การวัดและการประเมินผล


การวัดและการประเมินผล
          การวัดและการประเมินผลเป็นภารกิจที่สําคัญอย่างหนึ่งสําหรับผู้สอน ด้วยเหตุผลที่ว่าการวัดและ แดง การประเมินผลจะเป็นวิธีการที่ประเมินความรู้ความสามารถของผู้เรียนตลอดจนใช้เป็นวิธีการในการตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้สอนได้ว่า ได้ดําเนินการสอนให้เป็นไปตามเป้าหมายหรือจุดประสงค์ที่ น กําหนดไว้หรือไม่ ดังนั้นผู้สอนจึงจําเป็นจะต้องมีความรู้ความเข้าใจและสามารถดําเนินการวัดและการ แบ) ประเมินผลได้เป็นอย่างดี
          การวัดเป็นกระบวนการเชิงปริมาณในการกําหนดค่าเป็นตัวเลขหรือสัญลักษณ์ที่มีความหมายแทน คุณลักษณะของสิ่งที่วัด โดยอาศัยกฎเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
          ส่วนคําว่า การประเมินผลนั้นเป็นการตัดสินเกี่ยวกับคุณภาพหรือคุณค่าของวัตถุสิ่งของ โครงการการศึกษาพฤติกรรมการทํางานของคนงานหรือความรู้ความสามารถของนักเรียน
          จุดประสงค์ของการวัดและการประเมินผล
          การวัดและการประเมินผลการศึกษาหรือการเรียนการสอนหรือที่ในปัจจุบันใช้คําว่าการจัดการ - เรียนรู้เป็นไปเพื่อจุดประสงค์ดังต่อไปนี้
          1. การจัดตําแหน่ง (Placement) เป็นการวัดและการประเมินผลโดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ เพื่อจัด หรือแบ่งประเภทผู้เรียนแต่ละคนว่ามีความสามารถอยู่ตรงระดับไหนของกลุ่มเก่ง ปานกลาง หรืออ่อนมากน้อยเท่าใด ซึ่งสามารถใช้ได้หลาย ๆ กรณี ตัวอย่างเช่น เมื่อจะรับผู้เรียนเข้าสถานศึกษา ผู้เรียนแต่ละคนจะมี - ความแตกต่างกันทั้งด้านสติปัญญา ความสนใจ ความถนัด รวมทั้งบุคลิกภาพด้านต่างๆ ที่จะต้องมีการ - เลือกว่าจะรับผู้เรียนประเภทใดหรือไม่รับประเภทใดและถ้ารับเข้ามาแล้วจะจัดแบ่งสาขาวิชาหรือชั้นเรียน | ไ ม้บนสอนหรือสถานศึกษาก็จะสามารถใช้การวัดและการประเมินผลมาเป็นเกณฑ์ในการจัดหรือแบ่งประเภทได้อย่างยุติธรรม
          2. การวินิจฉัย (Diagnosis) คำ ๆ นี้ มักจะใช้ในการทางแพทย์ โดยเมื่อแพทย์ตรวจคนไข้แล้ว แพทย์จะต้องวินิจฉัยว่าคนไข้เป็นโรคอะไร หรือมีสาเหตุผลอะไรที่ทำให้ไม่สบาย ซึ่งจะเป็นการหาสมมติฐานเพื่อนำไปสู่การรักษา สำหรับในทางการศึกษานั้น การวัดและการประเมินผลที่เป็นไปเพื่อการวินิจฉัย ผู้เรียนคนใดมีความสามารถทางด้านใดและเมื่อสอนไปแล้วแต่ละวิชามีส่วนใดที่ผู้เรียนข้าใจ ชัดเจนถูกต้องหรือไม่เข้าใจ เข้าใจยังไม่ถูกต้อง ผู้สอนจะได้สอนหรือแนะนำทำความเข้าใจใหม่ได้ถูกต้อง
