การตัดสินใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่สื่อดิจิทัล


การตัดสินใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่สื่อดิจิทัล
          เทคโนโลยีใหม่ สื่อดิจิทัล ประกอบด้วย การเรียนการสอนที่อาศัยคอมพิวเตอร์เป็นพื้นฐาน (computer-based instruction) และการเรียนรู้ทางไกล ที่อาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นพื้นฐาน (telecommunications-based distance learning technologies) การเรียนรู้ทางไกลเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนอยู่ใน สถานที่หนึ่ง เทคโนโลยีใหม่มีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ ดังแสดงที่ตาราง 18 นิยามศัพท์เฉพาะสือและเทคโนโลยี
          การพิจารณาเลือกสื่อ
          มีหลักการทั่วไปจํานวนมาก และข้อพิจารณาอื่นๆ ในการเลือกสื่อที่เหมาะสมสําหรับการเรียนการ สอน คือ กฏในการเลือกสื่อและปัจจัยอื่นๆ ที่มีอิทธิพลต่อการเลือกสื่อ

          ตารางที่ 18 ทางเลือกสําหรับสื่อดั้งเดิม
ทัศนะวัสดุฉาย : ไม่เคลื่อนไหว(Projected Visuals: Stacie)
ทัศนะวัสดุไม่ฉาย : (Non Projected Visuals)
Opaque Projection
Pictures
Overhead Projection
Photographs
Slides
charts graphs diagrams
Filmstrips
displays-exhibits, feltboards, bulletin boards
สื่อ (Media) (Multimedia Presentation)
การนําเสนอด้านสื่อผสม
Records
sound slide
tape-reel,cassette cartridge
multi-image
audio cards
film-cassette multimedin kit
สิ่งพิมพ์ (Print) (Projected Visuals : Stacie)
ทัศนะวัสดุฉาย : ไม่เคลื่อนไหว
Text book
Film
Television
Programmed text
8 mm
8 mm
Super 8 mm   1/2 inch
16 mm           3/4 inch
35 III               1 inch
เกมส์ (Games)
ของจริง (Realia)
board games
Models
Simulation games
Manipulative
Puzzles
Specimens
ที่มา :
Barbara Seels and Zita Glasgow , Exercises in Instructional Design (Columbus, Ohio : Merrill Publishing company, 1990).p.182.

