การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา เป็นระบบที่สถานศึกษาร่วมกับชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภายใต้การกำกับ
ดูแลและสนับสนุนส่งเสริมของหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อสร้างความมั่นใจที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักวิชา ข้อมูลหลักฐาน
ที่ตรวจสอบได้ และการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องว่า
ผู้เรียนทุกคนจะได้รับบริการด้านการศึกษาที่มีคุณภาพจากสถานศึกษา
เพื่อพัฒนาความรู้
ความสามารถและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามที่กำหนดในมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช ๒๕๔๔ และมาตรฐานการศึกษาและตัวบ่งชี้
เพื่อการประเมินคุณภาพภายนอก ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน รอบที่สอง (พ.ศ.๒๕๔๙-๒๕๕๓)
ระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา (Internal
Quality Assurance System)
สถานศึกษาจะต้องจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องว่า
ผู้เรียนทุกคนจะได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพจากสถานศึกษา เพื่อพัฒนาความรู้
ความสามารถและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตามมาตรฐานการศึกษาและตัวบ่งชี้
เพื่อการประเมินคุณภาพภายนอก ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน รอบที่สอง (พ.ศ.๒๕๔๙-๒๕๕๓)
ที่กำหนดในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๔๔ ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารการศึกษา
ซึ่งเป็นกระบวนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง โดยให้สถานศึกษายึดหลักการมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยการส่งเสริม
สนับสนุนและกำกับ ดูแลของหน่วยงานต้นสังกัด ประกอบด้วย
1) การจัดระบบบริหารและสารสนเทศ ด้วยการทำจัดโครงสร้างการบริหารจัดการให้เอื้อต่อการดำเนินงาน ทุกคนมีส่วนร่วมและมีการประชาสัมพันธ์กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อกำหนดแนวทางให้ความเห็นและข้อเสนอแนะและแต่งตั้งคณะบุคคลทำการตรวจสอบ ทบทวนและรายงานคุณภาพการศึกษา และจัดให้มีข้อมูลที่เพียงพอในการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อนำมากำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจและแผนพัฒนา
2) การพัฒนามาตรฐานการศึกษา โดยมุ่งเน้นมาตรฐาน ผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่สอดคล้องกับมาตรฐานช่วงชั้นที่หลักสูตรกำหนด
3) การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ด้วยการจัดทำแผนอย่างเป็นระบบพื้นฐานของข้อมูลสถานศึกษา ซึ่งประกอบด้วย เป้าหมาย ยุทธศาสตร์ และแนวปฏิบัติที่ชัดเจน สมบูรณ์ คลอบคลุมการพัฒนาทุกกิจกรรมที่เป็นส่วนประกอบหลักของการจัดการศึกษาและเป็นที่ยอมรับร่วมกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายของแต่ละกิจกรรมที่กำหนดอย่างสอดรับกับวิสัยทัศน์และมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
4) การดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยการกำกับ ติดตามการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องให้บรรลุเป้าหมายตจามแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาที่กำหนดไว้โดยจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีที่ชัดเจนครอบคลุมงาน/โครงการของสถานศึกษา
5) การตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษา จะประกอบด้วยการตรวจสอบและทบทวนภายในโดยบุคลากรในสถานศึกษาดำเนินการและการตรวจสอบและทบทวนจากหน่วยงานต้นสังกัด
6) การประเมินคุณภาพการศึกษา โดยมุ่งเน้นการประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนในระดับชั้นที่เป็นตัวประโยค ได้แก่ประถมศึกษาปีที่ 3 และ 6 มัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 6 ในวิชาแกนร่วมโดยใช้แบบทดสอบมาตรฐาน จากหน่วยงานส่วนกลางร่วมกับต้นสังกัด (เขตพื้นที่) ดำเนินการ
7) การรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปี เป็นการนำข้อมูลผลการประเมินมาตรฐานคุณภาพ การตรวจสอบและทบทวนภายในและภายนอกมใประมวลรายงานผลการพัฒนาคุณภาพประจำปีการศึกษาซึ่งจะนำไปใช้เป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนพัฒนาคุณภาพต่อไป
8) การผดุงระบบการประกันคุณภาพการศึกษา เป็นกลไกส่วนหนึ่งของระบบประกันคุณภาพภายใน เพื่อให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อการส่งเสริม พัฒนาและประเมินประสิทธิภาพการดำเนินงานของระบบประกันคุณภาพ
1) การจัดระบบบริหารและสารสนเทศ ด้วยการทำจัดโครงสร้างการบริหารจัดการให้เอื้อต่อการดำเนินงาน ทุกคนมีส่วนร่วมและมีการประชาสัมพันธ์กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อกำหนดแนวทางให้ความเห็นและข้อเสนอแนะและแต่งตั้งคณะบุคคลทำการตรวจสอบ ทบทวนและรายงานคุณภาพการศึกษา และจัดให้มีข้อมูลที่เพียงพอในการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อนำมากำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจและแผนพัฒนา
2) การพัฒนามาตรฐานการศึกษา โดยมุ่งเน้นมาตรฐาน ผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่สอดคล้องกับมาตรฐานช่วงชั้นที่หลักสูตรกำหนด
3) การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ด้วยการจัดทำแผนอย่างเป็นระบบพื้นฐานของข้อมูลสถานศึกษา ซึ่งประกอบด้วย เป้าหมาย ยุทธศาสตร์ และแนวปฏิบัติที่ชัดเจน สมบูรณ์ คลอบคลุมการพัฒนาทุกกิจกรรมที่เป็นส่วนประกอบหลักของการจัดการศึกษาและเป็นที่ยอมรับร่วมกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายของแต่ละกิจกรรมที่กำหนดอย่างสอดรับกับวิสัยทัศน์และมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
4) การดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยการกำกับ ติดตามการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องให้บรรลุเป้าหมายตจามแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาที่กำหนดไว้โดยจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีที่ชัดเจนครอบคลุมงาน/โครงการของสถานศึกษา
5) การตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษา จะประกอบด้วยการตรวจสอบและทบทวนภายในโดยบุคลากรในสถานศึกษาดำเนินการและการตรวจสอบและทบทวนจากหน่วยงานต้นสังกัด
6) การประเมินคุณภาพการศึกษา โดยมุ่งเน้นการประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนในระดับชั้นที่เป็นตัวประโยค ได้แก่ประถมศึกษาปีที่ 3 และ 6 มัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 6 ในวิชาแกนร่วมโดยใช้แบบทดสอบมาตรฐาน จากหน่วยงานส่วนกลางร่วมกับต้นสังกัด (เขตพื้นที่) ดำเนินการ
7) การรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปี เป็นการนำข้อมูลผลการประเมินมาตรฐานคุณภาพ การตรวจสอบและทบทวนภายในและภายนอกมใประมวลรายงานผลการพัฒนาคุณภาพประจำปีการศึกษาซึ่งจะนำไปใช้เป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนพัฒนาคุณภาพต่อไป
8) การผดุงระบบการประกันคุณภาพการศึกษา เป็นกลไกส่วนหนึ่งของระบบประกันคุณภาพภายใน เพื่อให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อการส่งเสริม พัฒนาและประเมินประสิทธิภาพการดำเนินงานของระบบประกันคุณภาพ
หลักเกณฑ์
และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
1) สถานศึกษาจะต้องจัดทำโครงสร้างการบริหารที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามระบบกระกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
2) สถานศึกษาจะต้องแต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาให้มีอำนาจและหน้าที่ ดังนี้
2.1 กำหนดแนวทางและวิธีดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
2.2 กำกับ ติดตาม และให้ความเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวข้องกับการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
2.3 เสนอสถานศึกษาแต่งตั้งคณะบุคคลทำหน้าที่ตรวจสอบ ทบทวนและรายงานคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
2) สถานศึกษาจะต้องแต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาให้มีอำนาจและหน้าที่ ดังนี้
2.1 กำหนดแนวทางและวิธีดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
2.2 กำกับ ติดตาม และให้ความเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวข้องกับการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
2.3 เสนอสถานศึกษาแต่งตั้งคณะบุคคลทำหน้าที่ตรวจสอบ ทบทวนและรายงานคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
3) สถานศึกษาจะต้องจัดระบบสารสนเทศที่มาข้อมูลอย่างเพียงพอต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
4) สถานศึกษาจะต้องกำหนดมาตรฐานการศึกษาระดับสถานศึกษาที่ครอบคลุมสาระการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับสภาพผู้เรียน สถานศึกษา ท้องถิ่นและสอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
5) สถานศึกษาจะต้องจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษาโดยคำนึงถึงหลักการและครอบคลุมในเรื่อง ต่อไปนี้
5.1 เป็นแผนยุทธศาสตร์ที่ใช้ข้อมูลจากการวิเคราะห์สภาพปัญหาและความจำเป็นอย่างเป็นระบบและมีแผนปฏิบัติการประจำปีรองรับ
5.2 กำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมาย และสภาพความสำเร็จของการพัฒนาไว้อย่างต่อเนื่อง ชัดเจน และเป็นรูปธรรม
5.3 กำหนดวิธีดำเนินงานที่มีหลักวิชาหรือผลการวิจัย หรือข้อมูลเชิงประจักษ์ที่อ้างถึงให้ครอบคลุมการพัฒนาด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ การส่งเสริมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล การพัฒนาบุคลากรและการบริหารจัดการ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้
5.4 กำหนดแหล่งวิทยาการภายนอกที่ให้การสนับสนุนทางวิชาการ
5.5 กำหนดบทบาทหน้าที่ให้บุคลากรของสถานศึกษาทุกคนรวมทั้งผูเรียน รับผิดชอบ และดำเนินงานตามที่กำหนดไว้อย่างอย่างมีประสิทธิภาพ
5.6 กำหนดบทบาทหน้าที่ และแนวทางให้บิดา มารดา ผู้ปกครองและบุคลากรในชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน
5.7 กำหนดการจัดงบประมาณและการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
6) สถานศึกษาจะต้องดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา รวมทั้งมีการกำกับ ติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องและบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
7) ให้คณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาดำเนินการตรวจสอบ ทบทวนและรายงานการดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา สำหรับในการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาให้ใช้วิธีการที่หลากหลายและเหมาะสม (การสังเกตพฤติกรรม และกระบวนการทำงาน กระบวนการจัดการเรียนการสอน การสอบถาม การสัมภาษณ์ การพิจารณาหลักฐาน ร่องรอยการปฏิบัติงาน ตัวอย่างผลงาน และแฟ้มสะสมงาน แบบสำรวจ แบบสอบถาม แบบทดสอบและแบบวัดมาตรฐาน) การตรวจสอบและทบทวนคูณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา จะต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบ ต่อเนื่องเพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุง แก้ไข เปลี่ยนแปลงและพัฒนาคุณภาพการศึกษา
8) สถานศึกษาจะต้องจัดให้ผู้เรียนทุกคนในทุกระดับช่วงชั้นที่หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด ได้รับการประเมินผลสัมฤทธิ์ในวิชาแกนหลัก และคุณลักษณะที่สำคัญด้วยเครื่องมือมาตรฐาน
9) สถานศึกษาจะต้องจัดทำรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปี โดยระบุความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดในแบบพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาพร้อมหลักฐานข้อมูลและผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ ตามข้อ (8) เสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน
10) หน่วยงานต้นสังกัดและหน่วยงานต้นสังกัดระดับจังหวัด ส่งเสริม สนับสนุนและร่วมดำเนินงานตามระบบการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาดังนี้
10.1 จัดระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพ
10.2 จัดให้มีการกำหนดสาระการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ในวิชาแกนหลักของสถานศึกษาร่วมกันเป็นรายปี/รายภาค
10.3 จัดให้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ในวิชาแกนหลัก และคุณลักษณะที่สำคัญด้วยเครื่องมือมาตรฐาน
11) หน่วยงานต้นสังกัดระดับจังหวัด ดำเนินการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพสถานศึกษาอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกสามปี และรายงานผลให้สถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัดทราบ ทั้งนี้การตรวจสอบและทบทวนให้เป็นไปตามข้อ (7) โดยอนุโลม
12) หน่วยงานต้นสังกัดศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และเผยแพร่นวัตกรรมเกี่ยวกับรูปแบบและเทคนิควิธีการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งกำกับ สนับสนุน ส่งเสริม ติดตาม ประเมินผลและผดุงประสิทธิภาพของระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาด้วย
4) สถานศึกษาจะต้องกำหนดมาตรฐานการศึกษาระดับสถานศึกษาที่ครอบคลุมสาระการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับสภาพผู้เรียน สถานศึกษา ท้องถิ่นและสอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
5) สถานศึกษาจะต้องจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษาโดยคำนึงถึงหลักการและครอบคลุมในเรื่อง ต่อไปนี้
5.1 เป็นแผนยุทธศาสตร์ที่ใช้ข้อมูลจากการวิเคราะห์สภาพปัญหาและความจำเป็นอย่างเป็นระบบและมีแผนปฏิบัติการประจำปีรองรับ
5.2 กำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมาย และสภาพความสำเร็จของการพัฒนาไว้อย่างต่อเนื่อง ชัดเจน และเป็นรูปธรรม
5.3 กำหนดวิธีดำเนินงานที่มีหลักวิชาหรือผลการวิจัย หรือข้อมูลเชิงประจักษ์ที่อ้างถึงให้ครอบคลุมการพัฒนาด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ การส่งเสริมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล การพัฒนาบุคลากรและการบริหารจัดการ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้
5.4 กำหนดแหล่งวิทยาการภายนอกที่ให้การสนับสนุนทางวิชาการ
5.5 กำหนดบทบาทหน้าที่ให้บุคลากรของสถานศึกษาทุกคนรวมทั้งผูเรียน รับผิดชอบ และดำเนินงานตามที่กำหนดไว้อย่างอย่างมีประสิทธิภาพ
5.6 กำหนดบทบาทหน้าที่ และแนวทางให้บิดา มารดา ผู้ปกครองและบุคลากรในชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน
5.7 กำหนดการจัดงบประมาณและการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
6) สถานศึกษาจะต้องดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา รวมทั้งมีการกำกับ ติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องและบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
7) ให้คณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาดำเนินการตรวจสอบ ทบทวนและรายงานการดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา สำหรับในการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาให้ใช้วิธีการที่หลากหลายและเหมาะสม (การสังเกตพฤติกรรม และกระบวนการทำงาน กระบวนการจัดการเรียนการสอน การสอบถาม การสัมภาษณ์ การพิจารณาหลักฐาน ร่องรอยการปฏิบัติงาน ตัวอย่างผลงาน และแฟ้มสะสมงาน แบบสำรวจ แบบสอบถาม แบบทดสอบและแบบวัดมาตรฐาน) การตรวจสอบและทบทวนคูณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา จะต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบ ต่อเนื่องเพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุง แก้ไข เปลี่ยนแปลงและพัฒนาคุณภาพการศึกษา
8) สถานศึกษาจะต้องจัดให้ผู้เรียนทุกคนในทุกระดับช่วงชั้นที่หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด ได้รับการประเมินผลสัมฤทธิ์ในวิชาแกนหลัก และคุณลักษณะที่สำคัญด้วยเครื่องมือมาตรฐาน
9) สถานศึกษาจะต้องจัดทำรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปี โดยระบุความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดในแบบพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาพร้อมหลักฐานข้อมูลและผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ ตามข้อ (8) เสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน
10) หน่วยงานต้นสังกัดและหน่วยงานต้นสังกัดระดับจังหวัด ส่งเสริม สนับสนุนและร่วมดำเนินงานตามระบบการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาดังนี้
10.1 จัดระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพ
10.2 จัดให้มีการกำหนดสาระการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ในวิชาแกนหลักของสถานศึกษาร่วมกันเป็นรายปี/รายภาค
10.3 จัดให้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ในวิชาแกนหลัก และคุณลักษณะที่สำคัญด้วยเครื่องมือมาตรฐาน
11) หน่วยงานต้นสังกัดระดับจังหวัด ดำเนินการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพสถานศึกษาอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกสามปี และรายงานผลให้สถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัดทราบ ทั้งนี้การตรวจสอบและทบทวนให้เป็นไปตามข้อ (7) โดยอนุโลม
12) หน่วยงานต้นสังกัดศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และเผยแพร่นวัตกรรมเกี่ยวกับรูปแบบและเทคนิควิธีการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งกำกับ สนับสนุน ส่งเสริม ติดตาม ประเมินผลและผดุงประสิทธิภาพของระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาด้วย
ขั้นตอนการประกันคุณภาพการศึกษา