          3. การเปรียบเทียบ (Assessment) จุดประสงค์ของการวัดและประเมินผลในข้อนี้เป็นไปเพื่อการเปรียบเทียบคสามเจริญหรือพัฒนาการของการเรียนรู้ของผู้เรียน ความรู้ความสามารถของผู้เรียนไว้ก่อนเมื่อเริ่มเรียนแล้ว หลังจากนั้นเมื่อเลิกเรียนไปแล้วระยะหนึ่ง หรือเมื่อเรียนไปจนจบแล้วผู้สอนอาจจะสอบเพื่อวัดและประเมินผลอีกครั้งว่าผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นมากน้อยน้อยเพียงใด ซึ่งการกระทำเช่นนี้เป็นการแสดงถึงความเจริญก้าวหน้าหรือการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน
          4. การพยากรณ์ (Prediction) เป็นการวัดหรือประเมินผลเพื่อช่วยในการพยากรณ์ทำนายหรือคาดการณ์และแนะนำว่าผู้เรียนคนนั้น ๆ ควรจะเรียนอย่างไร จึงจะประสบความสำเร็จและสอดคล้องกับความสามารถ ความถนัดหรือความสนใจของแต่ละบุคลคล ในทางจิตวิทยาการศึกษานั้นเชื่อกันว่าคนเราทุกวันมีความแตกต่างกันในหลาย ๆ ด้าน ดังนี้ หากสามารถจัดการศึกษา ก็จะทำให้การศึกษาหรือการเรียนรู้ในเรื่องนั้น ๆ ได้รวดเร็วและประสบสำเร็จในการเรียนได้เป็นอย่างดี
          5. การป้อนผลย้อนกลับ (Feedback) เป็นการวัดและการประเมินผลเพื่อนำผลประเมินที่ได้ไปใช้ในการปรับปรุง การจัดการเรียนการสอนในครั้งต่อ ๆ ไป ผลย้อนกลับนี้มีได้ทั้งส่วนที่เป็นของผู้สอนส่วนที่เป็นของผู้เรียน ในส่วนของผู้สอนเมื่อการจัดการเรียนการสอนผ่านไปแต่ละบทเรียนหรือเมื่อจบการเรียนการสอนแล้ว ผู้สอนควรมีการวัดและประเมินผลเพื่อดูว่าเทคนิค วิธีการสอน สื่อการเรียนการสอน ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่ผู้เรียนในการศึกษาในขั้นสูงต่อ ๆ ไป
          6. การเรียนรู้ (Leaning Experience) เป็นการวัดและการประเมินผลที่มีจุดประสงค์เพื่อเป็นตัวกระตุ้นในรูปแบบต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีแล้วยังทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่ดีของผู้เรียนอีกด้วย เนื่องจากในกรณีที่มีการสอบเพื่อวัดและประเมินผลนี้ โดยที่ข้อสอบที่ใช้นั้นจะเป็นสภาพการณ์ที่สร้างขึ้น เพื่อให้ผู้เรียนตอบแบบที่ต้องใช้ความคิดในหลาย ๆ แง่มุม เช่น คิดแก้ปัญหา คิดคำนวณ คิดหาสรุป เป็นต้น
          การวัดและการประเมินผลนอกจากจะมีจุดประสงค์ดังกล่าวแล้ว บลูม (Bioom, 1971,p.56) ได้เสนอเกี่ยวกับจุดประสงค์ที่จะทำการวัดและการประเมินผลโดยเน้นที่จุดประสงค์หรือพฟติกรรมที่ต้องการวัดได้ไว้ดังนี้
          1. วัดทางปัญญาหรือพุทธิพิสัย (Cognitive Domain)
          2. วัดทางความรู้สึกนึกคิกหรือจิตพิสัย (Affective Domain)
          3. วัดความสามารถในการใช้อวัยวะต่าง ๆ หรือทักษะพิสัย (Psychomotor Domain)
          เครื่องมือและเทคนิควิธีที่ใช้ในการวัดและประเมินผล
          เครื่องมือและเทคนิควิธีที่ใช้ในการวัดและประเมินผลการเรียนการสอนนั้นมีมากมายหลายชนิด แต่ที่รู้จักและนิยมใช้กันเป็นส่วนมาก ได้แก่
