การบูรณาการความรู้ (Integrated Knowledge)
การบูรณาการความรู้ (Integrated
Knowledge)
การบูรณาการความรู้ (Integrated
Knowledge) การเชื่อมโยงความรู้ที่เกี่ยวข้องภายในศาสตร์ต่างๆ
ของรายวิชาเดียวกันหรือหลากหลายวิชาเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนําความรู้ไปใช้ในชีวิตจริง
เรียนรู้แบบบูรณาการ (Integrated learning Management) เป็นกระบวนการจัดประสบการณ์
สาระความรู้ของศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้ผู้เรียนได้รับความรู้ ทักษะ และเจตคติ
การบูรณาการความรู้หมายถึง การโยงความรู้
หรือการสร้างความสัมพันธ์และรวมแนวคิด เดียวในสถานการณ์ต่างๆ
การบูรณาการทําให้ผู้เรียนได้รับความรู้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และเป็นการ
ลุ่มลึกและยั่งยืน การบูรณาการความรู้เป็นสิ่งจําเป็น โดยเฉพาะในยุคที่มีความรู้
ข้อมูล ข่าวสารมาก การ การความรู้อาจเขียนเป็นลําดับความสัมพันธ์ได้ดังนี้
เริ่มจาก ข้อมูล (data) สารสนเทศ (informationะความ (knowledge) ปัญญา (wisdom) เป้าหมายหลักของการเรียนคือเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้สิ่งที่ถือว่าสําคัญใน
เรื่องที่กําหนดหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งเพื่อแสวงหาและรวบรวมความรู้
นวัตกรรมด้านการศึกษาจํานวนมากไม่ สนใจความสําคัญของความรู้ด้านเนื้อหา
แต่นักเรียนที่เรียนแบบบูรณาการความรู้ โดยการสํารวจ การจัด จําแนก การจัดการ
และการสังเคราะห์ความคิดและข้อมูลสารสนเทศเพื่อประเมินประสบการณ์และแก้ปัญหา
บรรจุอยู่ในหลักสูตรเรียกว่า หลักสูตรบูรณาการ (Integrated
Curricula) โดยนําความคิดหลักในวิชามา
สัมพันธ์กันเป็นการเชื่อมโยงในแนวนอน ระหว่างหัวข้อ และเนื้อหาต่าง ๆ
ที่เป็นความรู้ ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ พุทธิพิสัย
ทักษะพิสัย และจิตพิสัย และสัมพันธ์กับวิชาอื่นด้วย
ลักษณะการเรียนรู้ ได้เป็น 3ด้าน
1.พุทธิพิสัย (Cognitive
Domain)
2.จิตพิสัย(Affective
Domain)
3.ทักษะพิสัย(Psychomotor
Domain)
1.พุทธิพิสัย (Cognitive
Domain)
เป็นจุดประสงค์ทางการศึกษาที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ทางด้านสติปัญญา
คือความรู้ ความเข้าใจ การใช้ความคิด พุทธิพิสัยแบ่งออกเป็น 6ระดับ คือ
1.ความรู้ หมายถึง
ความสามารถในการจำแนกเนื้อหาความรู้ และระลึกได้เมื่อต้องการนำมาใช้
2.ความเข้าใจ หมายถึง
การเข้าใจความหมายของเนื้อหาสาระ
3.การนำไปใช้ หมายถึง
การนำเอาเนื้อหาสาระ หลักการ ความคิดรวบยอด และทฤษฎีต่างๆไปใช้ในรูปแบบใหม่
4.การวิเคราะห์หมายถึง
ความสามารถในการแยกเนื้อหาให้เป็นส่วนย่อยเพื่อค้นหาองค์ประกอบ โครงสร้าง
หรือความสัมพันธ์ในส่วนย่อยนั้น
5.การสังเคราะห์ หมายถึง
ความสามารถที่จะนำองคืประกอบหรือส่วนย่อยๆนั้นเข้ามารวมกันเพื่อให้เป็นภาพที่สมบูรณ์เกิดความกระจ่างใสในสิ่งเหล่านั้น
6.การประเมินค่า หมายถึง
ความสามารถในการพิจรณาคุณค่าของสิ่งต่างๆโดยผู้กำหนดตัดสินขึ้นมาเอง
2.จิตพิสัย(Affective
Domain)
เป็นจุดประสงค์ที่เกี่ยวกับความรู้สึกทางจิตใจ
ซึ่งรวมถึงความสนใจ อารมณ์ เจตคติ ค่านิยมและคุณธรรม
กระบวนการที่เกิดขึ้นภายในเหล่านี้จะเกิดตามลำดับขั้นตอนดังนี้
1.การรับ
คือการที่นักเรียนได้รับประสบการณ์จากสิ่งแวดล้อม
2.การตอบสนอง
คือการมีปฎิกิริยาโต้ตอบกับสิ่งแวดล้อมที่รับเข้ามาด้วยความเต็มใจ
3.การเห็นคุณค่า
เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายหลังที่รับรู้สิ่งแวดล้อม
และมีปฎิกิริยาโต้ตอบสังเกตได้จากพฤติกรรมที่ยมรับค่านิยมใดค่านิยมหนึ่ง
4.การจัดรวบรวมเป็นการพิจราณา
และรวบรวมค่านิยมให้เข้าเป็นระบบค่านิยมหรือสร้างมโนทัศน์ของค่านิยม
5.การพิจรณาคุณลักษณะจากค่านิยม เป็นเรื่องของความประพฤติ คุณสมบัติ
และคุณลักษณะของแต่ละบุคคลที่เป็นผลของความรู้สึก
3.ทักษะพิสัย (Psychomotor
Domain)
เป็นจดประสงค์
ที่เกี่ยวกับทักษะในการเคลื่อนไหว
และใช้อวัยวะต่างๆของร่างกายมีลำดับการพัฒนาดังนี้
1.การเลียนแบบ
เป็นการทำตามัวอย่างที่ครูให้ หรือดูแบบจากของจริง
2.การทำตามคำบอก
เป็นการทำตามตัวอย่างที่ครูให้
3.การทำอย่างถุกต้องเหมาะสม
เป็นการกระทำโดยนักเรียนอาศัยความรู้ที่เคยทำมาก่อนแล้วเพิ่มเติม
4.การทำถูกต้องหลากหลายรูปแบบ
เป็นการกระทำในเรื่องคล้ายๆกันและแยกรูปแบบได้ถูกต้อง
5.การทำได้อย่างเป็นธรรมชาติ
เป็นการทำให้เกิดความชำนาญ และสำเร็จในเวลาที่รวดเร็ว
Bloom เป็นนักการศึกษาชาวอเมริกัน
เชื่อว่า การเรียนการสอนที่จะประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพนั้น
ผู้สอนจะต้องกำหนดจุดมุ่งหมายให้ชัดเจน
และได้แบ่งประเภทของพฤติกรรมโดยอาศัยทฤษฎีการเรียนรู้และจิตวิทยาพื้นฐานว่า
มนุษย์จะเกิดการเรียนรู้ใน 3 ด้านคือ ด้านสติปัญญา
ด้านร่างกาย และด้านจิตใจ และนำหลักการนี้จำแนกเป็นจุดมุ่งหมายทางการศึกษาเรียกว่า Taxonomy
of Educational objectives
ได้จำแนกจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ออกเป็น 3 ด้าน คือ
1.พุทธิพิสัย (Cognitive
Domain)
พฤติกรรมด้านสมองเป็นพฤติกรรมเกี่ยวกับสติปัญญา
ความคิด ความสามารถในการคิดเรื่องราวต่างๆ
อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งพฤติกรรมทางพุทธิพิสัย
6 ระดับ ได้แก่
1.1 ความรู้ (Knowledge) เป็นความสามารถในการจดจำแนกประสบการณ์ต่างๆ และระลึกเรื่องราวนั้นๆ
ออกมาได้ถูกต้องแม่นยำ
1.2 ความเข้าใจ (Comprehension) เป็นความสามารถบ่งบอกใจความสำคัญของเรื่องราวโดยการแปลความหลัก ตีความได้
สรุปใจความสำคัญได้
1.3 การนำความรู้ไปประยุกต์
(Application) เป็นความสามารถในการนำหลักการ
กฎเกณฑ์และวิธีดำเนินการต่างๆของเรื่องที่ได้รู้มา
นำไปใช้แก้ปัญหาในสถานการณ์ใหม่ได้
1.4 การวิเคราะห์ (Analysis) เป็นความสามารถในการแยกแยะเรื่องราวที่สมบูรณ์ให้กระจายออกเป็นส่วนย่อยๆ
