ตรวจสอบและทบทวน
ตรวจสอบและทบทวน
ในการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ขั้น การออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล
ปฏิบัติการเขียนแผน จัดการเรียนรู้ด้วยเขียนแผนการสอนตามรูปแบบ the
STUDIES Model ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่สอดคล้อง
กับสาขาวิชาเอกที่เรียน โดยกําหนดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ และจัดหาหรือผลิตสื่อการเรียนรู้ประกอบบทเรียน
นำข้อมูลจากบทที่ 1 คือมีตัว S T U D I E S มาพร้อมความหมาย
S
: กำหนดจุดหมายการเรียนรู้ (setting learning
goals) การกำหนดจุดหมายการเรียนรู้
ผู้เรียนต้องระบุจุดหมายการเรียนรู้ (goals) ด้วยการระบุความรู้และการปฏิบัติ
โดยการระบุ ความรู้ในรูปของสารสนเทศ (declarative knowledge) และระบุทักษะ การปฏิบัติหรือกระบวนการ (procedural
knowledge) จุดหมายการเรียนรู้ไม่ได้ถูกจำกัดด้วยจำนวนของบทเรียน
ปริมาณเนื้อหาสาระหรือความรู้สูงสุด
แต่หมายถึงความคาดหวังที่จะเรียนรู้ต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งและเจตนาที่จะให้ผู้เรียนแสดงถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้
T
: วิเคราะห์ภาระงาน (Task Analysis) ศึกษาข้อมูลต่างๆ เพื่อให้ได้ความรู้(knowledge) ทักษะ (Skill) และเจตคติ (Attitude) ทีเกี่ยวข้อง
เพื่อการอธิบายภาระงานหรือกิจกรรมทีช่วยน้าทางผู้เรียนไปสู่จุดหมายการเรียนรู้
การวิเคราะห์งานจะเขียนแสดงความสัมพันธ์ด้วย KSA diagram คือ Knowledge-Skill-Attitudes
U
: การออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล (Universal
Design For Instruction UDI) เป็นการออกแบบการสอนที่ครูมีบทบาทเป็นผู้ดำเนินการเชิงรุก(Proactive) เกี่ยวกับการผลิตและหรือ จัดหาจัดทำหรือชี้แนะผลิตภัณฑ์การศึกษา(educational
producte computers, websites, software, texbooks, and lab equipment)) และสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ (dormitories, ciassrooms, student
union buildings, libraries, and distance learning courses). ที่จะระบุถึงในทุกขั้นตอนของการเรียนการสอน
D
: การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัล (Digital
Learning) การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัลเป็นการเรียนรู้ผ่านเครือข่าย
เช่น เครือข่ายสังคมออนไลน์(Social networking) การแชร์ภาพ
การใช้อินเทอร์เน็ตแบบเคลื่อนที่ เป็นต้น
การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัลมีนัยมากกว่าการรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
แต่ยังครอบคลุมถึงประเด็นต่างๆเกี่ยวกับเนื้อหา(content) จริยธรรม สังคม และการสะท้อน(Reflection) ซึ่งฝังอยู่ในการเรียนรู้
การทำงานและชีวิตประจำวัน
I
: การบูรณาการความรู้ (Integrated
Knowledge) การเชื่อมโยงความรู้ที่เกี่ยวข้องภายในศาสตร์ต่างๆ
ของรายวิชาเดียวกันหรือหลากหลายวิชาเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตจริง
ในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ(Integrated learning Management) เป็นกระบวนการจัดประสบการณ์โดยเชื่อมโยงสาระความรู้ของศาสตร์ต่างๆที่เกี่ยวข้อง
ให้ผู้เรียนได้รับความรู้ ทักษะ และเจตคติ
E
: การประเมินเพื่อปรับปรุงการสอน(Evalution to Improve
Teaching) การประเมินการเรียนรู้ของตนเอง
โดยกำหนดค่าคะแนนจากการวิเคราะห์การประเมินการเรียนรู้ด้านความรู้(Cognitive
Domain)ของบลูม (Bloom’s Taxonomy)การประเมินตามสภาพจริงและการประเมินจากแฟ้มสะสมงาน
เป็นการตรวจสอบการบรรลุจุดหมายการเรียนรู้
S
: การประเมินอิงมาตรฐาน (Standara Based
Assessment) การประเมินคุณภาพการเรียนรู้อิงมาตรฐาน
โดยใช้แนวคิดพื้นฐานโครงสร้งการสังเกตผลการเรียนรู้ (Structure of
Observed Learning Outcomes L: SOLO Taxonomy) มากำหนดระดับคุณภาพผลสัมฤทธ์ทางการเรียน
เป็นการตรวจสอบคุณภาพ การเรียนรู้ รวมถึงมาตรฐานการประเมินคุณภาพภายในและการประเมินคุณภาพภายนอก
กิจกรรมการเรียนรู้
N
หมายถึง needs assessment หมายถึง
จุดหมายการเรียนรู้
S
: กำหนดจุดหมายการเรียนรู้ (Setting learning goals)
1. นักเรียนสามารถทราบถึงพฤติกรรมการตอบสนองของสัตว์ได้
2. นักเรียนสามารถอธิบายการตอบสนองของสัตว์ต่อสิ่งเร้าได้
T
: วิเคราะห์ภาระงาน (Task Analysis)
1. ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับการตอบสนองของสัตว์ต่อสิ่งเร้า เพื่อกระตุ้นความสนใจและ
ทดสอบความรู้พื้นฐานเดิมของนักเรียน
- การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของสัตว์กับพืชมีความแตกต่างกันหรือเหมือนกันอย่างไร
(ต่างกัน คือ การตอบสนองของพืชจะมีลักษณะที่คล้ายกัน เช่น พืชทุกชนิดมีการเอนเหาแสง แต่สัตว์มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่แตกต่างกันตามชนิดองสัตว์)
(ต่างกัน คือ การตอบสนองของพืชจะมีลักษณะที่คล้ายกัน เช่น พืชทุกชนิดมีการเอนเหาแสง แต่สัตว์มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่แตกต่างกันตามชนิดองสัตว์)
- สัตว์มีพฤติกรรมการตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่าง
ๆได้อย่างไร
(ตัวอย่างคำตอบ แมลงเม่าบินเข้าหาแสงไฟ แมวจะระบายความร้อนโดยการเลียอุ้งเท้า ไส้เดือนดินเคลื่อนที่เข้าหาความชื้น)
(ตัวอย่างคำตอบ แมลงเม่าบินเข้าหาแสงไฟ แมวจะระบายความร้อนโดยการเลียอุ้งเท้า ไส้เดือนดินเคลื่อนที่เข้าหาความชื้น)
2. จากนั้นครูแจกใบงานที่ 1.1 การตอบสนองของสัตว์ต่อสิ่งเร้าให้กับนักเรียน
พร้อมทั้งอธิบาย
P
หมายถึง practice หรือ praxis หมายถึง การกระทำหรือการปฏิบัติ
U
: การออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล (Universal Design for
Instruction)
1. ครูให้นักเรียนทำกิจกรรมในใบงานที่ 1.1
การตอบสนองของสัตว์ต่อสิ่งเร้า โดยให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรม ดังนี้
1)
ให้นักเรียนสังเกตพฤติกรรมของสัตว์เลี้ยงหรือสัตว์ต่าง ๆ
ที่อยู่รอบตัว จำนวน 3 ชนิด
ว่ามีพฤติกรรมการตอบสนองต่อสิ่งเร้าอะไรบ้าง และมันแสดงพฤติกรรมการตอบสนองอย่างไร
2)