          1.การสังเกต เป็นการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าของผู้สังเกต สังเกตพติกรรมของผู้เรียนในสภาพการณ์ที่เป็นจริงทั้งในและนอกห้องเรียนการสังเกตโดยทั่ว ๆ ไปเป็นการเฝ้าดูพติกรรมต่าง ๆ ของผู้ถูกสังเกต ซึ่งอาจจะเฝ้าดูไปตามเรื่องไม่ได้กำหนดหรือวางแผนว่าจะสังเกตอะไร อย่างไร สังเกตอะไรก่อน-หลัง ตัวอย่างเช่น ต้องการจะวัดว่าผู้เรียนคนใดคนหนึ่งมีพฤติกรรมก้าวร้าวอย่างไรบ้าง อาจกำหนดแผนงานในการสังเกตเป็นระยะเวลาหนึ่ง เพื่อคอยสังเกตพฤติกรรมก้าวร้าวของผู้เรียนคนนั้นว่าแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวอะไรออกมาบ้าง และมีการแสดงออกอย่างไรพร้อมทั้งจดบันทึกผลไว้แล้วนำมาประเมินผลในภายหลัง เป็นต้น
          2. การสัมภาษณ์ เป็นการพูดคุยซักถามกันระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนมีการซักถามโต้ตอบซึ่งกันและกัน การสัมภาษณ์ อาจทำได้สองแบบเช่นเดียวกัน คือ แบบไม่มีแบบแผนและแบบมีแผนโดยเฉพาะแบบมีแผนนั้น จะกระทำเพื่อหาข้อมูลบางอย่างโดยมีวัตถุประสงค์ที่แน่นอน มีแนวการสัมภาษณ์และกำหนดเป็นคำถามไว้ล่วงหน้า ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย
          3. การให้ปฏิบัติ เป็นการให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติให้ดูว่าสามารถทำได้ตามที่เรียนรู้หรือไม่ เช่น การสอนเขียนแบบ เมื่อผู้สอนสอนหลักการไปแล้วก็ให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติเขียนแบบตามหลักการที่สอนมาให้ดู เป็นต้น การวัดโดยให้ปฏิบัติและประเมินผลจากผลการปฏิบัตินั้น ๆ
          4. การศึกษากรณี เป็นเทคนิคการศึกษาแก้ปัญหา หรือปรากฎการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยละเอียดลึกซึ้งเป็นราย ๆ ไป เช่น การค้นหาสาเหตุของผู้เรียนที่มาโรงเรียนสายเป็นประจำหรือผู้เรียนที่ไม่ตั้งใจเรียนและชอบหนีโรงเรียน เป็นต้น ในการศึกษาจะใช้เทคนิคและเครื่องหลายชนิดมารวบรวมข้อมูลในเรื่องต่าง ๆ
          5. การให้จินตนาการ เป็นเครื่องมือวัดทางจิตวิทยาที่สร้างขึ้นเพื่อล้วงความรู้สึกนึกคิดของผู้ถูกวัดออกมาอย่างไม่ให้เจ้าตัวรู้สึกและให้เจ้าตัวเห็นว่าเป็นความรู้สึกหรือปฏิกิริยาของผู้อื่น ประเมินผลด้วยวิธีนี้มักใช้ทางด้านบุคลิกภาพ เช่น เจตคติ ความสนใจ อารมณ์ ค่านิยม นิสัยและอุปนิสัย เป็นต้น
          6. การใช้แบบสอบถาม เป็นวิธีที่จะต้องมีแบบสอบถามเป็นชุดของคำถามที่ถูกจัดเรียงไว้อย่างเป็นระบบระเบียบ พร้อมที่จะส่งให้ผู้ตอบอ่านและตอบด้วยตนเอง คำถามที่ใช้จะเป็นคำถามที่ใช้ถามข้อเท็จจริงและความคิดเห็นต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง คำถามใน แบบสอบถามนี้อาจแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ แบบคำถามเปิดและแบบคำถามปิด