          กฎในการเลือกสื่อ
          การเลือกสื่อมีกฎอยู่ 6 ข้อ หรือเรียกว่าหลักการทั่วไปในการพิจารณาก่อนที่จะตัดสินใจอย่างไม่เป็น ทางการในการเลือกสื่อ
          กฎที่ 1 การเรียนการสอนโดยทั่วไปแล้วต้องการสือสองทาง (two way Imedium) นักเรียนจะ เรียน ได้ดีที่สุดเมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับวัตถุ สื่อการเรียนการสอน ครู สมุดทํางาน หรือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ช่วยสอน
          กฎที่ 2 สื่อทางเดียว (one-way media) ควรจะได้รับการสนับสนุน โดยสือที่ให้ข้อมูลป้อนกลับ ตัวอย่างคือ ภาพยนตร์ หรือวีดิทัศน์ จะให้ประสิทธิผลมากกว่า เมื่อมีคู่มือการใช้ควบคู่ไปด้วย หรือมีแบบฝึก ปฏิบัติควบคู่ไปด้วย หรือมีครู ซึ่งสามารถที่จะถามคําถามและตอบคําถามได้
          กฎที่ 3 การเรียนรู้ของแต่ละบุคคล ต้องการสื่อที่มีความยืดหยุ่น ตัวอย่างคือ ผู้ที่เรียนเช้าอาจจะ ต้องการสื่อการเรียนที่แตกแขนงออกไปเป็นพิเศษ เช่นการฝึกเสริม (remedial exercises) ตัวอย่างเสริมเป็น พิเศษ สื่อภาพยนตร์ ควรจะส่งเสริมโดยการเยียวยาแก้ไขหรือมีกิจกรรมที่เหมาะสมกับความต้องการของแต่ ละบุคคล โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสามารถที่จะสนองตอบได้อย่างดีเลิศในความยืดหยุ่นที่มีต่อปัจจัย บุคคล
          กฎที่ 4 การนําเสนอโลกแห่งความเป็นจริง ต้องการสื่อทางทัศนวัสดุ ตัวอย่างนักเรียนพยาบาล เรียนรู้วิธีการตัดไหม จําเป็นต้องเห็นการสาธิต (ภาพยนตร์ วีดิทัศน์ การสาธิตของจริง) มากกว่าที่จะเขียน ออกมาเป็นรายการของวิธีการตัดไหม
          กฎที่ 5 พฤติกรรมที่คาดหวังหลังจากการเรียนการสอน ควรจะให้มีการฝึกปฏิบัติในระหว่างที่มี การเรียนการสอน การได้ยิน หรือการได้เห็นทักษะที่แสดงออกมาไม่เป็นการเพียงพอ ตัวอย่าง ผู้ปฏิบัติ จําเป็นต้องทําการตัดไหมตามที่เห็นในวีดิทัศน์ ไม่ว่าจะเป็นการตัดไหมเทียมๆหรือตัดไหมจริงๆ
          กฎที่ 6 เหตุการณ์แต่ละเหตุการณ์ของบทเรียนอื่นๆ อาจต้องการการเลือกสื่อที่มีความแตกต่าง กัน ตัวอย่าง ทฤษฎีที่อยู่บนหลักการของวิธีการทําหมัน อาจจะต้องการวัสดุอุปกรณ์ที่เป็นสิ่งพิมพ เน วิธีการตัดไหม อาจจะต้องการสาธิตที่มีความเป็นจริงมากกว่า (วีดิทัศน์ ภาพยนตร์ ฯลฯ)
          ปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อการเลือกสื่อ
          ได้มีการเรียนรู้กฎซึ่งจําเป็นในการพิจารณา เมื่อมีการเลือกสื่อการเรียนการสอนเป็นความจําที่มอง หาปัจจัยอื่นๆ ซึ่งจะส่งผลต่อการเลือกสื่อ

          ตารางที่ 19 เทคโนโลยีใหม่
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….....
Telecommunication-based
Teleconferencing
Telelectures
Microprocessor-based
Computer-assisted instruction
Computer Games
Expert Tutoring Systems
Hypermedia
Interactive Video
Computer-managed Instruction
Compact Disc
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
          ตารางที่ 20 ข้อควรพิจารณาในการเลือกสื่อ
ปัจจัย
ตัวอย่าง
1. สิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้
บ้าน ที่ทํางานชั้นเรียน ม้านั่ง
2. ประสิทธิผลในการลงทุน
ราคาต่อห้อง และราคาในการดําเนินงาน
3. แหล่งวัสดุอุปกรณ์ที่มีประโยชน์เพียงพอ การพัฒนาภาพยนตร์ สตูดิโอ การพิมพ์
วัสดุอุปกรณ์ที่มีความเหมาะสม มีระเบียบเรียบร้อย
4. ความสะดวกในการใช้ตําแหน่งที่ตั้งเวลาที่มี สําหรับการเตรียมตัว
เช่นใช้มากน้อยเท่าไร บ่อยเท่าไร ขนาดของกลุ่ม
5. สิ่งที่ไม่จําเป็น (Non-essentials)
สีมีความจําเป็นหรือไม่ ตําราเพียงพอ หรือ สไลด์ที่จะใช้ ในการนําเสนอเพียงพอหรือไม่
6. ทรัพยากรมนุษย์หาได้ง่ายหรือไม่
ผู้ชํานาญการพิเศษด้านวิธีการผลิตสื่อหาได้ง่ายหรือไม่
7. นโยบาย
นโยบาย เจตคติต่อต้านการเปลี่ยนแปลงข้อขัดแย้งต่างๆ


ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม