การประเมินเพื่อปรับปรุงการสอน
การประเมินเพื่อปรับปรุงการสอน
การประเมินการเรียนรู้
จะต้องให้ข้อมูลย้อนกลับว่าการจัดการเรียนรู้บรรลุพันธกิจหรือไม่
มีความจำเป็นจะต้องมีการปรับเปลี่ยนอะไรบ้าง
เพื่อการบรรลุเป้าหมายของโปรแกรมการศึกษา
การประเมินเพื่อพัฒนาประสิทธิผลในการจัดการเรียนรู้
Ghaye,
T (1995) เสนอแนวคิดการปรับปรุงคุณภาพการศึกษาในโรงเรียน
จะต้องพิจารณาคำถาม5 ข้อ คือ
1. คำถามเกี่ยวกับเวลา
การปรับปรุงควรจะเกิดขึ้นเมื่อไร
ผลของการปรับปรุงควรจะได้ผลอย่างชัดเจนเมื่อไร
2. คำถามเกี่ยวกับขนาดของาน
ขอบเขตการปรับปรุงควรมีขนาดเท่าไร
เพียงใด
ผู้เกี่ยวข้องมีกี่คน
จะต้องใช้ทรัพยากรอะไรบ้าง
3. คําถามเกี่ยวกับความไม่แน่นอน
จะแน่ใจได้อย่างไรว่าสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่
ไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อม การปฏิบัติแรงจูงใจ หรือ ทิศทางใหม่เป็นการปรับปรุงจริง ๆ
จะตรวจสอบจากหลักฐานใดว่ามีการปรับปรุงเกิดขึ้นแล้ว
มีความเข้าใจในความเกี่ยวโยงกันระหว่างสิ่งที่รู้สึกว่าพัฒนาแล้วกับการพัฒนาที่ชัดเจน
เมื่อมองในแง่ของคุณภาพการศึกษาในโรงเรียน
การพัฒนาที่เกิดขึ้นนั้นเป็นจริง
4. คําถามเกี่ยวกับการเมืองในโรงเรียน
การเมืองในโรงเรียนมีความสําคัญต่อความพยายามในการปรับปรุง
เนื่องจากการปรับปรุงมี แนวคิดพื้นฐานมาจากค่านิยมและเป็นกระบวนการที่มีระบบ บุคคลในองค์กรจะมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน
ต้องการที่จะปฏิบัติตามแนวคิดของตน
การเข้าใจการเมืองที่อยู่เบื้องหลังความพยายามในการปรับปรุงยอมรับว่าในโรงเรียนย่อมมีการช่วงชิงกันระหว่างกลุ่มผลประโยชน์
การทบทวนจะทําให้เกิดคําถาม การเมือง เพราะการปรับปรงเกี่ยวกับ “ผลประโยชน์” “อํานาจ” และการแก้ปัญหาเรื่อง
ความขัดแย้ง เมื่อมีการปรับปรุง คําถามคือ ใครจะได้ผลประโยชน์อะไร ที่ไหน อย่างไร
เมื่อไร และเพราะเหตุใด
5. คําถามเกี่ยวกับการลงลึกในการปฏิบัติการ
ถ้าการปรับปรุงมีจุดอ่อนและมีแรงกดดันจากภายนอก
การปรับปรุงก็จะมีลักษณะฉาบฉวย นทาให้ละเลยสิ่งที่เป็นรากฐานที่ควรให้ความสนใจ
สิ่งสําคัญจะต้องทําความเข้าใจว่า การปรับปรุงโรงเรียน
การปฏิรูปในโรงเรียนแตกต่างกัน
โดยที่การปฏิรูปมีผลลึกซึ้งและเป็นการปรับปรุงคุณภาพการศึกษาที่มีผลกระทบต่อทุกคนในองค์กรณ์
การเปลี่ยนแปลงอย่างลึกซึ้งนี้
มักจะเกิดจากการปรับปรุงโครงสร้างและอิทธิพลทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน
การเย้นมี่พัฒนาภายในมากเกินไปจะไม่ไปสู่การปฎิรูปโรงเรียน
การปรับปรุงในวงที่กว้างออกไป
การปะเมินที่ประสบความสำเร็จจะต้องมีความชัดเจนของจุดมุ่งหมาย
จุดมุ่งหมายในการเรียนรู้เป็นข้อความเกี่ยวกับการศึกษาที่แสดงถึงความมุ่งมั่นเจตนาที่ตั้งใจให้เกิดขึ้น
เช่น ความสามารถในการแก้ปัญหาทักษะความคิดที่มีจิตวิญญาณ
ทักษะด้านการสร้างสรรค์และ นวัตกรรมเป็นต้น
รูปแบบการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามแนวคิด Outcome Driven Model
ตรวจสอบความเข้าใจ
และการสรุปความรู้ ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการจัดการเรียนรู้
ใช้แนวทางประเมินการเรียนรู้ ตามแนวคิด Outcome Driven Model
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น