          การประเมินผลตามระบบการวัดผล
          ในกระบวนการเรียนการสอนนั้น จะต้องมีการวัดและการกประเมินผลเพื่อเป็นตัวบ่งนี้ถึงสัมฤทธิผลในการเรียนรู้ของผู้เรียนและประสิทธิภาพของผู้สอน ดังนั้นเมื่อมีการวัดผลด้วยเครื่องมือเทคนิควิธีใด ๆ แล้วจะต้องนำผลที่ได้จากการวัดนั้นมาประเมินผลด้วยระบบการวัดผลมาตรฐานซึ่งได้แก่
             1.การประเมินผลแบบผลแบบอิงกลุ่ม เป็นการประเมินผลเพื่อเปรียบเทียบผลงานหรือคะแนนของผู้เรียนแต่ละคนกับผู้เรียนคนอื่น ๆ ในกลุ่มเดียวกัน โดยใช้งานหรือแบบทดสอบชนิดเดียวกัน จุดมุ่งหมายหลักของการประเมินผลแบบนี้เพื่อต้องการจำแนกหรือจัดลำดับบุคคลในกลุ่มนั้น ๆ ตามความสามารถตั้งแต่สูงสุดจนถึงต่ำสุด
             2. การประเมินแบบอิงเกณฑ์ เป็นการประเมินผลเพื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดขึ้น เพื่อดูว่างานหรือการสอบของผู้เรียนผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้หรือไม่เพียงใด โดยไม่คำนึงถึงอื่น ๆ ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันตัวอย่างเช่น การสอบวิชาหลักการสอนให้ผ่าน จะต้องได้เกรดไม่ต่ำกว่า 2 หรือ C คนที่สอบได้มากกว่า 2 ถึงจะถือว่าผ่านเกณฑ์ เป็นต้น
          การประเมินผลตามสภาพจริง
          การปฏิบัติการศึกษาของประเทศไทยในปัจจุบัน มีจุดเด่นประการหนึ่งที่นอกเหนือจากการเรียนการสอน ที่ให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง คือ การประเมินผลตามสภาพจริง หรือเน้นการวัดผลให้ตรงกับสภาพจริงของการเรียนการสอน แล้วนำผลการวัดเหล่านั้นมาประเมินว่าบรรลุผลการเรียนรู้มากน้อยเพียงใด
          ในปัจจุบันการวัดผลมิใช่เพียงการทดสอบ หรือการสอบอย่างเดียวแต่ยังต้องประเมินจากสภาพจริงของผู้เรียน ดังนั้น การประเมินผลตามสภาพจริง จึงหมายถึง กระบวนการสังเกต การบันทึกและรวบรวมข้อมูลจากผลงานและวิธีการที่ผู้เรียนกระทำ เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับการตัดสินใจในการศึกษาถึงผลกระทบเหล่านั้น การประเมินผลตามสภาพจริงจะไม่เน้นเฉพาะการประเมินทักษะพื้นฐาน ยังเน้นการประเมินพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เกิดจากการให้ผู้เรียนเป็นผู้ค้นพบข้อความรู้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง พัฒนาการสอนของครูอย่างต่อเนื่องอีกด้วย
          ลักษณะของการประเมินผลตามสภาพจริง
          ลักษณะสำคัญของการประเมินผลตามสภาพจริง มีอยู่ด้วยกัน 4 ประการดังนี้ คือ
             1.ประเมินในสิ่งที่เป็นภาคปฏิบัติจริง หรือกระทำจริงได้ เช่น ผู้เรียนต้องทำการทดลองวิทยาศาสตร์ได้จริง ๆ ไม่ใช่ทดลองหรือแก้ปัญหาโดยการเขียนบรรยาย หรือจำถึงหลักของวิทยาศาสตร์โดยไม่เคยทดลองเลย หรือเด็กที่จะเป็นผู้ได้เกรด A วิชาสุขศึกษา ไม่ใช่เด็กที่ตอบคะแนนจากวิชานี้ได้สูง แต่ไม่รู้จักดูแลรักษาสุขภาพ ขี้โรคแต่งตัวสกปรก เป็นต้น
