเรียนตามที่ต้องการได้สะดวกจากเว็บไซต์
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น