การควบคุมคุณภาพ (Quality Control)
1. ศึกษาและเตรียมการ
· ตั้งคณะทำงานประกัน
· ให้ความรู้แก่บุคลากรทุกมนุษย์
· ตั้งคระทำงานฝ่ายต่าง ๆ
2. วางแผนการประกันคุณภาพการศึกษา
· กำหนดมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
· สร้างเครื่องมือประเมินคุณภาพตามมาตรฐาน
· จัดทำสารสนเทศสภาพปัจจุบัน (ข้อมูลพื้นฐาน)
· จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีตามแผนยุทธศาสตร์ในธรรมนูญสถานศึกษา
· จัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงานต่าง ๆ ของสถานศึกษา
· ประเมินสภาพปัจจุบันของสถานศึกษาตามมาตรฐาน
· จัดทำธรรมนูญสถานศึกษาหรือแผนพัฒนาสถานศึกษา
3. ดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาตามแผน
· ปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของสถานศึกษา
และตามแผนปฏิบัติการของสถานศึกษา
· นิเทศ กำกับ ติดตามผลการดำเนินงานตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
การตรวจสอบ ทบทวน และปรับปรุงคุณภาพ (Quality Audit)
4. ตรวจสอบ
และทบทวนคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
· แต่งตั้งกรรมการตรวจสอบ
· กำหนดระยะเวลาและแนวทางการตรวจสอบ
· ประเมินสภาพของสถานศึกษาตามมาตรฐานของสถานศึกษาครั้งที่ 2 หลังจากปฏิบัติงานไปได้ระยะเวลาหนึ่ง
· จัดทำสารสนเทศแสดงผลการปฏิบัติงานตามตัวชี้วัดและเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
5. พัฒนาและปรับปรุงคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
· ปรับปรุง
แก้ไขการปฏิบัติงานที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
· ติดตาม ตรวจสอบการแก้ไข ปรับปรุงการปฏิบัติงานที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานของสถานศึกษา
· สรุปผลการตรวจสอบ
จัดทำสารสนเทศ(ข้อมูลพื้นฐาน) ครั้งที่ 2 และรายงานการตรวจสอบการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
· พัฒนาการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
การประเมิน (Quality Assessment)และรับรองคุณภาพ (Quality Accreditation)
6. เตรียมการเพื่อรับการประเมินจากสำนักงานรับรองมาตรฐาน
และประเมินคุณภาพการศึกษา
· จัดเตรียมหลักฐาน และข้อมูลต่าง ๆ ตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เพื่อรับการประเมินจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
· ถ้าได้รับการรับรอง และได้ใบรับรอง
สถานศึกษารักษามาตรฐานคุณภาพให้คงไว้และรายงานผลการประเมิน
· ถ้ายังไม่ได้รับการรับรอง สถานศึกษาปรับปรุงแก้ไข และขอรับการประเมินใหม่
ตามเวลาที่กำหนด
แนวการดำเนินการตามขั้นตอนการประกันคุณภาพการศึกษา
การควบคุมคุณภาพการศึกษา (Quality Control)
1. การศึกษา
และเตรียมการ มีแนวการดำเนินการ ดังนี้
1.1 ตั้งคณะทำงาน
และพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อ …
1) ศึกษาแนวคิด รูปแบบ
และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา
2) พัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
โดยกำหนดรูปแบบที่สถานศึกษาสามารถปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3) จัดทำสื่อ เอกสาร คู่มือ
และเครื่องมือต่าง ๆ เพื่อคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
1.2 ให้การศึกษาแก่ครู
และบุคลากรที่เกี่ยวข้องเพื่อ…
1) สร้างความรู้ ความเข้าใจ
ให้เกิดความตระหนัก และเห็นความสำคัญของการประกันคุณภาพการศึกษา
เพื่อทุกมนุษย์จะได้ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงานต่าง ๆ
เพื่อคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
2) ให้ช่วยกันสร้างแนวคิดการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาและกำหนดรูปแบบการดำเนินงานที่เหมาะสมกับสถานศึกษา
1.3 ตั้งคณะกรรมการ และคณะอนุกรรม
ในการดำเนินการประเมินคุณภาพการศึกษา เพื่อ…
1) กำหนดบทบาทหน้าที่
ความรับผิดชอบงานต่าง ๆ
ที่สถานศึกษาต้องจัดทำเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
2) การสร้างทีมงานต่าง ๆ
ของสถานศึกษาให้เข้มแข็ง
3) การพัฒนาความสามารถในการปฏิบัติงานต่าง
ๆ เพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
2. การวางแผนการประกันคุณภาพการศึกษา
โดยวางแผนการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา โดย…
1.1 กำหนดมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
ที่เป็นการกำหนดจากมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
และมาตรฐานการศึกษาของหน่วยงานต้นสังกัด มีขั้นตอน ดังนี้
1) ตั้งคณะทำงานยกร่างมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
2) ประชุมพิจารณา
ความเหมาะสมของร่างมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
3) ปรับปรุง และจัดทำเป็นมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษามาให้ทุกมนุษย์ของสถานศึกษานำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาสถานศึกษา
ให้เข้าสู่มาตรฐานของสถานศึกษาต่อไป
1.2 จัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงานต่าง
ๆ ของสถานศึกษาเพื่อควบคุมให้ผู้รับผิดชอบงานคุณภาพต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐาน
และตัวชี้วัดที่กำหนดปฏิบัติงานอย่างมีคุณภาพสม่ำเสมอตลอดเวลา มีขั้นตอน ดังนี้
1) ตั้งคณะทำงานยกร่างมาตรฐานการปฏิบัติงาน
สำหรับงานต่าง ๆ ที่วิเคราะห์มาจากมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
2) จัดประชุมพิจารณาทบทวน
และรับรองมาตรฐานการปฏิบัติงานที่เขียนขึ้น
พร้อมกับปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมกับการปฏิบัติงานในสถานศึกษา
3) จัดทำเป็นมาตรฐานการปฏิบัติงานของสถานศึกษาและประกาศให้ทุกคนนำไปปฏิบัติ
1.3 สร้างเครื่องมือประเมินคุณภาพการศึกษา
ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาที่กำหนดขึ้น
เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
มาจัดทำเป็นข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา ที่จะใช้ในการหาจุดที่จะพัฒนาสถานศึกษาต่อไป
มีขั้นตอนดังนี้
1) ตั้งกรรมการสร้างเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา
ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
2) ดำเนินการสร้างเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล
ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
3) ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล
4) จัดเก็บเครื่องมือเพื่อการนำไปใช้ต่อไป
1.4 ประเมินสภาพปัจจุบัน
หรือเก็บข้อมูลสภาพปัจจุบันของสถานศึกษา
โดยใช้เครื่องมือประเมินคุณภาพการศึกษาที่สร้างขึ้นในข้อ 1.2 มีขั้นตอน ดังนี้
1) วางแผนกำหนดการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
ตลอดปีการศึกษา
2) แต่งตั้งคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
เป็นคณะเล็ก ๆ คณะละ 2-3 คน
โดยให้มีการประเมินข้ามฝ่าย เพื่อป้องกันการประเมินที่เข้าข้างฝ่ายของตน
จะได้ช่วยกันหากข้อบกพร่องของการปฏิบัติงาน ที่จะช่วยกันแก้ไข ให้งานนั้น ๆ
มีคุณภาพ และป้องกันไม่ให้ข้อบกพร่องนั้น ๆ เกิดขึ้นอีก
3) เตรียมเครื่องมือประเมิน
โดยรวบรวมเครื่องมือประเมินที่เกี่ยวกับนักเรียน หรือครู หรือ ผู้ปกครอง ฯลฯ
ให้เป็นฉบับเดียวกันสำหรับแต่ละกลุ่ม เพื่อใช้การประเมินเพียงครั้งเดียว
แล้วทำให้ได้ข้อมูลทุกมาตรฐาน และตัวชี้วัด ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มมนุษย์นั้น ๆ
อย่างครบถ้วน ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดความรำคาญแก่ผู้ให้ข้อมูล
4) ดำเนินการประเมิน
และสรุปผลการประเมินตามมาตรฐาน และตัวชี้วัด
1.5 จัดทำสารสนเทศ
หรือข้อมูลพื้นฐานสภาพปัจจุบันของสถานศึกษา
โดยนำผลการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
มาจัดทำข้อมูลพื้นฐานแสดงผลการปฏิบัติงานของสถานศึกษา โดยจัดกลุ่มของข้อมูล
ตามมาตรฐานและตัวชี้วัด คุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
1.6 จัดทำแผนกลยุทธ์ของสถานศึกษา
หรือแผนพัฒนาสถานศึกษา มีขั้นตอน ดังนี้
1) ตั้งคณะทำงานร่างแผนกลยุทธ์หรือแผนพัฒนาสถานศึกษา
2) สำรวจความต้องการของผู้ปกครอง
ชุมชน สังคม ตรวจสอบนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเจตพื้นที่การศึกษานนทบุรีเขต 2 สภาพขีดความสามารถของสถานศึกษา
และผลการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาสำหรับมาตรฐาน
และตัวชี้วัดคุณภาพที่ยังต้องปรับปรุง มาเป็นข้อมูลหนึ่งในการจัดทำแผนพัฒนาสถานศึกษา
จัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปี ตามแผนกลยุทธ์ของสถานศึกษา
3) ร่างแผนกลยุทธ์สถานศึกษาระยะ 3 ปี
4) ประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พิจารณาให้ข้อเสนอแนะ
5) ปรับปรุงร่างแผนกลยุทธ์
สถานศึกษา
6) ส่งให้ผู้เกี่ยวข้องให้ความเห็นชอบและลงนาม
7) ประกาศใช้เป็นแผนพัฒนาสถานศึกษาต่อไป
1.7 จัดทำแผนปฏิบัติราชการตามแผนกลยุทธ์ของสถานศึกษา
โดยการนำกลยุทธ์และกิจกรรมในแต่ละปีการศึกษา ที่กำหนดไว้ในกลยุทธ์สถานศึกษา
ไปวางแผนการปฏิบัติราชการประจำปี ซึ่งอาจจะมีขั้นตอนการดำเนินงาน ต่อไปนี้
1) ตั้งคณะทำงาน
ยกร่างกำหนดกรอบแผนงาน โครงการของสถานศึกษา
2) ประชุมพิจารณากรอบแผนงาน
โครงการ และงบประมาณ
3) ให้ทุกฝ่าย/กลุ่มสาระการเรียนรู้/งาน
ร่วมกันวางแผนปฏิบัติการของตน
4) ประชุมชี้แจง
พิจารณาร่างแผนปฏิบัติราชการ
5) ปรับปรุง และจัดทำแผนปฏิบัติราชการการที่สมบูรณ์
6) ขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
7) จัดทำเป็นแผนปฏิบัติราชการประจำปีของสถานศึกษา
3. การดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา มีขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้
3.1 ทบทวนการประกันคุณภาพการศึกษา
โดยทบทวนงานต่าง ๆ ที่สถานศึกษาได้ทำการวางแผนไว้ให้ทุกคนเข้าใจ และนำไปปฏิบัติ
3.2 ปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของสถานศึกษา
และตามแผนปฏิบัติราชการของสถานศึกษาโดยดำเนินการ ดังนี้
1) ให้ผู้เกี่ยวข้องและผู้รับผิดชอบปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของสถานศึกษาที่รับผิดชอบ
และปฏิบัติงานตามแผน/โครงการ ที่รับผิดชอบให้เต็มความสามารถ
พร้อมเก็บรวบรวมหลักฐานการปฏิบัติงานไว้อย่างเป็นระบบ ที่ค้นหาง่าย รวดเร็ว
2) ติดตามการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงาน และติดตามการทำงานตามโครงการที่ได้รับมอบหมาย
3) แก้ไข
ปรับปรุงข้อบกพร่องที่พบจากการติดตามการปฏิบัติงาน
3.3 นิเทศ กำกับ
ติดตามผลการดำเนินงานตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
ระหว่างที่ทุกฝ่ายของสถานศึกษาได้ดำเนินงานไป ขณะเดียวกัน
ก็ช่วยกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้สำเร็จลุล่วงไป
เพื่อให้คุณภาพของสถานศึกษาเข้าสู่มาตรฐานที่กำหนดไว้เร็วขึ้น
การตรวจสอบ ทบทวน และปรับปรุงคุณภาพ
4. การตรวจสอบ และทบทวนคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
โดยดำเนินการ ดังนี้
4.1 แต่งตั้งคณะกรรมกมาตรวจสอบคุณภาพการศึกษาของถานศึกษา
4.2 กำหนดระยะเวลา
และแนวทางการตรวจสอบ หรือวางแผนการตรวจสอบ ซึ่งการตรวจสอบ
และทบทวนคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา สถานศึกษาควรทำการตรวจสอบ
ทั้งการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงาน และตรวจสอบคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษา (มาตรฐานและตัวชี้วัด) ของสถานศึกษาด้วย
4.3 ดำเนินการตรวจสอบตามแผนที่วางไว้
สำหรับการประเมินสภาพของสาถนสึกษาตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของสาถานศึกษาครั้งที่ 2 หลังจากได้ปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของสถานศึกษา
ไปได้ระยะเวลาหนึ่ง โดยนำเครื่องมือประเมินคุณภาพการศึกษาที่สร้างขึ้นมาแล้วในข้อ 1.3 ของขั้นตอนที่ 2 (การวางแผนฯ) และทำการประเมินคุณภาพการศึกษา ดังข้อ 1.4 และจัดทำสารสนเทศหรือข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษาครั้งที่ 2 ตามข้อ 1.5 ของขั้นตอนที่ 2 (การวางแผนฯ) ทั้งนี้เพื่อตรวจสอบความก้าวหน้าของตัวชี้วัด