          2. กำหนดเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินไว้ให้ชัดเจน โดยยึดหลักของการแสดงออกหรือปฏิบัติเป็นสำคัญ เพื่อการเข้าใจกันระหว่างผู้เรียนและครู
          3. การประเมินตามสภาพจริง จะต้องทำให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถของตนเองได้อย่างเต็มที่ เด็กสามารถจะปรับปรุง หรือขยายผลงานของตนเองให้เข้าใกล้กับสิ่งที่เป็นเกณฑ์กำหนดไว้
          4. การประเมินตามสภาพจริง จะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาในการแสดงออกมาอย่างเต็มที่ ในสิ่งที่เขาสนใจและต้องการ จะก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ลึกซึ้งในสภาพแวดล้อม ชุมชน ที่เชาอยู่อาศัย การเรียนในลักษณะนี้ จะทำให้ผู้เรียนมีความสุขต่อการเรียนรู้ในโรงเรียน
          จากลักษณะสำคัญของการประเมินผลตามสภาพจริง 4 ประการนี้ จะเห็นว่าแนวการประเมินตามสภาพจริงมุ่งที่จะวัดการแสดงออกใด ๆ ของผู้เรียนอย่างใกล้ชิดและในกิจกรรมทุกกิจกรรมทุกอย่างหน้าที่ของครูจะเป็นไปในลักษณะติดตามผลพร้อมกับช่วยเหลือ เสนอแนะ
          แนวทางในการวัดการประเมินตามสภาพจริง
เพื่อให้เห็นแนวทางของการวัดการประเมินตามสภาพจริง จึงกล่าวสรุปเป็นข้อ ๆ ได้ดังนี้
             1. การวัดผลจะต้องใช้หลาย ๆ วิธีในการวัด เพื่อจะได้ประเมินผู้เรียนได้ครอบคลุม เช่น การวัดแบบสังเกต การสัมภาษณ์ แบบสอบถาม การใช้สังคมมิติ การวัดจินตภาพ การวัดภาคปฏิบัติ และการวัดโดยใช้ข้อสอบ เป็นต้น
             2. จะต้องมีการจัดทำแฟ้มสะสมงาน ซึ่งจะเป็นที่รวบรวมผลงานต่าง ๆ ของผู้เรียนคนหนึ่ง ๆ อันเป็นผลมาจากการเรียนการสอน มาเป็นองคืประกอบของการประเมินปลายภาคหรือปลายปี
             3. การวัดผลต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในระดับชั้นต่าง ๆ ในตัวผู้เรียนแต่ละคน จะต้องตอบให้ได้ว่าบรรลุเป้าหมายมากน้อยเพียงไร
                3.1 เป้าหมายระดับชาติ
                3.2 เป้าหมายระดับท้องถิ่น
                3.3เป้าหมายของตนเอง
          4.แนวทางในการวัด เน้นการวัดที่ควบคู่ไปกับการเรียนการสอนหรือการวัดมุ่งจะปรับปรุงพัฒนาผู้เรียน ส่วนการวัดที่เน้นโดยภาพรวมหรือสรุป จะทำในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ แต่ในส่วนครูผู้สอนจะต้องเน้นการวัดผลควบคู่ไปกับการเรียนการสอน เพราะเมื่อไรเห็นผู้เรียนอ่อนในเนื้อหาใด การวัดผลแบบเดิม ๆ และใช้ข้อสอบอย่างเดียวเป็นหลัก จะสร้างความหวาดวิตกกังวลให้แก่ผู้เรียน และผู้เรียนจะไม่มีความสุขแต่อย่างไรการเรียนการสอนก็กลายเป็นสิ่งที่น่าเบื่อไม่น่าสนใจ
