ตรวจสอบและทบทวน
ตรวจสอบและทบทวน
ในการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ขั้น การประเมินการเรียนรู้อิงมาตรฐาน ปฏิบัติการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ด้วยการเขียนระดับคุณภาพของผลการเรียนรู้(rubrics) ซึ่งอาจใช้แนวทางการกำหนดระดับคุณภาพของสมรรถนะตามแนวคิด SOLO Taxonomy การเรียนรู้อย่างลุ่มลึก ไม่ใช่เรียนแบบผิวเผิน หรือแนวทางอื่น ๆ
การกำหนดเกณฑ์การประเมินการเรียนรู้โดยใช้ The
SOLO Taxonomy
โดยใช้ The SOLO
Taxonomy เป็นการจัดระดับเพื่อประโยชน์ในการแสดง
คุณสมบัติเฉพาะในระดับต่างๆของคำถามและคำตอบที่คาดว่าจะได้รับจากผู้เรียน
ซึ่งจะไม่เน้นที่ผลงานเท่านั้น
แต่ยังเน้นที่วิธีการเรียนรู้ด้วย
โครงสร้างการสังเกตผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
โดย Biggs และ Collis ได้เสนอวิธีการดังนี้
1) กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ผู้เรียนปฏิบัติในบทเรียน
2) ประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคน
เมื่อเขียนวัตถุประสงค์การเรียนรู้ต้องมั่นใจว่าคำกริยาที่นำมาใช้เหมาะสมกับแต่ละระดับ
· ระดับโครงสร้างพื้นฐาน (Pre-structural) ไม่มีการจัดระเบียบข้อมูล
ความหมายโดยรวมของข้อมูลยังไม่ปรากฎ
· ระดับโครงสร้างเดี่ยว (Uni-structural) เชื่อมโยงข้อมูลพื้นฐาน
แต่ไม่แสเดงความหมายเกี่ยวโยงของข้อมูล
· ระดับโครงสร้างหลากลหาย (Multi-structural) มีการเชื่อมโยงข้อมูล
แต่ความหมายของความสัมพนัธ์ระหว่างความเกี่ยวโยงข้อมูลไม่ปรากฎ
· ระดับความสัมพันธ์ของโครงสร้าง (Relational level) ผู้เรียนแสดงความสัมพันธ์
ของความเกี่ยวโยงของข้อมูลและภาพรวมได้
· ระดับแสดงความต่อเนื่องในโครงสร้างภาคขยาย (Extended Abstract
Level)
ผู้เรียนเชื่อมโยงข้อมูลนอกเหนือจากข้อมูลที่ได้รับ
สามารถสรุปและส่งผ่านความสำคัญ
และแนวคิดที่ซ่อนอยู่ภายใต้กรณีตัวอย่างได้
การกำหนดระดับคุณภาพของสมรรถนะตามแนวคิด SOLO
Taxonomy
เป็นการเรียนรู้อย่างลุ่มลึก
ไม่ใช่เรียนแบบผิวเผิน
SOLO 0: ไม่ถูกต้อง ไม่ครบถ้วน
ไม่สำเร็จ พลาด ล้มเหลว
SOLO 1: ระบุ บอกชื่อ
ปฏิบัติตามขั้นตอนง่าย ๆ
SOLO 2: รวมกัน อธิบาย บรรยาย
ยกตัวอย่าง เชื่อมโยง
SOLO 3: วิเคราะห์ ประยุกต์
อธิบายเหตุผล แสดงความสัมพันธ์
SOLO 4: สร้างสรรค์ สรุปอ้างอิง
ตั้งสมมติฐาน สะท้อนทฤษฎี
โดย SOLO1 และ 2 สอดคล้องกับแนวคิดของบลูมในขั้นความรู้ ความเข้าใจ
และนำไปใช้ (เชิงปริมาณ) และ SOLO3 และ 4 สอดคล้องกับแนวคิดของบลูม
ในขั้นวิเคราะห์ สังเคราะห์
และประเมินค่า (เชิงคุณภาพ)
SOLO:
The Structure of Observed Learning Outcome คือ
โครงสร้างการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้
Taxonomy มีความหมายเดียวกับคำว่า Classification คือ
การจัดแบ่งประเภท แต่ Taxonomy นั้น จะกล่าวถึง หลักทางวิชาการที่ใช้
เพื่อระบุประเภทของสิ่งมีชีวิตทางชีววิทยาที่มีลักษณะร่วมกันและทำการกำหนดชื่อ
ให้กับกลุ่มสิ่งมีชีวิตนั้นๆ
หากกล่าวถึงการกำหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
ผู้สอนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงเกณฑ์การกำหนดคุณภาพของ Bloom หรือ
Bloom’s Taxonomy ซึ่งหากศึกษาดูแล้วเราจะพบว่า Bloom’s
Taxonomy
นั่นมีแนวโน้มที่จะถูกใช้โดยผู้สอนเสียเป็นส่วนมาก
แต่ถ้าหากการกำหนดระดับคุณภาพ
ผลการเรียนรู้ของผู้เรียนนั้นมีผู้เรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดด้วยแล้ว
หลักการที่
จะต้องพูดถึงนั่นก็คือ SOLO
Taxonomy ซึ่งเป็นการกำหนดระดับผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
โดยที่ไม่มุ่งเน้นเฉพาะแค่การสอนและการให้คะแนนจากผลงานแต่เพียงอย่างเดียว
แต่เป็นกระบวนการประเมินผลที่ให้ความสำคัญว่า
ผู้เรียนมีวิธีการเรียนรู้อย่างไร
และผู้สอนมีวิธีการอย่างไรที่ช่วยให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการทางปัญญาที่มี
ความซับซ้อนและก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น
SOLO Taxonomy หรือ The Structure of Observed
Learning Outcome Taxonomy
จึงเป็นแบบ (Model) ที่ใช้ในการใช้ระบุ บรรยาย หรืออธิบาย
ระดับความเข้าใจอันซับซ้อนที่เพิ่มขึ้นของผู้เรียนในสาระหรือรายวิชา
ซึ่งผู้เสนอแนวคิดนี้จนกลายเป็นที่นิยมคือJohn
B. Biggs และ Kelvin Collis (1982)
แบบของ SOLO Taxonomy ประกอบด้วยระดับความเข้าใจ 5 ระดับ ดังนี้
1.
Pre-structural (ระดับโครงสร้างขั้นพื้นฐาน) คือ ในระดับนี้ผู้เรียนจะยังคงไม่เข้า
ใจจุดมุ่งหมายที่แท้จริง
และยังคงใช้วิธีการง่ายๆในการทำความเข้าใจสาระเนื้อหา
เช่น
ผู้เรียนรับทราบแต่ยังคงพลาดประเด็นที่สำคัญ
2.
Uni-structural (ระดับมุมมองเดียว) คือ การตอบสนองของผู้เรียนจะมุ่งไป
ที่มุมมองที่เกี่ยวข้องเพียงมุมมองเดียว
เช่น สามารถระบุชื่อได้ จำได้ และทำตามคำสั่งง่ายๆได้
3.
Multi-structural (ระดับหลายมุมมอง) คือ การตอบสนองของผู้เรียนจะมุ่งเน้นไปที่
หลายๆมุมมองโดยการปฏิบัติต่อผู้เรียนจะเป็นไปอย่างอิสระ
เช่น สามารถอธิบายได้
ยกตัวอย่างได้ หรืออาจเชื่อมโยงได้
4.
Relational (ระดับเห็นความสัมพันธ์) คือ การบูรณาการความสัมพันธ์ต่างๆ
เชื่อมโยงเข้าด้วยกัน เช่น
ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ เปรียบเทียบ ระบุความแตกต่าง แสดงความสัมพันธ์
อธิบายเชิงเหตุผล และ/หรือนำไปใช้ได้
5.
Extended abstract (ระดับขยายนามธรรม) คือ จากขั้นบูรณาการเชื่อมโยง
ความสัมพันธ์เข้าด้วยกัน
จากนั้นจึงมาสู่การสร้างเป็นแนวคิดนามธรรมขั้นสูง หรือการสร้างทฤษฎีใหม่
เช่น การสร้างสรรค์ สะท้อนแนวคิด
สร้างทฤษฏีใหม่ เป็นต้น
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น