ให้ขีดเครื่องหมาย / ลงในช่องสิ่งเร้าที่ทำให้สัตว์ตอบสนอง
3)
ให้นักเรียนวาดภาพพฤติกรรมการตอบสนองของสัตว์ต่อสิ่งเร้า
และบันทึกผล
4) ครูสุ่มเรียกนักเรียนออกมานำเสนอผลงานที่หน้าชั้น 3-5 คน
5) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้จากการทำกิจกรรม
แล้วเขียนเป็นแผนผังความคิด
D : การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัล (Digital Learning)
1. เปิดคลิปการตอบสนองของต่องสิ่งเร้าของสัตว์ให้นักเรียนได้ดูสร้างความสนใจและเป็นความรู้เพิ่มเติมที่ได้นอกเหนือจากหนังสือวิทยาศาสตร์
ป.4 เพื่อใช้เป็นแนวคำตอบในใบงานที่ 1.2
2. ครูให้นักเรียนทำใบงานที่ 1.2 ฝึกคิด พิชิตคำถาม
เพื่อทบทวนความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่เรียนผ่านมาเสร็จแล้วร่วมกันเฉลยคำตอบ
3. ครูสุ่มเรียกนักเรียนออกมานำเสนอผลงานที่หน้าชั้น 3-5 คน
I
: การบูรณาการความรู้ (Integrated Knowledge)
1. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับพฤติกรรมการตอบสนองของสัตว์ที่มีต่อสิ่งเร้าต่าง
ๆ
2. ครูให้นักเรียนจัดทำชิ้นงาน/ภาระงานที่ 4.1
การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของสัตว์
โดยให้นักเรียนสังเกตพฤติกรรมของสัตว์เลี้ยงหรือสัตว์ที่พบบริเวณชุมชนเป็นเวลา 3-5 วัน แล้วบันทึกข้อมูล
พร้อมทั้งอภิปรายว่าจะนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร
3. ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการจำศีลของสัตว์มา
1 ชนิด แล้วจัดทำเป็นรายงาน
4. ครูให้นักเรียนผลัดกันนำเสนอผลงานที่หน้าชั้น
5. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้จากการทำกิจกรรม
U
หมายถึง understanding ตรวจสอบความเข้าใจตามระดับคุณภาพเมื่อเทียบกับเกณฑ์ในระดับต่าง
ๆ
E
: การประเมินเพื่อปรับปรุงการสอน (Evaluation to Improve
Teaching)
1.ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปอภิปรายเกี่ยวกับพฤติกรรมการตอบสนองของสัตว์ที่มีต่อสิ่งเร้า ต่าง ๆ พร้อมทั้งอภิปรายว่าจะนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไรในชีวิตประจำวัน
2.ครูอธิบายเพิ่มเติม
แล้วให้นักเรียนช่วยกันระดมความคิดว่าความรู้ที่ได้เรียนมาได้นำไปใช้ในด้านใดบ้าง อาทิเช่น
การนำเสนองานหน้าชั้นเรียน และตรวจสอบผลงานของนักเรียน
S
: การประเมินอิงมาตรฐาน (Standard Based Assessment)
1.ให้นักเรียนประเมินผลตัวเอง โดยพูดแสดงความรู้สึกหลังการเรียนในประเด็น
ดังนี้
1.1 สิ่งที่ได้จากการเรียน
1.2 สิ่งที่ประทับใจในการเรียน
1.3 สิ่งที่ต้องการทราบเพิ่มเติม
2.ครูผู้สอนประเมินการเรียนรู้ของนักเรียน ดังนี้
2.1 สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนทำงาน
ร่วมกันสังเกตการณ์ตอบคำถามของนักเรียนในชั้นเรียน และขณะทำการทดลองและการนำเสนอผลงาน
และศึกษาผลประเมินตนเองของนักเรียนจากการพูดความรู้สึกหลังเรียน
และประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยใช้แบบประเมินตามสภาพจริง
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น