          เครื่องมือการวัดประเมินตามสภาพจริง
          การประเมินผลตามสภาพจริงที่มีการบูรณาการกิจกรรมการเรียนการสอนกับแผนการการประเมินนั้นครูจะประเมินโดย 4P คือการแสดงออก กระบวนการ ผลผลิต และแฟ้มสะสมงาน โดยการประเมินควบคู่กันดังนี้ (นวรัตน์ สมนาม,2546. หน้า 193-195
             1. การประเมินการแสดงออก (Performance)
             การประเมินการแสดงออก ครูสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนเมื่อครูอยู่ท่ามกลางกลุ่มนักเรียน โดยครูเล่านิทาน หรือนักเรียนทำงาน และกิจกรรมต่าง ๆ ครูจะสังเกตสีหน้าท่าทางการพูดโต้ตอบ การแสดงออกที่สนุกสนานเพลิดเพลิน
             2. การประเมินกระบวนการและผลผลิต (Process and Products)
การประเมินผลผลิต นักเรียนจะเป็นสื่อกลางให้ครูเข้าใจกระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนข้อมูลทีสำคัญที่เกิดจากการสำรวจค้นคว้า ทดลอง และโครงงานต่าง ๆ แต่จะเน้นที่กระบวนการที่มีผลผลิตด้วย ตัวอย่างการผลิต ใช้แผนงาน โครงงาน รายชื่อหนังสือที่อ่าน ผลการสาธิต โครงงานกลุ่ม เป็นต้น
          การประเมินแฟ้มสะสมงาน (Portfolio Assessment)
          เป็นวิธีการประเมินที่เน้นประสิทธิภาพวิธีหนึ่ง ในการประเมินการแสดงออก กระบวนการและผลผลิต หมายถึง การประเมินความสำเร็จของนักเรียนจากผลงานที่เป็นชิ้นงานที่ดีที่สุด หรือผลงานที่แสดงถึงความเข้าใจ ทักษะ เจตคติ และพัฒนาการของนักเรียนที่ได้เรียนรู้มาช่วงระยะหนึ่ง ซึ่งแสดงใหเห็นถึงสิ่งที่เขาประสบความสำเร็จ
          เพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถนำไปใช้ในการประเมินผลเพื่อพัฒนาผู้เรียนจึงควรทำความรู้จักกับแฟ้มสะสมงานในรายละเอียด ดังนี้
             3.1 ความหมายของแฟ้มสะสมงาน
                    แฟ้มสะสมงาน หมายถึง สิ่งที่เก็บรวบรวมผลงานหรือตัวอย่างของผลงานหรือหรือหลักฐานที่แสดงถึงผลสัมฤทธิ์ ความสามารถ ความพยายาม
             3.2 ลักษณะเด่นของการประเมินโดยแฟ้มสะสมงาน มีลักษณะเด่นที่สำคัญดังต่อไปนี้
                    3.2.1 เพิ่มแรงจูงใจในการเรียนของนักเรียน
                    3.2.2 พัฒนาทักษะทางวิชาการระดับสูงแก่ผู้เรียน
                    3.2.3 พัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีมเพื่อให้งานสำเร็จ
                    3.2.4 เป็นการปรับเปลี่ยนการเรียนรู้จากนามธรรมไปสู่รูปธรรม
                    3.2.5 แสดงพัฒนาการของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง และนักเรียนได้ปรับปรุงงานตลอดเวลา
                    3.2.6 วัดความสามารถของนักเรียนได้หลายด้าน
                    3.2.7 เป็นกิจกรรมที่สอดแทรกอยู่ในสภาพการเรียนประจำวันที่มีประโยชน์ต่อนัเรียนในสภาพจริง