ได้อย่างชัดเจน
1.5 การสังเคราะห์ (Synthesis) เป็นความสามารถในการผสมผสานส่วนย่อยเข้าเป็นเรื่องราวเดียวกัน
โดยปรับปรุงของเก่าให้ดีขึ้นและมีคุณภาพสูงขึ้น
โดยปรับปรุงของเก่าให้ดีขึ้นและมีคุณภาพสูงขึ้น
1.6 การประเมินค่า (Evaluation) เป็นความสามารถในการวินิจฉัยหรือตัดสินกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดลงไป
การประเมินเกี่ยวข้องกับการใช้เกณฑ์คือ มาตรฐานในการวัดที่กำหนดไว้
การประเมินเกี่ยวข้องกับการใช้เกณฑ์คือ มาตรฐานในการวัดที่กำหนดไว้
2. จิตพิสัย (Affective
Domain) (พฤติกรรมด้านจิตใจ)
ค่านิยม ความรู้สึก ความซาบซึ้ง ทัศนคติ ความเชื่อ ความสนใจและคุณธรรม พฤติกรรมด้านนี้อาจไม่เกิดขึ้นทันที ดังนั้น การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และสอดแทรกสิ่งที่ดีงามอยู่ตลอดเวลา จะทำให้พฤติกรรมของผู้เรียนเปลี่ยนไปในแนวทางที่พึงประสงค์ได้ จะประกอบด้วย พฤติกรรมย่อยๆ 5 ระดับ ได้แก่
ค่านิยม ความรู้สึก ความซาบซึ้ง ทัศนคติ ความเชื่อ ความสนใจและคุณธรรม พฤติกรรมด้านนี้อาจไม่เกิดขึ้นทันที ดังนั้น การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และสอดแทรกสิ่งที่ดีงามอยู่ตลอดเวลา จะทำให้พฤติกรรมของผู้เรียนเปลี่ยนไปในแนวทางที่พึงประสงค์ได้ จะประกอบด้วย พฤติกรรมย่อยๆ 5 ระดับ ได้แก่
1.การรับรู้
2.การตอบสนอง
3.การเกิดค่านิยม
4.การจัดระบบ
5.บุคลิกภาพ
3.ทักษะพิสัย (Psychomotor
Domain) (พฤติกรรมด้านกล้ามเนื้อประสาท) พฤติกรรมที่บ่งถึงความสามารถในการปฏิบัติงานได้อย่างคล่องแคล่วชำนิชำนาญ
ซึ่งแสดงออกมาได้โดยตรงโดยมีเวลาและคุณภาพของงานเป็นตัวชี้ระดับของทักษะประกอบด้วย 5 ขั้น ดังนี้
1.การรับรู้
2.กระทำตามแบบ
3.การหาความถูกต้อง
4.การกระทำอย่างต่อเนื่องหลังจากตัดสินใจ
5. การกระทำได้อย่างเป็นธรรมชาติ
จากทฤษฎีดังกล่าวคือผู้เรียนทุกคนนั้นต้องมีพื้นฐานในการเรียนรู้ทุกคน แต่อาจจะไม่เท่ากันเพราะคนเรามีการเรียนรู้ที่ต่างกัน บางคนพบเจอสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่นก็จะมีความรู้ความเข้าใจที่ต่างจากคนอื่น
แต่ถ้าผู้เรียนมีพื้นฐานในการเรียนรู้คล้ายๆกันมีความรู้
ความเข้าใจ มีการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์คล้ายๆ กัน ผลการเรียนรู้ของคนกลุ่มนี้ก็จะคล้ายกันด้วย
การที่ผู้เรียนจะเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นผู้เรียนจะต้องมีความกระตือรือร้นตลอดเวลา ผู้เรียนจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจในสิ่งที่เราจะเรียนรู้ เมื่อมีความเข้าใจแล้วต้องวิเคราะห์ให้ได้ก่อนจากนั้นถึงจะประเมินค่า
จากทฤษฎีดังกล่าวกล่าวว่ามนุษย์จะเกิดการเรียนรู้ใน 3 ด้านคือ ด้านสติปัญญา ด้านร่างกาย และด้านจิตใจ ทุกสิ่งนี้ต้องดำเนินไปอย่างพร้อมๆกัน ถึงจะเป็นการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น