และมาตรฐานคุณภาพการศึกษา ที่บกพร่องที่พบจากการประเมินครั้งที่ 1 และเพื่อตรวจสอบ
และแก้ไขสิ่งที่ยังไม่เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาต่อไป
5. การพัฒนาและการปรับปรุงคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา โดย…
5.1 ปรับปรุง
แก้ไขการปฏิบัติงานที่พบว่าไม่เป็นไปตามมาตรฐานการปฏิบัติงาน
และมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
5.2 ติดตาม
ตรวจสอบแก้ไขปรับปรุงการปฏิบัติงานที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานการปฏิบัติงานและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
ตามระยะเวลาที่เหมาะสมที่ผู้ปฏิบัติได้กำหนดไว้ว่าจะแก้ไขเสร็จ ทั้งนี้
เพื่อให้แน่ใจว่า ข้อบกพร่องที่พบ ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง
5.3 สรุปผลการตรวจสอบ
และรายงานผลการตรวจสอบการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาโดยการจัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง (SAR)
5.4 สำหรับงานที่มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้
ให้พัฒนาการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพดี ยิ่ง
ๆ ขึ้นต่อไป
การประเมินและรับรองคุณภาพ
6. การเตรียมการเพื่อรับการประเมินจากสำนักงานรับรองมาตรฐาน
และประเมินคุณภาพการศึกษา โดยดำเนินการ ดังนี้
6.1 ผู้เกี่ยวข้องจัดเตรียมหลักฐานการปฏิบัติงาน
และข้อมูลต่าง ๆ ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน
และรายงานการประเมินตนเองไว้ล่วงหน้าให้พร้อม เพื่อรับการประเมินจากองค์กรภายนอก
ที่เป็นผู้แทนสำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษา
ตามกำหนดระยะเวลาที่องค์กรภายนอกจะมาประเมินคุณภาพของสถานศึกษา
6.2 รับการประเมินจากองค์กรภายนอก
โดยองค์กรภายนอก
จะทำการประเมินคุณภาพของสถานศึกษาตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้ง 14 มาตรฐาน
ซึ่งเมื่อองค์กรภายนอกจึงส่งรายงานข้อเท็จริงดังกล่าวให้กับสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
6.3 ถ้าสำนักงานรับรองมาตรฐาน
และประเมินคุณภาพการศึกษา พิจารณารายงานข้อเท็จจริงแล้วเห็นว่า
สถานศึกษามีคุณภาพผ่านเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครบถ้วนทั้ง 14 มาตรฐาน ก็จะให้การรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
ซึ่งหมายความว่าสถานศึกษาได้รับการรับรองคุณภาพการศึกษาจากสำนักงานรับรองมาตรฐาน
และประเมินคุณภาพการศึกษาแล้ว ซึ่งการรับรองดังกล่าวจะมีอายุ 5 ปี คือ เมื่อครบ 5 ปี
สถานศึกษาจะต้องถูกประเมินคุณภาพาใหม่ทั้งหมด 14 มาตรฐาน อย่างไรก็ตาม ระหว่างที่สถานศึกษาได้รับใบรับรองคุณภาพการศึกษา
องค์กรภายนอกจะมาทำการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาอย่างสม่ำเสมอ ตลอดเวลา
6.4 ถ้าสถานศึกษาไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สถานศึกษาต้องปรับปรุงคุณภาพของสถานศึกษาให้ได้มาตรฐาน
ตามระยะเวลาที่คณะกรรมการประเมินกำหนดแล้วข้อรับการประเมินใหม่
แต่ถ้าถึงระยะเวลาที่กำหนดแล้วสถานศึกษายังมีการพัฒนายังไม่ถึงเกณฑ์ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
ต้องรายงานต่อคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อให้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไข
ตามมาตรา 51 ของหมวด 6 ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.
2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)
พ.ศ.2545
การประเมินภายในสถานศึกษา
การประเมินภายใน (Internal Evaluation) เป็นประบวนการประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยงานที่กระทำโดยบุคลากรในหน่วยงาน
หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง อย่างต่อเนื่อง
เพื่อให้ได้ข้อมูลมาใช้ในการปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
ซึ่งการประเมินภายในนี้ถือเป็นกระบวนการตรวจสอบการทำงานของตนเอง(Self-evaluation) สถานศึกษา ควรกำหนดให้การประเมินภายใน
เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ต้องปฏิบัติอย่างต่อเนื่องของสถานศึกษา
และถ้าโรงเรียนจัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงานแล้ว ดังนั้น
ในการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนควรดำเนินการประเมิน 2 ลักษณะ ได้แก่
1. ประเมินผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2. ประเมินการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของทุกฝ่ายในโรงเรียน
เพื่อให้โรงเรียนมีการดำเนินงานมีคุณภาพอย่างสม่ำเสมอ
วัตถุประสงค์ของการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา
1. เพื่อตรวจสอบคุณภาพ
และผลการปฏิบัติงานของโรงเรียน ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2. เพื่อนำผลการประเมินมาจัดทำข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียน
และนำมาใช้ในการตัดสินใจวางแผนพัฒนา และปรับปรุงคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน
3. เพื่อรายงานผลการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
และสาธารณชน
4. เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับการประเมินจากองค์กรภายนอก
เพื่อนำไปสู่การรับรองคุณภาพการศึกษา
คุณสมบัติของผู้ทำหน้าที่ประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาที่ดี
1. มีทักษะในการพูด การเขียน ที่สามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างชัดเจน
1. มีทักษะในการพูด การเขียน ที่สามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างชัดเจน
2. มีความรู้
ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานคุณภาพการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
3. มีความรู้เรื่องกระบวนการตรวจสอบ
และการประเมินภายในเป็นอย่างดี
4. มีความรู้
ความเข้าใจเกี่ยวกับงานที่จะทำการตรวจประเมินพอสมควร (ที่เหลืออาจจะศึกษาเพิ่มเติมอีก
ก่อนทำการตรวจประเมิน)
5. มีความเป็นกันเอง
และบุคลิกที่เป็นผู้ใหญ่พอสมควร
6. มีหลักการแน่นอน
ไม่เอนเอียงไปตามคำพูดของผู้รับการตรวจประเมิน
7. สามารถวิเคราะห์เรื่อง/เหตุการณ์ตาง ๆ อย่างมีเหตุผล
8. เข้าใจสถานการณ์ กฎ
และระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อกับโรงเรียน
9. ควรผ่านการฝึกอบรมวิธีการตรวจประเมินภายในสถานศึกษา
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตรวจประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา
การตรวจประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา จะประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา หรือไม่ ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่อไปนี้
การตรวจประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา จะประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา หรือไม่ ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่อไปนี้
1. การให้การสนับสนุนของฝ่ายบริหารของสถานศึกษา
ระหว่างที่ทำการตรวจประเมิน
2. ความพร้อมของบุคลากร
และหลักฐานต่าง ๆ เพื่อรับการตรวจ ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจประเมิน
3. ความชัดเจนของอำนาจหน้าที่
และความรับผิดชอบ รวมทั้งความเป็นอิสระของคณะผู้ตรวจประเมิน
4. ความร่วมมือของผู้รับการตรวจประเมิน
5. ความถูกต้อง
ชัดเจนของการรายงานผลการตรวจประเมิน ซึ่งต้องรายงานผลการตรวจประเมินให้ผู้บริหาร
และผู้รับการตรวจประเมินทราบ
6. การดูแลของฝ่ายบริหาร
เพื่อให้มีการแก้ไข้ข้อบกพร่อง
หรือสิ่งที่ยังไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่พบระหว่างการตรวจประเมิน
7. มีวิธีการตรวจสอบการแก้ไขข้อบกพร่องที่เหมาะสม
ลักษณะการตรวจประเมินที่ดี
1. ผู้ทำหน้าที่ตรวจประเมิน
มีความเข้าใจวัตถุประสงค์ของการตรวจประเมินที่ชัดเจนและดำเนินการตรวจประเมินอย่างต่อเนื่อง
ตามขั้นตอน
2. มีการวางแผน และเตรียมตัวที่ดี
โดยต้องทำให้ผู้รับการตรวจประเมินมีความสบายใจไม่รู้สึกเครียด วุ่นวาย และกังวล
3. ต้องมีการแจ้งกำหนดการตรวจประเมินไว้ล่วงหน้าอย่างน้อย 2 สัปดาห์ และก่อนเข้าไปตรวจประเมิน ต้องแจ้งซ้ำอีกครั้งหนึ่ง
4 ผู้ตรวจประเมิน
ต้องมีความเป็นกลาง และเป็นอิสระจากงานที่จะไปตรวจ(ไม่เป็นผู้ที่ทำงานในฝ่ายที่รับการตรวจ) มีการชี้แจงวัตถุประสงค์ของการตรวจ มีการแจ้งข้อบกพร่องที่ชัดเจน
และรับฟังคำอธิบายของผู้รับการตรวจทุกอย่าง อย่างเต็มที่ (แต่อย่าเชื่อ จนกว่าจะมีหลักฐานมาให้ดู)
5. ผู้ตรวจประเมินตองมีไหวพริบดี
ควบคุมอารมณ์ได้ดี วางตัวเหมาะสม มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐาน
และตัวบ่งชี้ที่จะตรวจอย่างชัดเจน
มารยาทของผู้ตรวจประเมิน
1. ปฏิบัติหน้าที่ตรวจประเมินอย่างบริสุทธิใจ
ไม่มีลับลมคมใน และไม่สับสน
2.ให้มีการสื่อสาร 2 ทาง ให้เกียติแก่ผู้รับการตรวจประเมิน ไม่ทำพฤติกรรมสอบสวนคดี
3. สร้างบรรยากาศเป็นกันเอง
ให้ผู้รับการตรวจประเมินสบายใจ และไม่รู้สึกว่ากำลังถูกจับผิด
4 เชื่อในคำอธิบายของผู้รับการตรวจประเมิน
แต่ต้องพิสูจน์ด้วยหลักฐาน
5. พิจารณาบรรยากาศการทำงานของผู้รับการตรวจประเมินให้รอบคอบ
ก่อนทำการตรวยประเมิน และไม่ใช้คำถามที่ทำให้เกิดความแตกแยก
6.ไม่ดูถูก ไม่หัวเราะเยาะ
และไม่พูดคำใส่ร้ายผู้รับการตรวจประเมิน
7. ตรงต่อเวลานัดหมาย
และรักษาคำพูด
การประเมินผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษา
กรดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษา ภายในสถานศึกษา มี แนวทางในการดำเนินการประเมิน 2 วิธี ได้แก่
กรดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษา ภายในสถานศึกษา มี แนวทางในการดำเนินการประเมิน 2 วิธี ได้แก่
1. การประเมินผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการศึกษา
โดยการนำผลการปฏิบัติงานพัฒนาโรงเรียนเป็นปกติ มาสรุปเขียนรายงานการประเมินตนเอง
2. การประเมินผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการศึกษา
โดยการสร้างเครื่องมือวัดสำหรับตัวบ่งชี้ทุกตัว
แล้วประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียน แล้วสรุปเขียนรายงานการประเมินตนเอง
วิธีที่ 1 การประเมินผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการศึกษา โดยการนำผลการปฏิบัติงาน
พัฒนาโรงเรียนเป็นปกติ มาสรุปเขียนรายงานการประเมินตนเอง
การประเมินผลการปฏิบัติงาน
ตามมาตรฐานการศึกษาวิธีนี้ โรงเรียนไม่ต้องสร้างเครื่องมือวัด
แต่ครูทุกคนในโรงเรียนต้องช่วยกันเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการปฏิบัติงานที่โรงเรียนมอบหมายเป็นปกติ
ให้สอดคล้องกับตัวบ่งชี้ แล้วมาสรุปรวมกันเป็นหมวดวิชา/งาน/ฝ่าย โดยให้สรุปจากความถี่มากที่สุด
สำหรับข้อมูลตัวบ่งชี้เดียวกัน แต่ได้มาจากหลายวิชา/หลายงาน
แล้วสรุปเขียนรายงาน กระบวนการดำเนินงาน อาจจะมีลักษณะ ดังนี้
1. แต่ตั้งคณะกรรมการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาภายในโรงเรียน
ซึ่งอาจจะประกอบด้วย รองผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้ากลุ่มการบริหาร หัวหน้างาน และหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้
ให้มีหน้าที่ในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เป็นผลการปฏิบัติงานของแต่ละกลุ่มการบริหาร/กลุ่มสาระการเรียนรู้/งาน ตามตัวบ่งชี้
รายงานข้อบกพร่องที่ไม่เป็นไปตามระดับคุณภาพ
ตามมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนที่ได้กำหนดไว้ ให้ผู้บริหารทราบ
เพื่อการดำเนินการแก้ไขต่อไป แล้วสรุปเขียนเป็นรายงานการประเมินตนเอง
2. แต่ละกลุ่มการบริหาร / กลุ่มสาระการเรียนรู้ / งาน
วิเคราะห์ผลการปฏิบัติงาน หรือผลการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับมาตรฐาน
และตัวบ่งชี้ของมาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
3. แต่ละกลุ่มการบริหาร /กลุ่มสาระการเรียนรู้ / งาน
ปฏิบัติงานพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามที่โรงเรียนมอบหมายอย่างเป็นปกติ (อาจจะปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของโรงเรียน
ถ้าโรงเรียนได้จัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงานไว้แล้ว
พร้อมกับเก็บข้อมูลที่เป็นผลการปฏิบัติงานเป็นปกติ แยกเป็นมาตรฐาน
และตัวบ่งชี้ที่ได้วิเคราะห์ไว้ในขั้นตอนที่ 2 โดยเก็บข้อมูลเป็นระดับคุณภาพของการจัดการศึกษา
ตามมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนที่ได้กำหนดไว้
พร้อมเก็บหลักฐานการประเมินไว้สำหรับการตรวจสอบ
4. แต่ละกลุ่มการบริหาร/ กลุ่มสาระการเรียนรู้ / งาน
เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ปฏิบัติงานในฝ่าย/หมวด/งานเดียวกันมาสรุปเป็นคุณภาพการพัฒนาโรงเรียน
โดยนำข้อมูลของผลการปฏิบัติงานที่เป็นตัวบ่งชี้เดียวกันจากผู้ปฏิบัติงาน
มาสรุปให้เป็นผลสุดท้ายสำหรับตัวบ่งชี้นั้น ๆ
โดยสรุปจากความถึงของระดับคุณภาพของตัวตัวบ่งชี้นั้น
ถ้าความถี่ของระดับคุณภาพใดมีมากที่สุดให้สรุปว่า คุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนตามตัวบ่งชี้นั้น
เป็นไปตามระดับคุณภาพที่มีความถี่มากที่สุด บางตัวบ่งชี้
อาจจะต้องสรุปรวมจากหลายหมวดเพื่อตอบตัวบ่งชี้ ซึ่งแล้วแต่ดุลพินิจของโรงเรียน
5. สรุปคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียน
จากข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้
6. แก้ไข้ข้อบกพร่องของผลการจัดการศึกษาของโรงเรียน (มาตรฐานและตัวบ่งชี้ ที่ยังมีคุณภาพไม่เป็นที่น่าพอใจ)
7. สรุปเขียนรายงานการประเมินตนเอง
วิธีที่ 2 การประเมินผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการศึกษา โดยการสร้างเครื่องมือวัด
การประเมินผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการศึกษา
วิธีนี้โรงเรียนต้องสร้างเครื่องมือวัด
คุณภาพการจัดการศึกษา
ของโรงเรียนทุกตัวบ่งชี้ แล้วนำมาประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียน
ในระยะเวลาที่ต้องการทราบผลการจัดการศึกษาของโรงเรียน วิธีนี้
โรงเรียนอาจจะต้องทำงานมาก คือ ต้องสร้างเครื่องมือประเมินทุกตัวบ่งชี้
แล้วทำการประเมินคุณภาพทุกตัวบ่งชี้ ซึ่งต้องใช้เวลา
และต้องจัดการเกี่ยวกับเครื่องมือประเมินให้เป็นระบบ เช่น
เครื่องมือประเมินที่เกี่ยวกับการประเมินคุณภาพของนักเรียน
ต้องนำมาเข้ากลุ่มรวมกันไว้หมด แล้วนำมาประเมินนักเรียน เมื่อได้ผลการประเมินแล้ว
ต้องนำคำตอบของนักเรียนมาแยกออกตามมาตรฐาน และตัวบ่งชี้ เพื่อการสรุปรายงาน
เป็นต้น กระบวนการดำเนินงาน อาจจะเป็นดังนี้
1. แต่งตั้งคณะกรรมการสร้างเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล
2. สร้างเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล
ตามมาตรฐาน และตัวบ่งชี้ทุกมาตรฐาน
3. แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาที่ประกอบด้วยบุคลากรจากทุกฝ่ายของโรงเรียน
พร้อมทั้งมอบหมายให้ทำการตรวจประเมินข้ามฝ่ายกัน
เพื่อจะได้พบข้อบกพร่องของการทำงานง่ายขึ้น
ซึ่งจะได้ช่วยกันแก้ไขข้อบกพร่องนั้นต่อไป
4. อบรม/ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ตรวจประเมินภายใน
และ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐาน
และตัวบ่งชี้คุณภาพการศึกษา และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
ตลอดจนการสรุปผลการประเมิน
5.โรงเรียนวางแผนกำหนดระยะเวลาในการประเมินคุณภาพของสถานศึกษาตลอดปี
6. กรรมการตรวจประเมินวางแผนกำหนดระยะเวลาในการทำการตรวจประเมินคุณภาพภายใน
แต่ละครั้ง แล้วแจ้งให้ผู้รับการตรวจประเมินทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 2 สัปดาห์
7. คณะกรรมการตรวจประเมินเตรียมเอกสาร
และเครื่องมือประเมินหลาย ๆ ตัวบ่งชี้เข้าด้วยกัน สำหรับการถามบุคลากรแต่ละประเภท
เช่น ควรตรวจสอบเครื่องมือประเมินที่ใช้กับนักเรียนทั้งหมด
แล้วออกแบบว่าจะจัดทำกี่ฉบับ จะจัดพิมพ์อย่างไร จะดำเนินการอย่างไร เป็นต้น
เพื่อไม่ให้เกิดความรำคาญแก่ผู้ตอบแบบสอบถาม/ผู้รับการประเมิน
ซึ่งถ้าทำการสอบถามบ่อย หรือสอบถามทุกวัน จะทำให้เกิดความรำคาญและความเบื่อหน่ายของผู้ตอบ
อันจะทำให้ได้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง
8. ดำเนินการตรวจประเมิน
โดยใช้เครื่องมือประเมินที่สร้างขึ้นและเก็บรวบรวมข้อเท็จจริงที่พบตามเครื่องมือประเมิน
9. สรุปผลการตรวจประเมิน
10. เขียนรายงานผลการประเมินตนเอง
11. ส่งรายงานให้หน่วยงานต้นสังกัด
ผู้เกี่ยวข้อง และสาธารณชน ตามความเหมาะสม
การสร้างเครื่องมือเก็บรวมรวมข้อมูล
การสร้างเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล อาจจะดำเนินการได้ดังนี้ กำหนดกรอบการตรวจประเมินคุณภาพภายในโรงเรียน เพื่อเก็บรวบรวมเป็นข้อมูลพื้นฐานตามมาตรฐาน และตัวบ่งชี้คุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยวางแผนกำหนดสิ่งต่อไปนี้ ด้านที่จะประเมิน (ผลผลิต/กระบวนการ/ปัจจัย) มาตรฐานที่จะประเมิน ตัวบ่งชี้ที่จะประเมิน แหล่งข้อมูล/แหล่งที่สามารถให้ข้อมูลได้ วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิธีวิเคราะห์ และสรุปข้อมูล เกณฑ์ระดับคุณภาพของผลการประเมิน
การสร้างเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล อาจจะดำเนินการได้ดังนี้ กำหนดกรอบการตรวจประเมินคุณภาพภายในโรงเรียน เพื่อเก็บรวบรวมเป็นข้อมูลพื้นฐานตามมาตรฐาน และตัวบ่งชี้คุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยวางแผนกำหนดสิ่งต่อไปนี้ ด้านที่จะประเมิน (ผลผลิต/กระบวนการ/ปัจจัย) มาตรฐานที่จะประเมิน ตัวบ่งชี้ที่จะประเมิน แหล่งข้อมูล/แหล่งที่สามารถให้ข้อมูลได้ วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิธีวิเคราะห์ และสรุปข้อมูล เกณฑ์ระดับคุณภาพของผลการประเมิน
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น