             3.3 ประเภทของแฟ้มสะสมงาน
                    แฟ้มสะสมงาน สามารถรวบรวมเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 4 ประเภท ดังนี้
                    3.3.1 แฟ้มสะสมส่วนบุคคล เช่น ความสามารถ กีฬา งานอดิเรก สัตว์เลี้ยง การท่องเที่ยว เป็นต้น
                    3.3.2 แฟ้มสะสมงานวิชาชีพ เช่น แฟ้มสะสมงานเพื่อใช้ในการสมัครงาน เป็นต้น
                    3.3.3 แฟ้มสะสมงานวิชาการ เช่น แฟ้มสะสมงานเพื่อใช้ประเมินผลหารผ่านจุดประสงค์การเรียนรู้ เป็นต้น
                    3.3.4 แฟ้มสะสมงานสำหรับโครงการ เช่น แฟ้มโครงการอาหารกลางวันในแฟ้มประกอบไปด้วยเอกสารโครงการ เป็นต้น
             3.4 องค์ประกอบของแฟ้มสะสมงาน
                แฟ้มสะสมงานเป็นการเก็บรวบรวมผลงานที่แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของผู้เรียนมีองค์ประกอบสำคัญไว้ดังนี้
                   3.4.1 จุดมุ่งหมาย กำหนดขึ้นเพื่อใช้ตัดสินว่าแฟ้มสะสมงานจะใช้อธิบายหรือจัดอะไร จุดมุ่งหมายเป็นกิจกรรมที่สำคัญในการจัดทำแฟ้มสะสมงาน จุดมุ่งหมายที่ชัดเจนช่วยป้องกันไม่ให้นักเรียนทำงานมากเกินความจำเป็น แต่หลักฐานแต่ละชิ้นในแฟ้มสะสมงานจะต้องสร้างสรรค์ และจัดระบบความที่แสดงให้เห็นถึงความชำนาญ หรือความก้าวหน้าตามจุดประสงค์
                   3.4.2 หลักฐานหรือชิ้นงาน ประกอบด้วยหลักฐานและแนวทางต่าง ๆ ที่นักเรียนเลือกเพื่อแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จในการบรรลุจุดประสงค์
             3.5 ประโยชน์ของแฟ้มสะสมงาน
             แฟ้มสะสมงานมีประโยชน์ในการแสดงผลงานของผู้เรียนที่สอดคล้องกับความสามารถที่แท้จริง แฟ้มสะสมงานมีประโยชน์ต่อผู้สอน ดังนี้
                   3.5.1 ใช้ประเมินความก้าวหน้าในการเรียนของผู้เรียนเป็นรายบุคคล
                   3.5.2 ทำหน้าที่ในการสะท้อนความสามารถรวมออกมาเป็นผลงานชิ้นงานสุดท้าย และทำหน้าที่ในการสะท้อนให้เห็นถึงวิธีการทำงานของนักเรียนได้ทุกขั้นตอน
                   3.5.3 แฟ้มสะสมงานจะทำให้ครูสามารถหาจุดเด่นของนักเรียนได้มากกว่าจุดด้อย
                   3.5.4 ทำหน้าที่สำคัญในการแจ้งผลการสำเร็จของนักเรียนให้บุคลลที่เกี่ยวข้องได้ทราบ
                   3.5.5 การเก็บสะสมงาน งานทุกชิ้นที่พิจารณาคัดเลือกไว้ต้องเขียน ชื่อ วัน เดือน ปี แปะติดไว้ให้สามารถประเมินความเจริญงอกงามหรือพัฒนาการของนักเรียน
             3.6 กระบวนการทำแฟ้มสะสมงาน
             แฟ้มสะสมงาน จะเป็นแฟ้มสะสมงานที่สมบูรณ์ มีค่าเมื่อมีการจัดกระทำอย่างเป็นระบบหรือเป็นกระบวนการต่อเนื่อง

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม